การโทรศัพท์ภาพ (อังกฤษ: Videotelephony หรือ Video Calling) เป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับการรับและส่งสัญญาณเสียงวิดีโอโดยผู้ใช้ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้คนในแบบเรียลไทม์

คนหูหนวกกำลังโทรศัพท์ภาพในที่ทำงานเพื่อสื่อสารกับผู้ฟังในลอนดอน

ปัจจุบันการโทรศัพท์ภาพเริ่มมีบทบาทมากในรัฐบาลของหลายประเทศ, การแพทย์, การศึกษา, ธุรกิจ และการข่าว และยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้พิการทางเสียง ที่จะสามารถใช้ภาษามือ ในการสื่อสาร

การติดต่อด้วยโทรศัพท์ภาพ สามารถติดต่อโดยใช้ซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างซอฟแวร์และแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้สำหรับการการโทรศัพท์ภาพในปัจจุบัน ได้แก่ ไลน์ ซูม (ซอฟต์แวร์) เฟสไทม์ ไมโครซอฟท์ ทีมส์ สไกป์ เป็นต้น

ในอดีตซอฟแวร์มี วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ สามารถรองรับการโทรศัพท์ภาพทางอินเตอร์ได้[1] ปัจจุบันซอฟแวร์นี้ได้ยุติการให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าเพื่อใช้งาน (Sign in) ซึ่งมีผลตั้งแต่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 [2]

ความเป็นมา

แก้
 
แนวคิดของศิลปิน: การโทรศัพท์ภาพยังคงเป็นเพียงจินตนาการในปี พ.ศ. 2453

แนวคิดของเทคโนโลยีเริ่มเป็นที่นิยมในราว พ.ศ. 2430 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป แม้ว่าวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลาอีกนับครึ่งศตวรรษ สิ่งเหล่านี้วิวัฒนาการมาจากการศึกษาและทดลองทางโทรเลข, วิทยุ, โทรศัพท์ และโทรทัศน์

การพัฒนาของวิดีโอและโทรทัศน์เทคโนโลยีการส่งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเริ่มตั้งแต่ครึ่งหลังของ พ.ศ. 2463 เทคโนโลยีนี้ได้รับการผลักดันโดย AT&T เพื่อที่จะให้บริการเป็นส่วนเสริมจากการใช้โทรศัพท์ โดยมีหลายองค์การที่เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะดีกว่าการสื่อสารด้วยเสียงแบบธรรมดา อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีคล้ายกันนี้ถูกนำไปใช้กระจายเสียงโทรทัศน์สัญญาณแอนะล็อกมานานแล้ว

ความรุดหน้าในอเมริกา

แก้

เกิดการปรับปรุงสำคัญของคุณภาพการโทรศัพท์ภาพในการให้บริการสำหรับคนหูหนวกในสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2546 เมื่อ Sorenson Media Inc. (ภายหลังคือ formerly Sorenson Vision Inc.) โดยบริษัทซอฟต์แวร์เข้ารหัสและบีบอัดวิดีโอได้พัฒนา VP-100 รุ่นใช้งานคนเดียวสำหรับชุมชนคนหูหนวกโดยเฉพาะ มันถูกออกแบบมาเพื่อส่งออกวิดีโอผ่านโทรทัศน์ของผู้ใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อกิจการ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว จากการอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนหูหนวก

  1. "Patching". Microsoft Developer Network. Archived from the original on September 3, 2009.
  2. Protalinski, Emil (January 9, 2013). "Microsoft confirms Messenger will be retired and users migrated to Skype on March 15". The Next Web. Archived from the original on April 14, 2013. Retrieved April 13, 2013.