ห้าชนเผ่า หรือ อู่หู (จีน: 五胡; พินอิน: Wǔ Hú) เป็นประวัติศาสตร์จีนช่วงที่ถูกเรียกชื่อจากชาวฮั่นสำหรับห้าชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ฮั่น ซึ่งได้อพยพมาจากทางเหนือของแผ่นดินจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลังจากนั้นได้ล้มล้างราชวงศ์จิ้นตะวันตกและสถาปนาอาณาจักรขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 4–5[1][2][3][4] ชาติพันธุ์ที่ได้ถูกจัดกลุ่มเป็นห้าชนเผ่าคือ ชาติพันธุ์ซฺยงหนู (匈奴), ชาติพันธุ์เจี๋ย (羯), ชาติพันธุ์เซียนเปย์ (鲜卑), ชาติพันธุ์ตี (氐) และชาติพันธุ์เชียง (羌)[1][3][5] ในกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งห้ากลุ่ม ชาติพันธุ์ซยฺงหนูและเผ่าเซียนเปย์เป็นชนร่อนเร่จากทุ่งหญ้าสเตปป์ทางตอนเหนือ เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ซยฺงหนูนั้นไม่มีความแน่นอน แต่เซียนเปย์นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับชาติพันธุ์มองโกล ส่วนชาติพันธุ์เจี๋ยนั้นล้วนเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าและอาจนับเป็นส่วนย่อยของชาติพันธุ์ซยฺงหนู ที่น่าจะเป็นชาวเยนีเซย์ (Yeniseian) หรืออิหร่าน[6][7][8] ชาติพันธุ์ตีและเซียงนั้นมาจากที่ราบสูงทางตะวันตกของจีน[1] ชาติพันธุ์เซียงเป็นพวกคนเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่และพูดภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต (ทิเบต-พม่า) ในขณะที่เผ่าตีล้วนทำการเกษตรและอาจพูดภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต[9] หรือภาษาเตอร์กิก[10]

การรุกรานของห้าชนเผ่าในช่วงราชวงศ์จิ้น

ประวัติ

แก้

คำว่า "ห้าชนเผ่า" ถูกใช้ครั้งแรกในพงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงของสิบหกอาณาจักร (ค.ศ. 501–522) ซึ่งบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จิ้นตะวันตกตอนปลายและยุคสิบหกอาณาจักรที่เกิดการกบฏและการทำสงครามโดยในหมู่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮั่น ชนกลุ่มน้อยชาวจีนได้ทำลายล้างจีนตอนเหนือ คำว่า "อู๋" ในข้อความก่อนหน้านี้ใช้เพื่ออธิบายชาวซงหนู แต่กลายเป็นคำเรียกรวมสำหรับชนกลุ่มน้อยที่ตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือของจีนและจับอาวุธระหว่างการจลาจลของชนเผ่าทั้งห้า คำนี้รวมถึงซงหนู เสียนเป่ย ตี้ เกี๋ยง และเจี๋ย

นักประวัติศาสตร์ยุคหลังระบุว่ามีชนเผ่าเร่ร่อนมากกว่าห้าเผ่าเข้าร่วมด้วย[11] และคำว่า ห้าชนเผ่า ได้กลายเป็นคำเรียกรวมกันสำหรับชาวเร่ร่อนทุกคนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของอาณาจักรก่อนหน้านี้ของจีน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 A History of Chinese Civilization, Jacques Gernet, Cambridge University Press 1996 P.186-87
  2. Michio Tanigawa & Joshua Fogel, Medieval Chinese Society and the Local "community" University of California Press 1985 p. 120-21
  3. 3.0 3.1 Peter Van Der Veer, "III. Contexts of Cosmopolitanism" in Steven Vertovec, Robin Cohen eds., Conceiving Cosmopolitanism: Theory, Context and Practice Oxford University Press 2002 p. 200-01
  4. John W. Dardess, Governing China: 150-1850 Hackett Publishing 2010 p. 9
  5. "The Sixteen States of the Five Barbarian Peoples 五胡十六國 (www.chinaknowledge.de)".
  6. Vovin, Alexander. "Did the Xiongnu speak a Yeniseian language?". Central Asiatic Journal 44/1 (2000), pp. 87-104.
  7. Lewis, Mark Edward (2009). China between Empires: The Northern and Southern Dynasties. Harvard University Press. p. 82-83.
  8. Lee, Joo-Yup; Kuang, Shuntu (2017-10-18). "A Comparative Analysis of Chinese Historical Sources and y-dna Studies with Regard to the Early and Medieval Turkic Peoples". Inner Asia. 19 (2): 197–239. doi:10.1163/22105018-12340089. ISSN 2210-5018.
  9. (Chinese) 段渝, 先秦巴蜀地区百濮和氐羌的来源 เก็บถาวร 2018-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2006-11-30
  10. Guo Ji Zhongguo Yu Yan Xue Ping Lun, Volume 1, Issue 1, J. Benjamins 1996. page 7.
  11. “五胡”新释 เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน