การวางแผน
การวางแผนเป็นกระบวนการคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นกระบวนการที่อาศัยการสร้างและรักษาแผนการ เป็นการเตรียมขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย และเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดต่อการจัดการโครงการและเวลา ดังนั้น คนวางแผนดีจะสามารถลดเวลาและพลังงานในการบรรลุเป้าหมาย ในจิตวิทยา การวางแผนถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมอัจฉริยะ เป็นกระบวนการที่อาศัยทักษะเชิงมโนทัศน์ (ทักษะในการเข้าใจและการใช้มโนทัศน์หรือแนวคิด) โดยความสามารถในการวางแผนดีสามารถประเมินได้โดยแบบทดสอบต่าง ๆ
การวางแผนมีกระบวนการเฉพาะและเป็นกระบวนการที่จำเป็นในหลายอาชีพ โดยเฉพาะในอาชีพการจัดการและธุรกิจ โดยแต่ละอาชีพจะใช้แผนการต่างชนิดเพื่อให้บริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น
คุณสมบัติสำคัญหนึ่งของการวางแผน ที่มักถูกมองข้าม คือความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและการพยากรณ์ (forecasting) การพยากรณ์คือการทำนายว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่การวางแผนคือการทำนายว่าอนาคตควรเป็นอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ การพยากรณ์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน แต่การวางแผนจะอาศัยการเตรียมพร้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ และอาศัยการกำหนดว่าจะตอบรับกับสถานการณ์เหล่านั้นอย่างไร
กระบวนการของการวางแผน
แก้แพทริก มอนแทนากับบรูส ชาร์นอฟแบ่งกระบวนการของการวางแผนเป็น 3 ขั้น ได้แก่[1]
- เลือกเป้าหมาย
- ประเมินวิธีต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย
- ตัดสินว่าแนวทางปฏิบัติในแผนการควรเป็นอย่างไร
การวางแผนในองค์การต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการของการจัดการ ซึ่งกำหนดเป้าหมายเพื่อชี้ทางในอนาคตและกำหนดภาระหน้าที่และทรัพยากรที่ต้องใช้ต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ในการบรรลุเป้าหมายนี้ ผู้จัดการอาจพัฒนาแผนการ เช่น แผนธุรกิจ หรือแผนการตลาด เพื่อนำมาใช้
การวางแผนย่อมมีวัตถุประสงค์ ซึ่งอาศัยการบรรลุเป้าหมาย
คุณสมบัติหลักของการวางแผนในองค์การได้แก่
- เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ
- ลดความเสี่ยง
- ใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อ้างอิง
แก้- ↑ Barron's Management book fourth edition, Authors: Patrick J. Montana and Bruce H. Charnov