การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)

การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (อังกฤษ: Coronation of the Virgin) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยดิเอโก เบลัซเกซ[1] จิตรกรคนสำคัญชาวสเปนของสมัยบาโรก ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปราโดในกรุงมาดริดในประเทศสเปน

การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี
ศิลปินดิเอโก เบลัซเกซ
ปีค.ศ. 1641 - ค.ศ. 1644
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด

ภาพ “การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี” ที่เขียนโดยดิเอโก เบลัซเกซ ราวระหว่างปี ค.ศ. 1641 ถึงปี ค.ศ. 1644 เป็นภาพที่อาจจะได้รับการจ้างโดยชาเปลของราชสำนักของเอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนใน Real Alcázar of Madrid ภาพนี้เป็นภาพคู่กับภาพพระแม่มารีสำหรับเทศกาลพระแม่มารีโดยจิตรกรชาวเนเปิลส์อันเดรีย วัคคาโร ผู้เป็นแบบสำหรับพระแม่มารีอาจจะเป็นนางแบบคนเดียวกับนางแบบที่เบลัซเกซใช้ในภาพ “วีนัสแห่งโรเคอบี

เนื้อหา แก้

งานชิ้นนี้เป็นงานทางศาสนาซึ่งตามปกติแล้วไม่ใช่หัวเรื่องหลักของงานเขียนหลักเบลัซเกซผู้ที่ตามปกติแล้วมักจะเขียนภาพเหมือน และเป็นงานเขียนที่มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติและบรรยากาศอย่างง่ายที่หาดูได้ยากในงานเขียนภาพศาสนาของยุคบาโรก การวางภาพมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ ที่ให้ความรู้สึกของความมีสมมาตรและความกลมกลืนของเส้น และ เป็นทั้งรูปทรงและการใช้สีเป็นที่เป็นนัยยะถึงรูปทรงของหัวใจ ตัวเอกของภาพคือพระแม่มารีที่ดูถ่อมพระองค์ น่าสักการะ และ แสดงอารมณ์ การใช้รูปทรงที่ทำให้นึกถึงหัวใจเป็นการทำให้ผู้ดูนึกถึงความเคร่งครัดของพระแม่มารีผู้ทรงชี้ไปที่หัวใจในพระอุระของพระองค์เอง

ทางด้านขวาของภาพเป็นพระเจ้าผู้เป็นพระบิดาที่เป็นภาพของชายสูงอายุ ขณะที่ทางซ้ายเป็นภาพพระเยซูในภาพของชายหนุ่มผมยาว ทั้งสองคนประคองมงกุฎของพระแม่มารีเหนือพระเศียร กลางภาพเหนือขึ้นไปเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ใช้สัญลักษณ์ของนกพิราบขาวมีรัศมี พระเศียรของพระเจ้า พระเยซู และ พระวิญญาณบริสุทธิ์ อยู่ในระเดับเดียวกันซึ่งเป็นเส้นฐานของสามเหลี่ยมที่เป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกันของตรีเอกานุภาพ สิ่งอื่นที่น่าสังเกตในภาพคือดรุณเทพที่ฐานของพระแม่มารี ที่คุณภาพเท่าเทียมกับภาพเขียนของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโยผู้มีชื่อเสียงในการเขียนภาพที่เกี่ยวกับดรุณเทพ

เบลัซเกซใช้สีน้ำเงินและม่วงแดง และสีสีแดงคาร์มีน (โดยเฉพาะสีแดงคาร์มีนเวนิส) แทนที่จะใช้สีแดงที่ใช้กันตามปกติ ตามคำแนะนำของอาจารย์ Pacheco ที่บันทึกไว้ในหนังสือ “Arte de la Pintura” แม้ว่าขณะนั้นเบลัซเกซจะเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงจนเกินกว่าที่จะเป็นลูกศิษย์ไปแล้วก็ตาม

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้