กะทกรก
กะทกรก | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Passifloraceae |
สกุล: | Passiflora |
สกุลย่อย: | Passiflora |
สปีชีส์: | P. foetida |
ชื่อทวินาม | |
Passiflora foetida L. |
กะทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida ,อังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower) ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น รก, กระโปรงทอง (ใต้), ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), หญ้ารกช้าง (พังงา), ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เป็นต้น[1] เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5–6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
การใช้ประโยชน์
แก้ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใส่ในแกงเลียง เมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดรับประทานได้[2]
ต้นสดมีสารพิษทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้[3] แต่ต้มสุกแล้วใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง ใช้ตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว แก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ทำให้แผลเปื่อยแห้ง ใบใช้ตำพอกแผลเพื่อฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง หิด ไข้หวัด ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ[4]
ดอกใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ผลดิบมีรสเบื่อ ผลสุกหวาน ใช้แก้ปวด บำรุงปอด รากใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้กามโรค แก้เบาหวาน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "กะทกรก". สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2021.
- ↑ อรทัย เนียมสุวรรณ; นฤมล เล้งนนท์; กรกนก ยิ่งเจริญ; พัชรินทร์ สิงห์ดำ (2012). "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981–991. eISSN 2586-9531.
- ↑ เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล (2009). ร้อยพรรณพฤกษา : ไม้มีพิษ. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์. ISBN 9789748354842.
- ↑ "กระทกรก..สมุนไพรใกล้ตัว..ไม่ควรทานผลอ่อน เพราะมีพิษสารไซยาโนจีนิก". 108kaset.com. 1 มีนาคม 2019.
- ↑ มัณฑนา นวลเจริญ (2009). พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. p. 9. ISBN 9786161200305.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Rosa, Yara Brito Chain Jardim; Dornelas, Marcelo Carnier (9 August 2011). "In vitro plant regeneration and de novo differentiation of secretory trichomes in Passiflora foetida L. (Passifloraceae)". Plant Cell, Tissue and Organ Culture. 108 (1): 91–99. doi:10.1007/s11240-011-0016-6. S2CID 17653122.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้