การตีโฉบฉวยเดียป

การตีโฉบฉวยเดียป เป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการที่เดียป, ปฏิบัติการรุทเทอร์ (Operation Rutter) ระหว่างขั้นตอนการวางแผนและโดยชื่อรหัสนามสุดท้ายอย่างเป็นทางการคือ ปฏิบัติการจูบีลี (Operation Jubilee) เป็นการจู่โจมของฝ่ายสัมพันธมิตรบนเขตภายใต้การยึดครองของเยอรมนีคือท่าเรือเดียป (Dieppe) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การโจมตีเพื่อยึดสถานที่นี้ตั้งอยู่บนทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1942 การจู่โจมได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลาตีห้า (5:00 A.M) จนถึงเวลาสิบโมงห้าสิบนาที (10:50 A.M) ผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรได้บังคับสั่งการให้ล่าถอย,กองกำลังทหารราบทั้งหมด 6,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นชาวแคนาดา ได้รับการสนันสนุนจากกรมทหารแคลกะรี (The Calgary Regiment) แห่งกองทัพน้อยรถถังแคนาดาที่ 1 (1st Canadian Tank Brigade) และกองกำลังทหารจากราชนาวีและกองทัพอากาศขนาดเล็กได้ทำการลงจอดแก่ทหาร รวมทั้งยังมีทหารแคนาดา 5,000 นาย, ทหารอังกฤษ 1,000 นาย และหน่วยเรนเจอร์แห่งกองทัพสหรัฐ 50 นาย

การตีโฉบฉวยเดียป
ส่วนหนึ่งของ การทัพยุโรปเหนือและตะวันตก ของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ชายหาดหินเชิร์ตของเดียปและหน้าผาที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันในช่วงภายหลังการจู่โจม เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1942 รถลาดตระเวนดินโกที่ถูกละทิ้ง
วันที่19 สิงหาคม 1942
สถานที่
เดียป, ฝรั่งเศส
ผล เยอรมนีได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 แคนาดา
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
 ฝรั่งเศสเสรี
โปแลนด์ Poland[a]
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน
แคนาดา J. H. Roberts
สหราชอาณาจักร Trafford Leigh-Mallory
แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์
Konrad Haase
กำลัง

Infantry

แคนาดา 2nd Canadian Infantry Division

สหราชอาณาจักร No. 3 Commando
No. 4 Commando*
No. 10 (Inter-Allied) Commando (part)
สหรัฐ 50 U.S. Army Rangers, attached to No. 4 Commando
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี 15 commandos attached to No. 10 Commando.

Royal Navy
237 ships and landing barges including eight destroyers
30 RN Commando
40 Commando RM

Royal Air Force
74 Squadrons

~10,500 men
302nd Static Infantry Division
~1,500 men
Does not include Luftwaffe and Kriegsmarine
ความสูญเสีย
Ground forces
Canada:
907 killed,
586 wounded,
1,946 captured[3]
United Kingdom:
275 commandos
Royal Navy
1 destroyer
33 landing craft
550 dead and wounded
Royal Air Force
64 Supermarine Spitfire fighters
20 Hawker Hurricane fighters
6 Douglas Boston bombers
10 North American Mustang Mk 1 fighters
62 killed, 30 wounded, 17 captured
Ground forces
Germany:
311 killed,
280 wounded
Luftwaffe
23 Fw 190
25 Dornier Do 217
Kriegsmarine
1 submarine chaser UJ-1404 sunk
การตีโฉบฉวยเดียปตั้งอยู่ในฝรั่งเศส
การตีโฉบฉวยเดียป
ที่ตั้งในฝรั่งเศส

วัตถุประสงค์ได้รวมถึงการเข้ายึดและการครอบครองท่าเรือสำคัญในเวลาสั้นๆ เพื่อพิสูจน์ว่าความเป็นไปได้และรวบรวมข้อมูลข่าวสาร เมื่อล่าถอย ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะทำลายการป้องกันชายฝั่ง โครงสร้างท่าเรือและอาคารทางยุทธศาสตร์ทั้งหมด การโจมตีนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสหราชอาณาจักรในการเปิดแนวรบด้านตะวันตกในยุโรป

วัตถุประสงค์เหล่านี้แทบจะไม่บรรลุผล การยิงสนับสนุนของฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนที่ไม่เพียงพอและกองกำลังจู่โจมต้องติดกับบนชายหาดโดยอุปสรรคและการยิงของเยอรมนี น้อยกว่า 10 ชั่วโมงภายหลังการลงจอดครั้งแรก กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรหน่วยสุดท้ายทั้งหมดได้ถูกสังหาร, อพยพ หรือถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังเพื่อให้ถูกจับกุมโดยเยอรมนี แทนที่จะแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหา ความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าของเลือดได้แสดงให้โลกเห็นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรไม่มีความหวังในการรุกรานฝรั่งเศสเป็นเวลานาน ด้วยประสบความสำเร็จด้านข่าวสารกรองบางอย่างได้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งข่าวกรองอิเล็กทรอนิกส์

จากจำนวน 6,086 นายที่ได้ยกพลขึนบก จำนวน 3,623 นาย (เกือบ 60%) แต่ละคนถูกฆ่าตาย บาดเจ็บ หรือถูกจับกุม[4] กองทัพอากาศหลวง (RAF) ได้ล้มเหลวที่จะหลอกล่อให้กองทัพอากาศเยอรมันลุฟท์วัฟเฟอเข้าสู่สนามรบและสูญเสียเครื่องบินรบ 106 ลำ (อย่างน้อย 32 ลำจากการยิงต่อต้านอากาศยานหรืออุบัติเหตุ) เทียบกับความสูญเสีย 48 ลำโดยลุฟท์วัฟเฟอ[5] กองทัพราชนาวีได้เสียเรือยกพลขึ้นบก (landing craft) 33 ลำและเรือพิฆาต 1 ลำ เหตุการณ์ที่เดียปได้มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับแอฟริกาเหนือ (ปฏิบัติการคบเพลิง) และการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด)

หมายเหตุ

แก้
  1. Only air and naval forces. The Polish forces included the No. 302, 303, 306, 308 and No. 317 Fighter Squadrons of the Polish Air Forces fighting alongside the RAF,[1] as well as the ORP Ślązak destroyer[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Król 1990, pp. 95–96, 250.
  2. Ford 2010, p. 41.
  3. Herd, Alex. "Dieppe Raide.'Canadian Encyclopedia. Retrieved: 23 March 2016.
  4. John D Timmins, Anonymous Heroes, p. 17.
  5. Franks 1998, pp. 56–62.