การวิเคราะห์เชิงจริง
ในวิชาคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงจริง (อังกฤษ: Real analysis) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตวิเคราะห์ ที่ศึกษาสมบัติของจำนวนจริง ลำดับและอนุกรมที่มีพจน์เป็นจำนวนจริง[1] ตลอดจน ฟังก์ชันค่าจริง แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การลู่เข้า ลิมิต ความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ได้ และ การหาปริพันธ์ได้
หัวข้อในการวิเคราะห์เชิงจริง
แก้การลู่เข้าและลิมิต
แก้ลำดับคือฟังก์ชันจากเซตจำนวนนับไปยังเซตอื่น ในส่วนสาขาการวิเคราะห์เชิงจริงเราสนใจลำดับที่มีสมาชิกเป็นจำนวนจริง ซึ่งอาจมองได้เป็นการเขียนจำนวนจริง เรียงกันต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด[2]
ตัวอย่างเช่น ลำดับของค่าประมาณของ สามารถเขียนได้เป็น
โดยที่พจน์ที่ จะเท่ากับค่าของ จนถึงทศนิยมตัวที่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมาชิกแต่ละตัวในลำดับนี้มีค่าเข้าใกล้ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถนิยามให้รัดกุมในทางคณิตศาสตร์ได้ เราเรียกค่าที่ลำดับเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ลิมิต ตัวอย่างเช่น ลิมิตของลำดับข้างต้นคือ นอกจากนี้เรายังสามารถพิจารณาลิมิตของลำดับประเภทอื่นได้ เช่น ลิมิตของอนุกรม และลิมิตของฟังก์ชัน
ทฤษฎีบทในสาขาการวิเคราะห์เชิงจริงที่เกี่ยวข้องกับลิมิต เช่น ทฤษฎีบทบ็อลท์ซาโน-ไวเออร์ชตราส
ความต่อเนื่อง
แก้ฟังก์ชันจากเซตของจำนวนจริงไปยังเซตของจำนวนจริงสามารถเขียนเป็นกราฟบนระบบพิกัดฉากได้ เราจะเรียกฟังก์ชัน ว่าเป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง (ในมุมมองง่าย ๆ) ถ้ากราฟของฟังก์ชันเป็นเส้นต่อเนื่องเส้นเดียว และไม่ "ขาด" หรือ "กระโดด" แยกจากกัน ความพยายามที่จะนิยามแนวคิดเรื่องความต่อเนื่องข้างต้นให้รัดกุมในเชิงคณิตศาสตร์ส่งผลให้ แบร์นาร์ท บ็อลท์ซาโน และ คาร์ล ไวเออร์ชตราส สร้างบทนิยามลิมิตแบบ (ε, δ) ขึ้นมา[3]
นิยามของความต่อเนื่องในทางคณิตศาสตร์มีดังนี้ ให้ เป็นเซตใด ๆ และ เป็นฟังก์ชันใด ๆ จะกล่าวว่า ต่อเนื่องที่จุด ถ้าสำหรับ ใด ๆ จะมี ที่ทำให้สำหรับทุก ที่ซึ่ง แล้วจะได้ว่า
เมื่อ เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง แล้วจะมีสมบัติมากมายตามมาจากทฤษฎีบทที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีบทค่ามัชฌิม ทฤษฎีบทค่าระหว่างกลาง และทฤษฎีบทค่าขีดสุด เป็นต้น
อนุพันธ์และปริพันธ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Laczkovich, Miklós. Real analysis : foundations and functions of one variable (First English ed.). New York. ISBN 978-1-4939-4222-0.
- ↑ Stewart, Ian. The foundations of mathematics (Second ed.). Oxford. ISBN 9780198706434.
- ↑ Grabiner, Judith V. (March 1983). "Who Gave You the Epsilon? Cauchy and the Origins of Rigorous Calculus". The American Mathematical Monthly. 90 (3): 185. doi:10.2307/2975545.