การรุกวิสตูลา–โอเดอร์

(เปลี่ยนทางจาก การรุกวิสตูลา-โอเดอร์)

การรุกวิสตูลา-โอเดอร์ เป็นการรุกที่ประสบความสำเร็จของกองทัพแดงใน แนวรบด้านตะวันออก และสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปในเดือนมกราคมปี 1945 โดยที่กองทัพแดงสามารถปลดปล่อยกรากุฟ, กรุงวอร์ซอ และ พอซนาน

การรุกวิสตูลา-โอเดอร์
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออก ใน สงครามโลกครั้งที่สอง

รถถังพิฆาต ISU-122 ของโซเวียตเคลื่อนนำสู่นครวูช
วันที่12 มกราคม– 2 กุมภาพันธ์ 1945
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะเด็ดขาด
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
โปแลนด์ โปแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์
(กลุ่มกองทัพ A) (จากวันที่ 20 มกราคม)
นาซีเยอรมนี โจเซฟ ฮาร์เบ
(กลุ่มกองทัพ A) (จนถึงวันที่ 20 มกราคม)
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ
(แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1)
สหภาพโซเวียต อีวาน โคเนฟ
(แนวรบยูเครนที่ 1)
กำลัง
กำลังพล 450,000 นาย[1] กำลังพล 2,203,600 นาย[2]
ความสูญเสีย

เสียชีวิต 295,000 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 147,000 นาย[3]
หรือ
เสียชีวิต 41,805 นาย
สูญหาย 68,515 นาย


ได้รับบาดเจ็บ 146,368 นาย[4][5]
เสียชีวิตหรือสูญหาย 43,476 นาย
ได้รับบาดเจ็บและป่วย 150,715 นาย[2]

กองทัพแดงได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับหัวสะพานสำคัญหลายแห่งโดยมีจอมพล เกออร์กี จูคอฟ และจอมพล อีวาน โคเนฟ เป็นผู้บัญชาการ ตรงกันข้ามกับ กลุ่มกองทัพเยอรมันเอที่นำโดยพลเอก โจเซฟ ฮาร์เบ (ในไม่ช้าก็ถูกแทนที่ด้วยพลเอกแฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 5: 1 ภายในไม่กี่วัน ผู้บัญชาการเยอรมันได้สั่งอพยพค่ายกักกัน และส่งผู้ต้องขังไปทางตะวันตก โดยที่ชาวเยอรมันเริ่มหนีเช่นกัน ในเวลาน้อยกว่าสองสัปดาห์ กองทัพแดงรุกได้ถึง 300 ไมล์ (483 กม.) จากวิสตูลาไปยังโอเดอร์ เพียง 43 ไมล์ (69 กม.) จะถึงกรุงเบอร์ลินที่ไม่ได้รับการป้องกัน แต่จูคอฟสั่งให้หยุดการโจมตีเนื่องจากการต่อต้านโดยเยอรมันอย่างต่อเนื่องในทางด้านเหนือ (พอเมอเรเนีย) และการรุกหน้าสู่กรุงเบอร์ลินจะต้องล่าช้าออกไปจนถึงเดือนเมษายน

อ้างอิง แก้