การปฏิบัติอิงหลักฐาน

การปฏิบัติอิงหลักฐาน[1] (อังกฤษ: Evidence-based practice, ตัวย่อ EBP) เป็นวิธีปฏิบัติทางคลินิกหลายสาขา ที่เพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยเริ่มในสาขาแพทยศาสตร์ที่เรียกว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) แล้วขยายไปในสาขาอื่น ๆ รวมทั้งทันตแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ จิตวิทยา การศึกษา บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หลักพื้นฐานของวิธีปฏิบัติก็คือ การตัดสินใจทางการปฏิบัติทั้งหมดควรจะ

  1. อาศัยผลงานวิจัย
  2. งานวิจัยเหล่านั้นควรจะมีการคัดเลือกและตีความ ตามมาตรฐานของ EBP

โดยปกติแล้ว มาตรฐานที่ว่าจะไม่สนใจผลงานเชิงทฤษฎีหรือผลงานเชิงคุณภาพ (qualitative) และจะพิจารณาผลงานเชิงปริมาณ (quantitative) โดยกรองผ่านกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดว่า อะไรชื่อว่า หลักฐาน และถ้าไม่ใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเช่นนี้ ก็จะเรียกการปฏิบัติตามผลงานเช่นนั้นว่า "การปฏิบัติอาศัยการวิจัย" (research based practice)[2]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. * "Evidence based medicine". สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015. "เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน[ลิงก์เสีย]
    • "practice", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑, ๑. การปฏิบัติ ๒. วิธีปฏิบัติ
  2. Hjørland, Birger (2011). "Evidence based practice: An analysis based on the philosophy of science". Journal of the American Society for Information Science and Technology. 62 (7): 1301–10. doi:10.1002/asi.21523.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้