ขุนวรเทพีพลารักษ์ (แม้น จวบสินเอี่ยม)

ขุนวรเทพีพลารักษ์ (แม้น จวบสินเอี่ยม)

ขุนวรเทพีพลารักษ์


ประวัติ แก้

ประวัติท่านขุนวรเทพีพลารักษ์นั้นแต่เดิมมามิได้มีผู้ใดเรียบเรียงไว้เพราะ ไม่มีทายาท มีแต่ผู้จัดกามรดกตามพินัยกรรม ซึ่งปัจจุบันได้มีชีวิตอยู่เพียง ๑ คน ในจำนวนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ๓ คน ได้สอบถามจากท่านผู้จัดการมรดกแล้ว ไม่สามารถให้รายละเอียดได ้เพียงแต่ทราบได้จากหลักฐานตามพินัยกรรม ซึ่งท่านได้ทำไว้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ระบุว่าขณะนั้นท่านอายุได้ ๘๘ ปี จึงคาดว่าท่านคงเกิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๘ ท่านเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มีหน้าที่ดูแลเจ้านายฝ่ายใน คอยจัดเตรียมเครื่องต้นเวลาเจ้านายจะเสด็จสถานที่ต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพระราชวังจนกระทั่งเกษียณอายุราชการต่อมาได้พัก อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๑๗๑ ถนนสามัคคี ตำบลตลาดพลู อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี

ท่านขุนวรเทพีพลารักษ์เป็นคนใจดี มีความประหยัดในการใช้จ่ายส่วนตัวเป็นอันมาก แต่มีศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศลตลอดมา และมีเมตตาแจกสตางค์ให้เด็กๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเป็นประจำ ท่านพักอยู่ตามลำพังคนเดียวโดยไม่มีทายาทสืบสกุล เป็นคนอนุรักษ์ ของใช้เก่าเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่เป็นคนใจดี เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านละแวกตลาดพลูโดยทั่วกัน

ผลงาน แก้

จากการค้นพบพินัยกรรม ทราบว่าท่านมีที่ดินอยู่ประมาณ ๘ แปลง ได้ทำพินัยกรรมมอบให้เป็นที่สร้างโรงเรียน และเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงพยาบาล นอกจากนี้มีเครื่องเงินจำนวนมากได้ทำพินัยกรรมมอบให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่ง ชาติ กรมศิลปากร สำหรับที่ดินจำนวน ๘ แปลงนี้ ได้ทำพินัยกรรมมอบให้กระทรวงศึกษาธิการจำนวน ๒ แปลง รวมเป็นเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓๔ ตารางวา โดยมีวัตถุประสงค์ให้จัดตั้งเป็นสถานศึกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ พร้อมกับบริจาคเงินไว้อีกจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ขุนวรเทพีพลารักษ์ ได้มีจิตศรัทธาสร้างอาคารเรียนเป็นตึกชั้นครึ่ง กว้าง ๘.๒๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ๓ ห้องเรียน ราคาค่าก่อสร้าง ๑๔๓,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นสามพันบาทถ้วน)ให้กับโรงเรียนวัดราชคฤห์ ใช้เป็นสถานที่ศึกษาเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๘ โดยมีขุนนิเทศดรุณการเป็นผู้รับมอบ แต่ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ กรุงเทพมหานครสร้างอาคารเรียน ๓ ชั้น โดยรื้ออาคารเรียนทรงปั้นหยา อาคารเรียน แบบ ๒๐๐ และอาคารเรียนของขุนวรเทพีพลารักษ์ออก ใช้งบประมาณ ๑,๓๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสามแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นเวลาประมาณ ๒ เดือน จนถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รวมอายุได้ ๙๔ ปี