การจัดการโครงการ

(เปลี่ยนทางจาก การบริหารโครงการ)

การจัดการโครงการ (หรืออาจใช้ว่า การบริหารโครงการ, การบริหารจัดการโครงการ)(อังกฤษ: Project management) เป็นหลักการความรู้ในการวางแผน จัดระเบียบ รับประกัน จัดการ ชี้นำ และควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าประสงค์ [1] การจัดการโครงการเป็นการวางแผนและการจัดการทรัพยากรต่างๆ ทั้งทรัพยากรด้านบุคคลและรายละเอียดของกิจกรรมต่างภายในโครงการ โดยคาดคะเนทิศทางและระยะเวลาของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งถึงโครงการสำเร็จ รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ เพื่อจะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้ การจัดการโครงการมีหัวใจสำคัญคือการจัดการความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา ราคา และคุณภาพ ในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามต้องการ

สามเหลี่ยมแห่งการจัดการโครงการ

ในแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการระบุวันเริ่มและวันสิ้นสุดงาน[2] ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากการทำงานธุรกิจทั่วไป[3]ที่มีลักษณะงานที่มีรูปแบบการทำงานแน่นอน และมีการทำงานซ้ำเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตามต้องการ การจัดการงานต่างๆ และความรู้ทางเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ ในการจัดการโครงการ และ การจัดการทางธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกัน

ความท้าทายของการจัดการโครงการคือการเข้าถึงเป้าหมายได้ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้[4] ขณะที่ยังคงจัดการข้อจำกัดและทรัพยากรที่มี[5] ข้อจำกัดทั่วไปในการจัดการโครงการได้แก่ ขอบเขตงาน เวลา เงินทุน และข้อจำกัดต่อมาคือ การจัดสรรทรัพยากร การประยุกต์และนำทรัพยากรที่มีทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ตามเป้าหมาย

ประวัติ แก้

 
ทหารโรมันก่อสร้างป้อมปราการ

การจัดการโครงการได้ถูกพัฒนาจากหลากหลายสาขารวมถึง การก่อสร้าง วิศวกรรม และการทหาร[6] บิดาแห่งวงการจัดการโครงการได้แก่ เฮนรี แกนต์ (Henry Gantt) [7] ซึ่งเป็นผู้ใช้แกนต์ชาร์ต(หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Harmonogram ซึ่งถูกเสนอเป็นครั้งแรกโดย Karol Adamiecki[8])เป็นเครื่องมือในการจัดการโครงการ และคนที่สองคือ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ผู้บุกเบิกในด้านการจัดการโครงการด้วยการคิดค้น 5 หลักการทำงานด้านการจัดการ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของความรู้ในการจัดการโครงการ[9] ทั้ง แกนต์และฟาโยลเป็นลูกศิษย์ของเฟเดอริก วินส์โล เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี การจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งงานของเขาเป็นการบุกเบิกเครื่องมือในการจัดการโครงการสมัยใหม่ รวมถึง การทำโครงสร้างรายละเอียดของงานต่างๆในโครงสร้าง (work breakedown structure; WBS) และการเคลื่อนย้ายทรัพยากร (resource allocation)

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการเริ่มต้นของยุคของการจัดการโครงการสมัยใหม่ที่วิศวกรรมหลากหลายสาขาในโครงการได้มาทำงานเป็นทีมเดียวกัน หลังจากนั้นการจัดการโครงการกลายเป็นหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักการในการจัดการทางวิศวกรรม[10] ก่อนปีค.ศ. 1950 ในประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการโครงการส่วนใหญ่ใช้แกนต์ชาร์ต, เทคนิคและเครื่องมือเฉพาะตัวต่างๆมากมาย ในช่วงเวลาขณะนั้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับวางแผนระยะเวลาต่างๆในโครงการ 2 แบบจำลอง ได้ถูกพัฒนาขึ้น อย่างแรกคือ Critical Path Model (CPM) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท DuPont Corporation และบริษัท Remington Rand Corporation เพื่อใช้สำหรับการจัดการในเรื่องของการบำรุงรักษาโรงงานอุตสาหกรรม แบบจำลองอีกแบบหนึ่งคือ Program Evaluation and Review Technique (PERT) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Booz Allen Hamilton ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาจรวดนำวิถี Polaris สำหรับเรือดำน้ำ[11] ซึ่งในเวลาต่อมาแบบจำลองทั้งสองได้ถูกนำไปใช้ในบริษัทต่างๆ อย่างรวดเร็ว

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเทคโนโลยีในการประเมินราคาของโครงการ, การจัดการต้นทุนและเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย Hans Lang และบุคคลอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1956 American Association of Cost Engineers (ปัจจุบันคือ AACE International; Association for the Advancement of Cost Engineering) ได้ถูกตั้งขึ้นและดำเนินงานเรื่อยมาจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2006 ได้เผยแพร่ Total Cost Management ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติแบบครบวงจรในการจัดการโครงการ

ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า International Project Management Association (IPMA) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในทวีปยุโรป [12] โดยสมาคมสำหรับการจัดการโครงการต่างๆ เพื่อเป็นองค์กรกลางในการวางโครงสร้างและดูแลโครงสร้างสำหรับการจัดการโครงการ IPMA ได้มีการออกใบประกาศนียบัตร 4 ระดับ โดยยึดจาก IPMA Competence Baseline (ICB).[13]

ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า Project Management Institute (PMI) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา [14] และได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK) ซึ่งได้อธิบายแนวทางการปฏิบัติในการจัดการโครงการซึ่งโดยพื้นฐานคือ "most projects, most of the time." PMI ได้แบ่งใบประกาศนียบัตรออกเป็นหลายระดับ

วิธีการในการจัดการโครงการ แก้

ขั้นตอนและกระบวนการจัดการโครงการ แก้

  1. การกำหนดโครงการ
  2. การจัดเตรียมโครงการ
  3. การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ
  4. การนำโครงการไปปฏิบัติ
  5. การประเมินผลโครงการ

อ้างอิง แก้

  1. Chatfield, Carl. "A short course in project management". Microsoft
  2. * The Definitive Guide to Project Management. Nokes, Sebastian. 2nd Ed.n. London (Financial Times / Prentice Hall): 2007. ISBN 978-0-273-71097-4
  3. Paul C. Dinsmore et al (2005) The right projects done right! John Wiley and Sons, 2005. ISBN 0-7879-7113-8. p.35 and further.
  4. Lewis R. Ireland (2006) Project Management. McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-147160-X. p.110.
  5. Joseph Phillips (2003). PMP Project Management Professional Study Guide. McGraw-Hill Professional, 2003. ISBN 0-07-223062-2 p.354.
  6. David I. Cleland, Roland Gareis (2006). Global project management handbook. "Chapter 1: "The evolution of project management". McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-146045-4
  7. Martin Stevens (2002). Project Management Pathways. Association for Project Management. APM Publishing Limited, 2002 ISBN 1-903494-01-X p.xxii
  8. Edward R. Marsh (1975). "The Harmonogram of Karol Adamiecki". In: The Acadamy of Management Journal. Vol. 18, No. 2(Jun., 1975), p. 358. (online)
  9. Morgen Witzel (2003). Fifty key figures in management‎. Routledge, 2003. ISBN 0-415-36977-0. p. 96-101.
  10. David I. Cleland, Roland Gareis (2006). Global Project Management Handbook. McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-146045-4. p.1-4 states: "It was in the 1950s when project management was formally recognized as a distinct contribution arising from the management discipline."
  11. Booz Allen Hamilton – History of Booz Allen 1950s
  12. Bjarne Kousholt (2007). Project Management –. Theory and practice. Nyt Teknisk Forlag. ISBN 87-571-2603-8. p.59.
  13. ipma.ch
  14. F. L. Harrison, Dennis Lock (2004). Advanced project management: a structured approach. Gower Publishing, Ltd., 2004. ISBN 0-566-07822-8. p.34.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้