กีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17

กีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (อังกฤษ: 17th Thailand Sports School Games) หรือ "พะยูนเกมส์" เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนกีฬาจากสังกัดต่าง ๆ ในประเทศไทยและโรงเรียนกีฬาจากต่างประเทศ โดยครั้งนี้จัดการแข่งขันเป็นครั้งที่ 17 โดยจังหวัดตรัง รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 15-24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17
เมืองเจ้าภาพจังหวัดตรัง
ทีมเข้าร่วม27 โรงเรียน
นักกีฬาเข้าร่วม5,398 คน
กีฬา20 ชนิด 1 กีฬาสาธิต
พิธีเปิด15 มิถุนายน 2557 (2557-06-15)
พิธีปิด24 มิถุนายน 2557 (2557-06-24)
ประธานพิธีเปิดบรรหาร ศิลปอาชา
(นายกรัฐมนตรี คนที่ 21
นายกสภาสถาบันการพลศึกษา)
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาเทศบาลนครตรัง

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน แก้

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นรูปต่าง ๆ ซึ่งมีความหมาย[1]ดังนี้

  • พระพลบดีทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือก้อนเมฆ ประทับอยู่เหนือเครื่องหมายสามห่วง (เขียว ขาว เหลือง) หมายถึง ชาวพลศึกษา ผู้ซึ่งเรียนรู้ในเรื่องของพลศึกษา พุทธิศึกษา และจริยศึกษา
  • ตราทะเลและกระโจมไฟ เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันในครั้งนี้
  • ธงชาติไทยและธงชาติพันธมิตรโรงเรียนกีฬาในอาเซียน คือ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปและบรูไน อันหมายถึง โรงเรียนกีฬาในประเทศไทยที่สังกัดกรมพลศึกษาและสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอื่น ๆ และประเทศพันธมิตรในอาเซียน ที่มาร่วมการแข่งขันในครั้งนี้

สัตว์นำโชค แก้

สัญลักษณ์นำโชคหรือมาสคอตประจำการแข่งขันครั้งนี้คือ พะยูน ใช้ชื่อ “ Mr.Friendship” [2] เพื่อสื่อถึงการแข่งขันที่มีจุดเน้นในด้านความรัก ความสามัคคีและความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนากีฬาสู่มาตรฐานในระดับสากลในโอกาสต่อไป

โดยการใช้พะยูนเป็นสัญลักษณ์มีที่มาจาก จังหวัดตรังเป็นเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก ของภาคใต้ มีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากชายหาด เกาะและท้องทะเลที่สวยงามแล้ว ทะเลตรังยังมีหญ้าทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง จึงมี “พะยูน” ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเป็นฝูงสุดท้ายและมากที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน จึงใช้ "พะยูน" เป็นสัญลักษณ์ในครังนี้

คำขวัญประจำการแข่งขัน แก้

ปรัชญาการกีฬา คือ “การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” ซึ่งใช้ได้ในทุกเกมส์การแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ จึงได้ดำเนินการภายใต้ปรัชญากีฬาดังกล่าว จึงใช้คำขวัญการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 “พะยูนเกมส์ ” ว่า

มิตรภาพไร้พรมแดน เหนือกว่าชัยชนะ

คำขวัญดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการได้แก่

  • เกมส์สีเขียว ขาว เหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวพลศึกษา
  • เกมส์แห่งการพัฒนา มีจุดเน้นการพัฒนามาตรฐานการกีฬาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนของสังคมยุคใหม่ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนา
  • เกมส์ของประชาชน เป็นเกมส์แห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความรักความสามัคคีและสันติสุขของสังคม โดยใช้กีฬาเป็นสื่อกลางการจัดการแข่งขันในครั้งนี้จึงเป็นการ “ รวมหัวใจ...รวมพลัง..เป็นหนึ่งเดียว ”

จากแนวคิดนี้ เพื่อต้องการส่งสารถึงผู้เกี่ยวข้องให้รับรู้ถึงประเด็นที่มีโรงเรียนกีฬาและต้องการสื่อความหมายของโรงเรียนกีฬาว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณภาพและมาตรฐานการกีฬา ตลอดจนการใช้เวทีนี้ให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทางสังคมในมิติต่าง ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในคุณค่าทางการกีฬาและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กับความต้องการให้ประชาชนได้รับรู้และซึมซับในจิตวิญญาณของพะยูนเกมส์ “Payun Game of Spirit” ที่มีเจตนาและอุดมการณ์ที่มุ่งให้เป็นกิจกรรมสัญลักษณ์แห่งคุณภาพและมาตรฐานการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ การจัดการแข่งขันกีฬาฯ ในครั้งนี้ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม ชมรมต่าง ๆ และพี่น้องประชาชนชาวนตรังทุกคน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3 ประการ คือ 1.ยิ่งใหญ่ 2.ประทับใจ 3.ได้มาตรฐาน[3]

ชนิดกีฬาที่แข่ง แก้

กีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 21 ชนิดกีฬา แบ่งเป็นชนิดกีฬาที่จัดการแข่งขัน 20 ชนิดกีฬาและชนิดกีฬาสาธิต 1 ชนิดกีฬา[4] ดังนี้

โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน แก้

โรงเรียนกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนกีฬาในประเทศไทย จำนวน 20 แห่ง และโรงเรียนกีฬาจากต่างประเทศ จำนวน 7 แห่ง รวมทั้งสิ้น 27 แห่ง ดังนี้

โรงเรียนกีฬาในประเทศไทย จำนวน 20 แห่ง แยกตามสังกัด[5] ดังนี้

โรงเรียนกีฬาจากต่างประเทศ จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

  1. โรงเรียนกีฬาตังกู มาโกตาอิสเมล ประเทศมาเลเซีย (Tunku Mahkota Ismail Sports School)
  2. โรงเรียนกีฬาบูกิตจาริล ประเทศมาเลเซีย (Bukit Jalil Sports School)
  3. โรงเรียนกีฬาปาฮัง เนชัลแนล ประเทศมาเลเซีย (Sekolah Sukan Malaysia Pahang)
  4. โรงเรียนกีฬาซาบา เนชัลแนล ประเทศมาเลเซีย (Sabah Sports School)
  5. โรงเรียนกีฬาซาราวัก (Sarawak Sports School)
  6. โรงเรียนกีฬาประเทศสิงคโปร์ (Singapore Sports School)
  7. โรงเรียนกีฬาประเทศบูรไน (Brunei Sports School)

อ้างอิง แก้

  1. http://www.trss.ac.th/payoongames/index.php/2014-05-12-08-05-59/2014-05-20-10-13-28[ลิงก์เสีย]
  2. http://www.trss.ac.th/payoongames/index.php/2014-05-12-08-05-59/2014-05-20-10-13-28[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.trss.ac.th/payoongames/index.php/2014-05-12-08-05-59/2014-05-20-10-13-28[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.