กองทัพบกโซเวียต

กองทัพบกโซเวียต (รัสเซีย: Cоветские сухопутные войска, อักษรโรมัน: Sovetskiye sukhoputnye voyska, SSV)[3] เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารบนภาคพื้นดินเป็นหลักของกองทัพโซเวียตที่ดำรงอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 จนกระทั่งเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 กองทัพบกโซเวียตไม่ได้ถูกยุบอย่างเป็นความลับแต่อย่างใดจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1993 ในการสนับสนุนต่อการก่อตั้งกองทัพบกแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย

กองทัพบกโซเวียต
Russian: Советская Армия
Ukrainian: Радянська Армія[1]
Communist star with golden border and red rims.svg
สัญลักษณ์ของกองทัพบกโซเวียต
ประจำการ25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946
ปลดประจำการ25 ธันวาคม 1991
ประเทศ สหภาพโซเวียต
ขึ้นต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
รูปแบบกองทัพบก
บทบาทสงครามทางภาคพื้นดิน
กำลังรบประจำการ 3,668,075 นาย (1991)
สำรอง 4,129,506 นาย (ค.ศ. 1991)
สมญา"กองทัพแดง"
สีหน่วยแดงและเหลือง
ยุทธภัณฑ์รถถัง 55,000 คัน [2]
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 70,000 คัน [2]
ยานต่อสู้ทหารราบ 24,000 คัน
ปืนใหญ่ลากจูง 33,000 กระบอก
ปืนใหญ่เฮาวิตเซอร์อัตตาจร 9,000 คัน
ปืนต่อต้านอากาศยาน 12,000 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ 4,300 ลำ
ปฏิบัติการสำคัญ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกรัสเซียดูที่รายชื่อ
ผบ. สำคัญเกออร์กี จูคอฟ

จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า กองทัพแดง ถูกจัดตั้งขึ้นในคำสั่งบัญชาการ เมื่อวันที่ 15(28) มกราคม ค.ศ. 1918 "เพื่อปกป้องประชากร ความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน และเสรีภาพพลเมืองในดินแดนของรัฐโซเวียต" หน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ และกองทัพอากาศ(อันดับที่หนึ่ง สาม และสี่ในกองทัพโซเวียต ส่วนกองทัพบกยึดติดอยู่ในอันดับที่สอง) เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกโซเวียตในนอกเหนือไปจากกองกำลังภาคพื้นดิน

อ้างอิงแก้ไข

  1. "Открытка Слава Советской Армии! Слава Радянській Армії!". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020. The Ukrainian language was officially used in Soviet Army postcards produced in Kiev, Ukrainian SSR, 1987.
  2. 2.0 2.1 Russian Land Combat Equipment. globalsecurity.org
  3. Thomas, Nigel (2013-01-20). World War II Soviet Armed Forces (3): 1944–45 (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-84908-635-6.