กีโยม เดอ โลปีตาล

กีโยม ฟร็องซัว อ็องตวน, มาร์กีแห่งโลปีตาล[1] (ฝรั่งเศส: Guillaume François Antoine, Marquis de l'Hôpital; ค.ศ. 1661 – 2 กุมภาพันธ์ ต.ศ. 1704) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เกิดที่กรุงปารีสในครอบครัวขุนนาง เป็นบุตรของแอนน์-อาแล็กซ็องดร์ เดอ โลปีตาลและเอลิซาเบธ กอเบแล็ง[2] โลปีตาลรับราชการทหารก่อนจะลาออกเนื่องจากปัญหาด้านสายตาและหันไปสนใจด้านคณิตศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1691 เขาพบกับโยฮันน์ แบร์นูลลี นักคณิตศาสตร์ชาวสวิสและเรียนแคลคูลัสกับแบร์นูลลี สองปีต่อมา โลปีตาลได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสและดำรงตำแหน่งรองประธานสองสมัย[3]

กีโยม เดอ โลปีตาล
เกิดค.ศ. 1661
ปารีส, ฝรั่งเศส
เสียชีวิต2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1704
ปารีส, ฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส
มีชื่อเสียงจาก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาคณิตศาสตร์
สถาบันที่ทำงานสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส
อาจารย์ที่ปรึกษาโยฮันน์ แบร์นูลลี

โลปีตาลมีผลงาน เช่น การหาความยาวส่วนโค้งของกราฟลอการิทึม[4], เป็นหนึ่งในผู้แก้ปัญหาเส้นโค้งบราคิสโทโครน (brachistochrone curve)[2] ในปี ค.ศ. 1696 เขาแต่งตำราชื่อ Analyse des Infiniment Petits pour l'Intelligence des Lignes Courbes ที่กล่าวถึงแคลคูลัสของไลบ์นิซ ตำรานี้ถือเป็นตำราแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์เล่มแรก[5][6] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงหลักเกณฑ์โลปีตาลเป็นครั้งแรก (อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าแบร์นูลลีเป็นผู้ค้นพบหลักเกณฑ์ดังกล่าว[7][8])

ด้านชีวิตส่วนตัว โลปีตาลแต่งงานกับมารี-ชาร์ล็อตต์ เดอ รอมิลลีย์ เดอ ลา เชสเนเลย์ ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 4 คน[2] โลปีตาลเสียชีวิตที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1704

อ้างอิง

แก้
  1. In the 17th and 18th centuries, the name was commonly spelled "l'Hospital", and he himself spelled his name that way. However, French spellings have been altered: the silent 's' has been removed and replaced with the circumflex over the preceding vowel. The former spelling is still used in English where there is no circumflex.
  2. 2.0 2.1 2.2 "L'hospital". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ October 31, 2017.
  3. Yushkevich, p. 270.
  4. Unbeknownst to him, a solution had already been obtained by James Gregory in letters to Collins (1670–1671), ibid.
  5. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F. "De L'Hopital biography". The MacTutor History of Mathematics archive. Scotland: School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-06. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
  6. L’Hospital, Analyse des infiniment petits... , pages 145–146: "Proposition I. Problême. Soit une ligne courbe AMD (AP = x, PM = y, AB = a [see Figure 130] ) telle que la valeur de l’appliquée y soit exprimée par une fraction, dont le numérateur & le dénominateur deviennent chacun zero lorsque x = a, c’est à dire lorsque le point P tombe sur le point donné B. On demande quelle doit être alors la valeur de l’appliquée BD. [Solution: ]...si l’on prend la difference du numérateur, & qu’on la divise par la difference du denominateur, apres avoir fait x = a = Ab ou AB, l’on aura la valeur cherchée de l’appliquée bd ou BD." Translation : "Let there be a curve AMD (where AP = X, PM = y, AB = a) such that the value of the ordinate y is expressed by a fraction whose numerator and denominator each become zero when x = a; that is, when the point P falls on the given point B. One asks what shall then be the value of the ordinate BD. [Solution: ]... if one takes the differential of the numerator and if one divides it by the differential of the denominator, after having set x = a = Ab or AB, one will have the value [that was] sought of the ordinate bd or BD."
  7. Boyer, Carl B.; Merzbach, Uta C. (2011). A History of Mathematics (3rd illustrated ed.). John Wiley & Sons. p. 321. ISBN 978-0-470-63056-3. Extract of page 321
  8. เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์, "L'Hospital's Rule" จากแมทเวิลด์.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้