ขี้เทา (อังกฤษ: meconium) เป็นอุจจาระครั้งแรกสุดของทารก ซึ่งไม่เหมือนกับการอุจจาระในภายหลัง ขี้เทาประกอบด้วยสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกใช้ชีวิตอยู่ในมดลูก โดยมีทั้งเซลล์ผนังลำไส้เล็ก ขนอ่อน เมือก น้ำคร่ำ น้ำดีและน้ำ ขี้เทาแทบปราศจากเชื้อโรค[1] ไม่เหมือนกับอุจจาระครั้งหลัง คือ จะหนืดและเหนียวเหมือนกับน้ำมันดิน และไม่มีกลิ่น ทารกควรถ่ายขี้เทาออกมาในช่วงไม่กี่วันแรกของชีวิต และหลังจากนั้นอุจจาระจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (จากนมที่ถูกย่อย) คำว่า meconium มาจาก meconium-arion แปลว่า "คล้ายฝิ่น" ซึ่งเป็นการอ้างถึงลักษณะเหมือนน้ำมันดิน หรือความเชื่อของอริสโตเติลที่ว่า ฝิ่นทำให้เกิดการนอนหลับในทารกในครรภ์[2]

ขี้เทาของทารกแรกเกิด 12 ชั่วโมง ขนาดภาพ: 5 เซนติเมตร

อาการของทั้งลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung's disease) และซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis) เป็นความล้มเหลวในการถ่ายขี้เทาออกมา

โดยปกติแล้วทารกจะไม่ถ่ายขี้เทาก่อนคลอด หากทารกถ่ายขี้เทาก่อนคลอดหรือระหว่างการคลอดมักถือเป็นสัญญาณว่าทารกอยู่ในภาวะคับขัน และทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการสำลักขี้เทา

กลุ่มวิจัยแคนาดาที่โรงพยาบาลสำหรับเด็กป่วย มหาวิทยาลัยโตรอนโต แสดงให้เห็นว่าโดยการวัดผลิตภัณฑ์พลอยได้ของแอลกอฮอล์ (FAEE) พวกเขาสามารถตรวจวัดทารกที่มีมารดาดื่มแอลกอฮอล์มากเกินขณะตั้งครรภ์[3] ในสหรัฐอเมริกา ผลการทดสอบขี้เทาของทารกแรกเกิดสามารถนำไปมอบให้แก่บริการคุ้มครองเด็กและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นได้[4]

อ้างอิง แก้

  1. JIMÉNEZ, Esther, et al. Is meconium from healthy newborns actually sterile? เก็บถาวร 2009-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Research in Microbiology. Vol. 159, Issue 3, pp. 187-193.
  2. "Health on the Net Foundation Mother and Child Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
  3. Chan D, Knie B, Boskovic R, Koren G. Placental handling of fatty acid ethyl esters: perfusion and subcellular studies. J Pharmacol ExpTher 2004; 310: 75-82.
  4. G.B. v. Dearborn County Div. of Family and Children, 754 N.E.2d 1027 (Ind.Ct.App., 2001).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้