การรุกนากอร์โน-คาราบัคของอาเซอร์ไบจาน พ.ศ. 2566
ระหว่างวันที่ 19 ถึง 20 กันยายน 2566 อาเซอร์ไบจานได้เปิดฉากโจมตีทางทหารครั้งใหญ่ต่อสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคที่ประกาศแยกตัวออกไป ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงที่ลงนามภายหลังสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สองในปี 2563[16][17] การรุกเกิดขึ้นในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานโดยนิตินัย และเป็นสาธารณรัฐอิสระโดยพฤตินัย เป้าหมายที่ระบุไว้ของการโจมตีคือการปลดอาวุธทั้งหมดและสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข รวมถึงการถอนทหารอาร์มีเนียทั้งหมดที่อยู่ในภูมิภาค[18] การรุกดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตที่ทวีความรุนแรงขึ้นอันเกิดจากการที่อาเซอร์ไบจานปิดล้อมสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ซึ่งส่งผลให้ขาดแคลนสิ่งของจำเป็น เช่น อาหาร ยา และสินค้าอื่น ๆ อย่างมากในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ[19]
การรุกนากอร์โน-คาราบัคของอาเซอร์ไบจาน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค | |||||||||
สถานการณ์ทางการทหารในนากอร์โน-คาราบัคเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 พื้นที่ดินแดนอาร์มีเนียที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติซึ่งถูกยึดครองโดยอาเซอร์ไบจาน
พื้นที่ที่ยึดครองโดยอาเซอร์ไบจานระหว่างการรุก
| |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
อาเซอร์ไบจาน | นากอร์โน-คาราบัค | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
กองกำลังป้องกันอาร์ทซัค | |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ทหารเสียชีวิต 192 นาย[9] ทหารได้รับบาดเจ็บ 511 นาย[9] |
ทหารเสียชีวิตกว่า 200 นาย[10] ทหารได้รับบาดเจ็บกว่า 400 นาย[10] | ||||||||
พลเรือนชาวอาร์มีเนียเสียชีวิต 27 ราย และชาวอาเซอร์ไบจานเสียชีวิต 1 ราย เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพรัสเซีย 5 นายถูกสังหารโดยอาเซอร์ไบจาน[13][14] ชาวอาร์มีเนีย 100,617 คนหนีออกจากนากอร์โน-คาราบัค ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2566[15] |
หนึ่งวันหลังจากการรุกเริ่มขึ้นในวันที่ 20 กันยายน ข้อตกลงหยุดยิงซึ่งเรียกว่าข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการยอมจำนนของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคก็ได้บรรลุผลโดยการไกล่เกลี่ยของกองกำลังรักษาสันติภาพของรัสเซียซึ่งมีการตกลงร่วมกันว่ากองกำลังป้องกันอาร์ทซัคและกองกำลังติดอาวุธของนากอร์โน-คาราบัคจะถูกปลดอาวุธ[20][21][22][23] อย่างไรก็ตาม ทั้งชาวอาร์ตซัคและเจ้าหน้าที่รายงานว่าอาเซอร์ไบจานละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจนถึงต้นเดือนตุลาคม[24][25] ในวันที่ 28 กันยายน ซามเวล ชาห์รามันยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคลงนามในพกฤษฎีกายุบสถาบันของรัฐทั้งหมดภายในวันที่ 1 มกราคม 2024 ส่งผลให้การดำรงอยู่ของรัฐที่แยกตัวออกไปสิ้นสุดลง[26]
การรุกและการยอมจำนนในเวลาต่อมาส่งผลให้ชาวอาร์มีเนียเชื้อสายนากอร์โน-คาราบัคต้องหลบหนี ซึ่งประชากรของนากอร์โน-คาราบัคเกือบทั้งหมดหนีออกจากภูมิภาคนี้ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยหลัก ๆ คืออาร์มีเนีย[27][28][29] องค์กรสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ออกประกาศเตือนหลายครั้ง[b] ว่าประชากรอาร์มีเนียในภูมิภาคนี้ตกอยู่ในความเสี่ยงหรือตกเป็นเป้าของการล้างชาติพันธุ์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[38][39] รวมถึงอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ[40] หลุยส์ โมเรโน โอคัมโป อัยการสูงสุดของศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้จัดประเภทการล้างชาติพันธุ์ชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัคเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียครั้งที่สอง และมีความเห็นว่าการเพิกเฉยของประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนให้อาเซอร์ไบจานกระทำการโดยไม่ต้องรับโทษ[41][42]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Armenians Rage Against Last-Minute Peace Deal". Foreign Policy. November 10, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
- ↑ "General Assembly adopts resolution reaffirming territorial integrity of Azerbaijan, demanding withdrawal of all Armenian forces". United Nations. 14 March 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
- ↑ "Azerbaijan Says Aims For 'Peaceful Reintegration' Of Karabakh Armenians". Barron's. 20 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
The offensive was seen as a major victory for Azerbaijan, which won a 2020 war with Armenia and has since sought to repopulate Karabakh.
- ↑ "Armenian separatists in Karabakh surrender and agree to ceasefire with Azerbaijan". Reuters. 20 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
Under the agreement, confirmed by both sides and effective from 1 pm (0900 GMT) on Wednesday, separatist forces will disband and disarm and talks on the future of the region and the ethnic Armenians who live there will start on Thursday.
- ↑ Ebel, Francesca (28 September 2023). "Defeated by force, Nagorno-Karabakh government declares it will dissolve". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 28 September 2023.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHRW1
- ↑ "Azerbaijan's Aliyev calls snap election after Karabakh victory". Reuters. 2024-12-07. สืบค้นเมื่อ 2024-02-13.
- ↑ Mehman, Asif (20 September 2023). "More than 90 combat positions of Armenian armed forces units come under control of Azerbaijani Army". Trend News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ 9.0 9.1 "192 Azerbaijani servicemen martyred during the local anti-terrorist measures". Azeri Press Agency. สืบค้นเมื่อ 27 September 2023.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Արցախում առնվազն 200 զոհ կա, ավելի քան 400 վիրավոր. ՄԻՊ". azatutyun.am. 20 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "Ermənistan silahlı qüvvələrinin Şuşaya atəşi nəticəsində Şuşa Şəhəri Dövlət Qoruğunun mühənidisi həlak olub" (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Trend News Agency. 19 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ "Shelling-injured digger driver in Azerbaijan's Aghdam by separatists, details incident". Trend News Agency. 20 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ "Замглавы МИДа — РБК: точка в конфликте Еревана и Баку не поставлена" (ภาษารัสเซีย). RBK. 9 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2023. สืบค้นเมื่อ 18 October 2023.
К сожалению, шесть наших военнослужащих погибли при исполнении своего служебного долга.
- ↑ "Russian Troops Killed in 'Fog of War,' Azerbaijan Diplomat Says Amid Probe". Newsweek. 26 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2023. สืบค้นเมื่อ 26 September 2023.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อa617
- ↑ "Armenia, Azerbaijan: Baku Launches Military Operation In Nagorno-Karabakh". Stratfor. 2023-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
...the Russian peacekeeping contingent is incapable of preventing Azerbaijan's seizure of the region, despite this being a clear violation of the November 2020 ceasefire brokered by Russia that ended the last war.
- ↑ "Joint statement on Azerbaijan's attack on Nagorno-Karabakh". European Parliament. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-21.
We condemn in the strongest terms today's pre-planned and unjustified attack of Azerbaijan against Nagorno-Karabakh...We recall that the attack takes place in the context of a major humanitarian crisis in Nagorno-Karabakh, following Azerbaijan's blockade of the Lachin Corridor for the past nine months, in violation of Baku's commitments under the ceasefire statement of 9 November 2020 and of the legally binding orders of the International Court of Justice. Humanitarian access to Nagorno-Karabakh needs to be fully and permanently restored.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:8
- ↑ Roth, Andrew (19 September 2023). "Azerbaijan launches 'anti-terrorist' campaign in disputed Nagorno-Karabakh region". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ "Karabakh separatists to disband after surrender to Azerbaijan". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Genocide Alert: Artsakh surrenders to Azerbaijan". Genocide Watch (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Russia says Armenian separatists surrender arms after Azerbaijan reclaims Nagorno-Karabakh". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-22. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Russian-mediated ceasefire announced in Nagorno-Karabakh". Armenpress. 20 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "МВД Нагорного Карабаха обвинило Азербайджан в нарушении договора о прекращении огня". Meduza. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ "Aserbaidschan soll Waffenruhe gebrochen haben". Rheinische Post. 21 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ Ebel, Francesca (2023-09-28). "For three decades, Nagorno-Karabakh sought statehood. That quest is dead". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Guarantee Right to Return to Nagorno Karabakh". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Armenian Exodus From Nagorno-Karabakh Tops 100,000; UN Readies For Visit". Radio Free Europe/Radio Liberty (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "More than 80% of Nagorno-Karabakh's population flees as future uncertain for those who remain". Yahoo Finance (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 2023-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.
- ↑ "Azerbaijan's attack on Nagorno-Karabakh raises the risk of genocide against ethnic Armenians in the region". International Federation for Human Rights. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
'We have to prevent a mass expulsion of ethnic Armenians from Nagorno-Karabakh,' remarks Oleksandra Matviichuk, FIDH's Vice-President, 'and we fear that the worst is yet to come for civilians who are left at the mercy of the advancing hostile forces unless the international community intervenes.' The international community must intervene to prevent genocide.
- ↑ "Genocide Warning: Azerbaijan and Nagorno-Karabakh", Genocide Watch, 23 September 2022, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2023, สืบค้นเมื่อ 3 January 2023
- ↑ "Red Flag Alert for Genocide – Azerbaijan Update 4". Lemkin Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
- ↑ Chidiac, Gerry (2023-02-09). "World stands by in the face of the Second Armenian Genocide". Troy Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-02-13.
- ↑ Rhodes, January (2023-01-31). "Museum Statement: Artsakh Crisis". Illinois Holocaust Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ Gregorian, Alin K. (2022-12-20). "Difficult Road Ahead for Karabakh and Armenia". The Armenian Mirror-Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
- ↑ "Azerbaijani activists end Nagorno-Karabakh sit-in as Baku tightens grip on region". Politico. 2023-04-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
France's foreign minister has joined international observers in warning of the risk of 'ethnic cleansing' in the breakaway region.
- ↑ "Against Backdrop of Baku's Ongoing Blockade of Lachin Corridor, Menendez Blasts Commerce Plans to Permit Export of Lethal Weapons to Azerbaijan". www.foreign.senate.gov. 2 February 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.
Today, Armenians in Nagorno-Karabakh face an acute humanitarian crisis, threats of ethnic cleansing, and chronic shortages of water, energy, healthcare, and food.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0222
- ↑ "Live updates: Stepanakert under fire as Azerbaijan launches assault on Nagorno-Karabakh". OC Media. 2023-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-19.
Political analyst and peace activist Bahruz Samadov said the goal was the ethnic cleansing of the region's Armenian population. 'The ultimate goal is to de-Armenianize Nagorno-Karabakh. The constant ontological insecurity that Azerbaijan preserves in [Nagorno-Karabakh] is the policy that has a destination — to destroy Nagorno-Karabakh's agency. The same policy of blockage and bombardment already took place in the 1990s.'
- ↑ Deutsch, Anthony; van den Berg, Stephanie (29 September 2023). "Nagorno-Karabakh exodus amounts to a war crime, legal experts say". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2023. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
- ↑ Moreno Ocampo, Luis (22 September 2023). "Call what is happening in Nagorno-Karabakh by its proper name". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ Moreno Ocampo, Luis (December 2023). "Current genocides and the consistent international practice to deny them". Official website of Luis Moreno Ocampo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2023. สืบค้นเมื่อ 20 December 2023.