การล้อมกิจิ๋ว[a] (จีน: 冀城之圍) เป็นส่วนหนึ่งของการทัพที่ม้าเฉียวริเริ่มเพื่อพยายามจะชิงมณฑลเลียงจิ๋วคืน หลังทัพพันธมิตรกวานซี (ตะวันตกของด่านหานกู่) พ่ายแพ้ในยุทธการที่ด่านตงก๋วนในฤดูหนาว ค.ศ. 211 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

การล้อมกิจิ๋ว
ส่วนหนึ่งของ สงครามยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น
วันที่ค.ศ. 213
สถานที่
ผล ม้าเฉียวชนะ
คู่สงคราม
ม้าเฉียว
เตียวฬ่อ
ชาวเกี๋ยง
ชาวหู
โจโฉ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ม้าเฉียว
เอียวหงง
อุยของ  Surrendered  โทษประหารชีวิต
หยาง เยฺว่  Surrendered
กำลัง
10,000[1] 1,000[1]
การล้อมกิจิ๋ว
อักษรจีนตัวเต็ม冀城之圍
อักษรจีนตัวย่อ冀城之围

ภูมิหลัง แก้

หลังทัพพันธมิตรกวานซีสลายตัว ม้าเฉียวนำทหารที่เหลือไปยังลำฉัน (藍田 หลานเถียน) เพื่อเตรียมการยืนหยัดสู้กับโจโฉต่อไป บังเอิญว่าในเวลานั้นซู ปั๋ว (苏伯) ในเมืองโฮกั้น (河閒 เหอเจียน) ก่อกบฏ โจโฉตัดสินนำทัพหลักยกเข้าปราบกบฏ ทำให้ม้าเฉียวมีเวลาได้พักฟื้น ม้าเฉียวจึงค่อย ๆ ฟื้นคืนกองกำลังของตนและมีอิทธิพลอย่างมากเหนือชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอีกครั้ง ม้าเฉียวคัดเลือกทหารชาวเกี๋ยงและชาวหูจำนวนมาก และได้รับกำลังเสริมจากเตียวฬ่อแห่งฮันต๋ง ม้าเฉียวจึงวางแผนจะเข้ายึดทุกอำเภอในหลงเส (陇西 หล่งซี; ทางตะวันตกของสันเขาหล่ง) และภายในหนึ่งปี ทุกอำเภอยกเว้นกิจิ๋ว[a] (冀城 จี้เฉิง; ที่ตั้งที่ว่าการของเมืองเทียนซุย) ในพื้นที่นั้นก็ยอมจำนนให้กองกำลังพันธมิตรของม้าเฉียว

การปิดล้อม แก้

ในปี ค.ศ. 213 ม้าเฉียวเริ่มปิดล้อมกิจิ๋ว แต่กลายเป็นการศึกที่ยากลำบาก แม้ว่าอุยของข้าหลวงของมณฑลเลียงจิ๋วเสียเปรียบเป็นอย่างมาก แต่เอียวหูผู้ช่วยของอุยของก็ช่วยในเรื่องป้องกันเป็นอย่างดีโดยทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปกป้องเมือง เอียวหูคัดเลือกบัณฑิตและพรรคพวกราว 1,000 คนให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของหยาง เยฺว่ (杨岳) ที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง ตัวเอียวหูเองทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลยุทธ์ของหยาง เยฺว่ เอียวหูบอกกับหยาง เยฺว่ให้สร้างค่ายกลรูปจันทร์เสี้ยวบนบนกำแพงเมืองเพื่อตอบโต้การปิดล้อมของม้าเฉียวและรอกำลังหนุนจากทางตะวันออก[1] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนหนึ่งถึงเดือนแปดก็ไม่มีวี่แววว่ากำลังหนุนจะเดินทางมาก อุยของจึงส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อเหยียน เวิน (阎温) ให้ลอบเดินทางออกไปในเวลากลางคืนเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากแฮหัวเอี๋ยนซึ่งประจำการอยู่ที่เตียงฮัน

ผลสืบเนื่อง แก้

ในวัฒนธรรมประชานิยม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 ชื่อ "กิจิ๋ว" ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 53[2] ชื่อในภาษาจีนกลางคือ "จี้เฉิง" (冀城) เป็นคนละชื่อกับ "กิจิ๋ว" ที่เป็นชื่อมณฑลซึ่งมีชื่อในภาษาจีนกลางว่า "จี้โจว" (冀州)

อ้างอิง แก้

รายการอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ตันซิ่ว. จดหมายเหตุสามก๊ก, เล่มที่ 25, บทชีวประวัติซินผี เอียวหู และเถาถัง หลง
  2. "สามก๊ก ตอนที่ ๕๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 24, 2023.

บรรณานุกรม แก้