การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เพื่อเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 91 ที่นั่ง จาก 182 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 91 ที่นั่งแต่งตั้งโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ที่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2480 เป็นการเลือกตั้งทางตรง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480

← พ.ศ. 2476 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2481 →

91 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ผู้ใช้สิทธิ40.22% ลดลง
  First party
 
ผู้นำ พระยาพหลพลพยุหเสนา
พรรค คณะราษฎร
ที่นั่งที่ชนะ 91

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

พระยาพหลพลพยุหเสนา
คณะราษฎร

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

พระยาพหลพลพยุหเสนา
คณะราษฎร

เวลานั้นยังไม่มีพรรคการเมือง[1] ดังนั้นผู้สมัครทุกคนจึงลงสมัครเป็นผู้สมัครอิสระ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 40.2%[2]

สืบเนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกนั้นได้พ้นตำแหน่งไปตามวาระ อีกทั้งก่อนหน้านั้นไม่นาน พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการมีกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ถึงเรื่องการซื้อขายที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกครั้งหนึ่ง

การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 โดยมีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 91 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,123,239 คน และมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,462,535 คน คิดเป็นร้อยละ 40.22

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

หลังการเลือกตั้งแล้ว ในวันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และมีการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมารวมทั้งสิ้น 18 คน นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 8 และเป็นวาระสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของพระยาพหลพลพยุหเสนา[3] [4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p284 ISBN 0-19-924959-8
  2. Nohlen et al., p278
  3. ลำดับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงปลายระบอบเก่าและช่วงต้นระบอบใหม่, สารคดีฉบับที่ 172: มิถุนายน 2542
  4. บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2520