สฺวี่ ซฺวิ่น (จีน: 许逊; พินอิน: Xǔ xùn) หรือออกเสียงตามสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ข้อฉิ้น นามรองว่า จิ้งจือ (จีน: 敬之; พินอิน: Jìngzhī) เป็นเซียนและนักพรตเต๋าในลัทธิเต๋าและศาสนาชาวบ้านจีน ซึ่งมีชื่อเสียงและปรากฏอยู่ในราชวงศ์จิน ณ นครหนานชาง มณฑลเจียงซี[1]และเป็นหนึ่งในปรมาจารย์ของสำนักนักพรตแห่งเขาลู่ พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นเทพผู้ทักษ์แผ่นดินและผืนน้ำของชาวมณฑลเจียงซี โดยขนานนามว่า สฺวี่ จิ่วหลาง (จีน: 许九郎; พินอิน: Xǔ jiǔláng) หรือ สฺวี่ จิงหยาง (จีน: 许旌阳; พินอิน: xǔjīngyáng) นอกจากนี้นามอื่น ๆ ของพระองค์ได้แก่ สฺวี่เทียนชือ (จีน: 许天师; พินอิน: Xǔtiānshī) สฺวี่เจินจฺวิน (จีน: 许真君; พินอิน: xǔzhēnjūn) จิงหยางจู่ชือ (จีน: 旌阳祖师; พินอิน: jīng yáng zǔshī) และ ก่ำเทียนไต่เต่ (จีน: 感天大帝; พินอิน: gǎn tiān dàdì)

ก่ำเทียนไต่เต่
感天大帝
จิตรกรรมลายเส้นแบบประเพณีจีนของก่ำเทียนไต่เต่
ภาษาจีน

ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนมักออกนามพระองค์ว่า เจ้าพ่อเขาตก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นนามของเทพารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีหน้าที่รักษาพระพุทธบาทเขาสัจจพันธ์คีรี ซึ่งเป็นการยืมนามของเทพารักษ์องค์นี้มาใช้แทนภาษาจีนอันเป็นนามเดิมของพระองค์ เช่นเดียวกับในกรณีของ เจ้าแม่ทับทิม อันเป็นเทพารักษ์นารีในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีมากมายหลากหลายองค์ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ที่หมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนนำมาใช้ในภาษาไทยสำหรับเรียก ม่าจ้อโป๋ จุ้ยบ้วยเนี้ย และ เจ้าแม่ไท้ฮัว (ไท้วาโผ่) (泰华聖娘) ซึ่งเป็นเทพนารีคนละองค์แต่ใช้นามเดียวกันเช่นกัน

เทวรูปก่ำเทียนไต่เต่ทรงฮู่ป่าน (ป้ายอาญาสิทธิ์) ศิลปะประเพณีจีนปัจจุบัน ณ ต้าหยวนเหรินโช่วกง (大園仁壽宮) เขตต้าหยวน เมืองเถาหยวน ไต้หวัน

บทบาท แก้

“ก่านเทียนต้าตี้” เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนในสังคมไทยใช้เรียกขานเจ้าพ่อเขาตกของศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยและบุคคลอันทรงคุณงามความดีอันเป็นที่ยกย่องแก่สาธารณชนในประวัติวัฒนธรรมจีนที่ได้รับการยกย่องหรือสถาปนาในตำแหน่งนี้ มีทั้งหมดสามองค์ได้แก่ นักพรตเต๋าสฺวี่ ซฺวิ่นท่านนี้ เจี้ยจื่อทุย (จีน: 介子推) และ ปั๋วอี้[2] นอกจากนี้ สฺวี่ ซฺวิ่น ยังได้รับการยกย่องเป็น ซี่ต้าเทียนชือ (จีน: 四大天师) ร่วมกับเตียวฮู้เทียนชือ สักเทียงซือ (สักซิวเจียง) [zh] และ กั่วเหี่ยง [zh][3] นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องเป็นเป็นหนึ่งในสามปรมาจารย์ของลัทธิเต่า คือ กำเทียนต้าตี้ หรือ ข้อจินหยิน, ซุนเจินเหริน(孫真人) หรือ ไท้อิดจิ้นหยิน และ หงอจิ้นหยิน (吳真人) หรือ เป่าเชิงต้าตี้ (保生大帝)[4]

อ้างอิง แก้

  1. 许逊. 新建县经济信息中心. 5 กรกฎาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2013.
  2. สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ (กรกฎาคม–ธันวาคม 2016). "เจ้าพ่อเขาตก: เทพารักษ์ไทยที่กลายเป็นเทพเจ้าจีน". วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา. สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 20 (2).
  3. ผู้ศรัทธาซำซัวก๊กอ้วง (14 มิถุนายน 2020). "สี้ไต่เทียงซือ 四大天师 สี่ราชครูสวรรค์".
  4. 道教四大天师. FengSuWang.com. 21 มิถุนายน 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้