การล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)

การล้อมเมืองโรดส์ (อังกฤษ: Siege of Rhodes) (ค.ศ. 1522) การล้อมเมืองโรดส์ในปี ค.ศ. 1522 เป็นความพยายามครั้งที่สองโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานในการยึดโรดส์เพื่อกำจัดอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ออกจากเกาะซึ่งก็เป็นที่สำเร็จ ซึ่งเป็นเพิ่มความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ให้แก่จักรวรรดิทางด้านตะวันออกของเมดิเตอเรเนียน หลังจากที่การล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ประสบความล้มเหลว

การล้อมเมืองโรดส์
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมันในยุโรป
วันที่ค.ศ. 1522
สถานที่
ผล ออตโตมันได้รับชัยชนะ, ออตโตมันยึดโรดส์
คู่สงคราม
จักรวรรดิออตโตมัน อัศวินฮอสพิทาลเลอร์ สาธารณรัฐเวนิส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
Kurtoğlu Muslihiddin Reis
ฟิลิปป์ วิลลิเยร์ส เดอ ลิสเซิล-อาแดง
กำลัง
50,000-70,000 คน[1]

7,500 คน

  • 700 knights
  • 500 archers
ความสูญเสีย
20,000 คน?[2] 2,000 คน

ที่ตั้ง แก้

อัศวินเซนต์จอห์นหรืออัศวินฮอสพิทาลเลอร์เข้ายึดเกาะโรดส์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 หลังจากที่เสียเมืองเอเคอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นสุดท้ายของนักรบครูเสดในปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1291 และใช้เป็นที่ตั้งมั่นในการดำเนินการต่อต้านมุสลิมและรังควานการเดินเรือของตุรกีในบริเวณลว้าน ความพยายามครั้งแรกที่จะยึดในการล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ของฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันประสบกับความล้มเหลว แต่การมีอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ผู้ก้าวร้าวอยู่ไม่ไกลจากฝั่งใต้ของอานาโตเลียก็เป็นอุปสรรคใหญ่ในการขยายอำนาจซึ่งทำให้จักรวรรดิออตโตมันจำต้องพยายามกำจัด

ในปี ค.ศ. 1521 ฟิลิปป์ วิลลิเยร์ส เดอ ลิสเซิล-อาแดง (Philippe Villiers de L'Isle-Adam) ได้รับเลือกให้เป็นแกรนด์มาสเตอร์ของลัทธิ ลิสเซิล-อาแดงคาดว่าจะถูกโจมตีโดยออตโตมันจึงสร้างเสริมกำแพงป้องกันตัวเมืองให้แข็งแรงขึ้น อันที่จริงแล้วการสร้างเสริมก็เริ่มทำกันมาบ้างแล้วตั้งแต่หลังการรุกรานครั้งแรก และ หลังจากความเสียหายที่ได้รับจากแผ่นดินไหวในปีต่อมาใน ค.ศ. 1481 นอกจากนั้นลิสเซิล-อาแดงก็ทำการชักชวนหว่านล้อมให้สมาชิกของลัทธิจากบริเวณต่างๆ ในยุโรปให้มาช่วยป้องกันเกาะ แต่ก็ไม่มีผู้ใดในยุโรปให้ความสนใจกับการเรียกร้อง นอกจากไปจากกลุ่มกองทหารเวนิสจากครีต เมืองโรดส์บางส่วนก็มีระบบกำแพงสองชั้นป้องกัน บางแห่งก็เป็นกำแพงหินสามชั้น และเชิงเทินขนาดใหญ่ การป้องกันแต่ละส่วนก็มอบหมายให้แก่หน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่าทัง (Tongue) ซึ่งเป็นระบบที่วางรากฐานมาตั้งแต่ ค.ศ. 1301 ด้านปากอ่าวปิดด้วยโซ่เหล็ก หลังแนวโซ่ก็เป็นกองเรือของอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ที่ตั้งรออยู่

อ้างอิง แก้

  1. Clodfelter, M. (2017)." Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4th ed.)." McFarland.
  2. L. Kinross, The Ottoman Centuries: The Rise and Fall of the Turkish Empire, 178

ดูเพิ่ม แก้