การกำหนดช่วงเวลาของอียิปต์โบราณ

การกำหนดช่วงเวลาของอียิปต์โบราณ เป็นการใช้การกำหนดเวลาเพื่อจัดระเบียบช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของอียิปต์โบราณ[1] ระบบช่วงเวลาแบบสามสิบราชวงศ์ที่บันทึกโดยแมนิโธ ซึ่งเป็นนักบวชชาวอียิปต์ที่พูดภาษากรีกในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน[2] อย่างไรก็ตาม ระบบของ "ช่วงเวลา" และ "ราชอาณาจักร" ที่ใช้ในการจัดกลุ่มราชวงศ์นั้นเพิ่งเริ่มใช้ขึ้น (คริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20)[3] ระบบใหม่ดังกล่าวประกอบด้วย "ยุคทอง" จำนวนสามยุค (ประกอบด้วยราชอาณาจักรเก่า, ราชอาณาจักรกลาง และราชอาณาจักรใหม่) สลับระหว่าง "ช่วงระหว่างกลาง" (ซึ่งมักจะเรียกกันว่าช่วงวิกฤตหรือยุคมืด) และช่วงต้นและช่วงปลายแห่งอียิปต์โบราณ[3]

รูปสลักขนาดมหึมาสามรูป ด้านซ้าย: ฟาโรห์คาฟเรทรงขึ้นครองราชย์จากสมัยราชอาณาจักรเก่า ตรงกลาง: รูปสลักของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 จากสมัยราชอาณาจักรกลาง ด้านขวา: รูปสลักของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 จากสมัยราชอาณาจักรใหม่

สมัยราชอาณาจักรเก่า กลาง ใหม่ แก้

บุนเซิน แก้

ในปี ค.ศ. 1844 –1857 งานเขียน Ägyptens Stelle in der Weltgeschichte ของคริสทีอัน ชาลส์ โยซีอัส ฟ็อน บุนเซิน ซึ่งกลายเป็นนักไอยคุปต์วิทยาคนแรกที่เสนอสิ่งที่จะกลายเป็นการแบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์[3]

บุนเซินได้อธิบายในงานเขียนปี ค.ศ. 1844 ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่าการแบ่งช่วงเวลาออกเป็นสามช่วงนั้นมาได้อย่างไร ดังนี้[4]

ในปี ค.ศ. 1834 ฉันได้ค้นพบกุญแจสำคัญในรายการของเอราทอสเทเนสในการตีความใหม่เกี่ยวกับสิบสองราชวงศ์แรกของแมนิโธ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถแก้ไขความยาวของจักรวรรดิเก่าได้ ประเด็นทั้งสองนี้ได้รับการตัดสินแล้ว เห็นได้ชัดว่าขั้นตอนต่อไป คือ การเติมเต็มช่องว่างระหว่างจักรวรรดิเก่าและใหม่ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าสมัยฮิกซอส ... ฉันเชื่อมั่นอย่างเต็มที่นับตั้งแต่การตีความครั้งแรก (ในปี ค.ศ.1834) ของทั้งสามจักรวรรดิอียิปต์ โดยจักรวรรดิกลางในรวมช่วงเวลาแห่งการปกครองของชาวฮิกซอส ส่วนราชวงศ์ที่สิบสองของแมนิโธนั้นเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจักรวรรดิเก่า และเป็นพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ที่ปกครองจากเมืองเมมฟิส ตามการเชื่อมโยงซึ่งการตีความใหม่นั้นทำให้ฉันสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแมนิโธ และเอราทอสเทเนส โดยผู้ปกครองพระองค์ที่สี่จากราชวงศ์ที่สิบสามส่งต่อไปยังกษัตริย์ผู้ทรงเลี้ยงแกะ (กษัตริย์ฮิกซอส)

เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดกลุ่มสมัยใหม่ จักรวรรดิเก่าของบุนเซินได้รวมเอาสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์เข้าไปด้วย ในขณะที่จักรวรรดิกลางของบุนเซ็นในปัจจุบันเรียกว่าสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์[3]

เล็พซิอุส แก้

คาร์ล ริชาร์ด เล็พซิอุส ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของบุนเซิน ได้ใช้เป็นระบบสองช่วงเวลาเป็นหลักในงานเขียน Denkmäler aus Ägypten und Äthiopien ในปี ค.ศ. 1849–1858[5]

  • Altes Reich ("จักรวรรดิเก่า") = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบหก
  • Neues Reich ("จักรวรรดิใหม่") = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบเจ็ดจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

นักวิชาการอื่นๆ แก้

งานเขียน Aperçu de l'histoire ancienne d'Égypte ของโอกุสต์ มาเรียตต์ในปี ค.ศ. 1867[5]

  • ราชอาณาจักรเก่า = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบ
  • ราชอาณาจักรกลาง = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบเอ็ดจนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด
  • ราชอาณาจักรใหม่ = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบแปดจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบ

งานเขียน Ägyptische Geschichte ของอัลเฟรท ไวเดอมันน์[5]

  • ก่อนประวัติศาสตร์ = ตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
  • ราชอาณาจักรกลาง = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบสองจนถึงราชวงศ์ที่สิบเก้า
  • ราชอาณาจักรใหม่ = ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

งานเขียน Le Livre des Rois d'Egypte ของอ็องรี เกาธิเออร์ในปี ค.ศ. 1907–1917[5]

  • Ancien Empire ("จักรวรรดิโบราณ") = ราชวงศ์ที่หนึ่ง – สิบ
  • Moyen Empire ("จักรวรรดิกลาง")= ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด – สิบเจ็ด
  • Nouvel Empire ("จักรวรรดิใหม่") = ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด – ยี่สิบห้า
  • Époque saïto-persane ("ยุคไซโต-เปอร์เซีย") = ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก – สามสิบเอ็ด
  • Époque macédo-grecque ("ยุคมาซิโดเนีย–กรีก") = ราชวงศ์ที่สามสิบสอง (มาซิโดเนีย) และสามสิบสาม (ปโตเลมี)

สมัยระหว่างกลาง แก้

สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง แก้

การศึกษาไอยคุปต์วิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่ได้ใช้แนวคิดของ "สมัยระหว่างกลาง" ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาก่อนหน้า "ในช่วงเวลาระหว่างหรือช่วงเปลี่ยนผ่าน"[6]

ในปี ค.ศ. 1926 หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง งานเขียน Die Blütezeit des Pharaonenreiches ของจอร์จ สไตน์ดอร์ฟ และงานเขียน Egypt and Syria in the First Intermediate Period ของเฮนรี แฟรงฟอร์ท ได้กำหนดให้ราชวงศ์ที่หกจนถึงราชวงศ์ที่สิบสองในอยู่นิยามของคำว่า "สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง" โดยคำดังกล่าวได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940[6]

สมัยระหว่างกลางที่สอง แก้

ในปี ค.ศ. 1942 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง งานเขียน Studien zur Geschichte und Archäologie der 13. bis 17. Dynastie ของฮานส์ สตอก์ค ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมัน ได้ส่งเสริมให้มีการใช้คำว่า "สมัยระหว่างกลางที่สอง"[6]

สมัยระหว่างกลางที่สาม แก้

ในปี ค.ศ. 1978 หนังสือของเค็นเน็ธ คิตเชน ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC) ได้มีการบัญญัติคำว่า "สมัยระหว่างกลางที่สาม"[6]

การกำหนดช่วงเวลาสมัยใหม่ แก้

Late Period of ancient EgyptThird Intermediate Period of EgyptNew Kingdom of EgyptSecond Intermediate Period of EgyptMiddle Kingdom of EgyptFirst Intermediate Period of EgyptOld Kingdom of EgyptEarly Dynastic Period (Egypt)

อ้างอิง แก้

  1. Schneider 2008, p. 181.
  2. Clayton (1994) p. 6
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Schneider 2008, p. 182.
  4. Egypt's place in universal history: an historical investigation in five books, pages xiii and 42
  5. 5.0 5.1 5.2 Schneider 2008, p. 183.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Schneider 2008, p. 183-185.

บรรณานุกรม แก้

  • Schneider, Thomas (27 August 2008). "Periodizing Egyptian History: Manetho, Convention, and Beyond". ใน Klaus-Peter Adam (บ.ก.). Historiographie in der Antike. Walter de Gruyter. pp. 181–197. ISBN 978-3-11-020672-2.
  • Clayton, Peter A. (1994). Chronicle of the Pharaohs. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05074-3.