ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 หรือเรียกรัฐประหารเดือนสิงหาคม (รัสเซีย: Августовский путч, อักษรโรมัน: Avgustovsky putch) เป็นความพยายามรัฐประหารโดยสมาชิกรัฐบาลของสหภาพโซเวียตกลุ่มหนึ่งเพื่อควบคุมประเทศจากประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟของสหภาพโซเวียต ผู้นำรัฐประหารเป็นสมาชิกที่ยึดมั่นของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตซึ่งคัดค้านโครงการปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และสนธิสัญญาสหภาพใหม่ที่เขาเจรจาซึ่งกระจายอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณรัฐต่าง ๆ รัฐประหารถูกคัดค้าน ส่วนใหญ่ในกรุงมอสโก โดยการรณรงค์การขัดขืนของพลเมืองที่สั้นแต่สัมฤทธิ์ผล[6] แม้รัฐประหารล้มในเวลาเพียงสองวันและกอร์บาชอฟคืนสู่รัฐบาล แต่เหตุการณ์นี้ทำลายเสถียรภาพของสหภาพโซเวียตและถูกพิจารณาอย่างกว้างขวางว่า ช่วยเสริมทั้งการสิ้นสุดของพรรคคอมมิวนสิต์สหภาพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต | |||||||
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
| |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
คณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ
สาธารณรัฐที่สนับสนุน: |
สาธารณรัฐที่สนับสนุน[1]: นักชาตินิยม การสนับสนุนนอกประเทศ: บริเตนใหญ่ สหรัฐ แคนาดา อิตาลี เยอรมนี กรีซ ฝรั่งเศส EEC | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เกนนาดี ยานาเยฟ ดมีตรี ยาซอฟ | บอริส เยลต์ซิน | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ฆ่าตัวตาย 3 คน | พลเรือน 3 คนเสียชีวิตในวันที่ 21 สิงหาคม |
เบื้องหลัง
แก้นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1985 กอร์บาชอฟได้เริ่มดำเนินโครงการปฏิรูปที่มีความทะเยอทะยานซึ่งรวมอยู่ในแนวคิดสองประการของเปเรสตรอยคาและกลัสนอสต์ หรือการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ/การเมืองและการเปิดกว้าง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการต่อต้านและความสงสัยในส่วนของ Nomenklatura ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคสายแข็ง การปฏิรูปยังปลดปล่อยกองกำลังและการเคลื่อนไหวที่กอร์บาชอฟไม่คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปั่นป่วนของกลุ่มชาตินิยมในส่วนของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียของสหภาพโซเวียตที่เพิ่มขึ้น และมีความกลัวว่าสาธารณรัฐสหภาพบางส่วนหรือทั้งหมดอาจแยกตัวออกจากกัน ใน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตประสบวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง การขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่น ๆ เป็นที่แพร่หลาย,[7] ผู้คนต้องต่อแถวยาวเพื่อซื้อของที่จำเป็น[8] สต็อกเชื้อเพลิงต่ำกว่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ที่จำเป็นสำหรับฤดูหนาวที่ใกล้จะมาถึง และอัตราเงินเฟ้อก็เกิน 300 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยโรงงานต่าง ๆ ขาดเงินสดที่จำเป็นในการจ่ายเงินเดือน[9] ใน ค.ศ. 1990 เอสโตเนีย[10] ลัตเวีย[11] ลิทัวเนีย[12] และอาร์มีเนีย[13] ได้ประกาศการฟื้นฟูเอกราชจากสหภาพโซเวียต ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1991 มีความพยายามในการนำลิทัวเนียคืนสู่สหภาพโซเวียตโดยใช้กำลังเกิดขึ้น ประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ความพยายามที่คล้ายคลึงกันนี้ได้รับการออกแบบโดยกองกำลังสนับสนุนโซเวียตในท้องถิ่นเพื่อโค่นล้มทางการลัตเวีย และยังมีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ติดอาวุธอย่างต่อเนื่องในนากอร์โน-คาราบัคและเซาท์ออสซีเชีย
รัสเซียประกาศอำนาจอธิปไตยในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1990 และหลังจากนั้นก็จำกัดการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ควบคุมการเงินและเศรษฐกิจในดินแดนของรัสเซีย สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียใช้กฎหมายที่ขัดแย้งกับกฎหมายของสหภาพโซเวียต (ที่เรียกว่าสงครามกฎหมาย)
ในการลงประชามติทั่วทั้งสหภาพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งรัฐบอลติก อาร์เมเนีย จอร์เจีย และมอลเดเวีย คว่ำบาตรการลงประชามติ ประชากรส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐอื่น ๆ แสดงความประสงค์ที่จะรักษาสหภาพโซเวียตที่ได้รับการต่ออายุใหม่ โดยมีคะแนนเสียงเห็นด้วย 77.85 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการเจรจา สาธารณรัฐ 8 ใน 9 แห่ง (ยกเว้นยูเครน) ได้อนุมัติสนธิสัญญาสหภาพใหม่โดยมีเงื่อนไขบางประการ สนธิสัญญากำหนดให้สหภาพโซเวียตเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอิสระที่เรียกว่าสหภาพสาธารณรัฐอธิปไตยโซเวียต โดยมีประธานาธิบดี นโยบายต่างประเทศ และการทหารร่วมกัน โดยรัสเซีย คาซัคสถาน และอุซเบกิสถานจะลงนามในสนธิสัญญาที่กรุงมอสโก โดยกำหนดการลงนามคือวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991[14][15]
ลำดับเหตุการณ์
แก้สมาชิกคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ (GKChP) จำนวนแปดคน (ต่อมาเรียก "แก๊งแปด") ประชุมกันประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเกนเนดี ยานาเยฟ รองประธานาธิบดีโซเวียต เป็นหัวหน้า เขาผ่านกฤษฎีกาแต่งตั้งตนเองเป็นรักษาการประธานาธิบดีเนื่องจากประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ "ป่วย"[16]
19 สิงหาคม
แก้เอกสารทั้งหมดของ GKChP มีการแพร่สัญญาณทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐ มีการนำหน่วยยานเกราะของกองพลตามันสกายาและกองพลคันตามีรอฟสกายาเข้าสู่กรุงมอสโก ร่วมกับทหารส่งทางอากาศ ผู้แทนประชาชนของโซเวียตรัสเซียถูกเคจีบีควบคุมตัวจำนวนสี่คน[17] ผู้สมคบคิดพิจารณาควบคุมตัวประธานาธิบดีรัสเซียเยลต์ซินด้วยแต่ไม่ได้ลงมือด้วยเหตุใดไม่ทราบ การไม่จับกุมเยลต์ซินจะทำให้แผนรัฐประหารล้มเหลวในเวลาต่อมา[17][18][19]
เยลต์ซินเดินทางถึงทำเนียบขาว อาคารรัฐสภาของรัสเซีย ในเวลา 9.00 น. ออกแถลงการณ์ร่วมประณามคณะรัฐประหาร มีการเรียกร้องให้กองทัพไม่เข้าร่วม และให้ประชาชนนัดหยุดงานทั่วไปเพื่อให้กอร์บาชอฟสื่อสารกับประชาชน[20] มีการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวในรูปใบปลิวในกรุงมอสโก
ในเวลาบ่าย พลเมืองกรุงมอสโกเริ่มชุมนุมกันรอบทำเนียบขาวแล้วตั้งสิ่งกีดขวางไว้โดยรอบ เกนเนดีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงมอสโกในเวลา 16.00 น. ขณะเดียวกัน พันตรีเอฟโกคิมอฟ เสนาธิการกองพันรถถังของกองพลตามันสกายาที่เฝ้าทำเนียบขาวอยู่ ประกาศภักดีต่อผู้นำโซเวียตรัสเซีย[20][21] เยลต์ซินปีนรถถังแล้วกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งออกข่าวในสื่อของรัฐด้วย[22]
20 สิงหาคม
แก้เวลาเที่ยง พลเอกคาลินิน ผู้นำมณฑลทหารมอสโก ซึ่งเกนเนดีแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารกรุงมอสโก ประกาศเคอร์ฟิวในเมืองหลวงตั้งแต่เวลา 23.00 น. ถึง 5.00 น. มีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม[23][24][20] เป็นสัญญาณว่ากำลังจะมีการโจมตีทำเนียบขาว ฝ่ายป้องกันทำเนียบขาวเตรียมการ ทั้งที่ไม่มีอาวุธ รถถังของเอฟโดคิมอฟถูกนำออกจากทำเนียบขาวในเวลาเย็น[25][26]
ในเวลาบ่าย คณะรัฐประหารตัดสินใจโจมตีทำเนียบขาว แต่ผู้บังคับบัญชาภาคสนามพยายามโน้มน้าวว่าปฏิบัติการนี้จะมีการนองเลือดและควรยกเลิก[17][23][27][28]
สภาสูงสุดของเอสโตเนียตัดสินใจในเวลา 23.03 น. ประกาศเอกราชเป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปี
21 สิงหาคม
แก้ในเวลา 1.00 น. มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คนในเหตุปะทะระหว่างสองฝ่ายไม่ใกล้จากทำเนียบขาวมากนัก[29][25][30][31] ทหารไม่เคลื่อนเข้าทำเนียบขาวตามแผนและมีการสั่งถอนทหารออกจากกรุงมอสโก
เมื่อคณะรัฐประหารเข้าพบกอร์บาชอฟ กอร์บาชอฟประกาศให้คำสั่งของ GKChP เป็นโมฆะและปลดทั้งหมดออกจากตำแหน่ง อัยการสูงสุดเริ่มต้นสอบสวนรัฐประหาร[27][20]
ในช่วงเดียวกัน สภาสูงสุดของลัตเวียประกาศเอกราช
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ольга Васильева, «Республики во время путча» в сб.статей: «Путч. Хроника тревожных дней». เก็บถาวร 2007-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน// Издательство «Прогресс», 1991. (in Russian). Accessed 2009-06-14. 17 June 2009.
- ↑ Solving Transnistria: Any Optimists Left? by Cristian Urse. p. 58. Available at http://se2.isn.ch/serviceengine/Files/RESSpecNet/57339/ichaptersection_singledocument/7EE8018C-AD17-44B6-8BC2-8171256A7790/en/Chapter_4.pdf
- ↑ http://www.lenta.ru/lib/14159799/full.htm. Accessed 13 September 2009. 16 September 2009-.
- ↑ Артем Кречетников. «Хроника путча: часть II» // BBC
- ↑ Р. Г. Апресян. Народное сопротивление августовскому путчу (recuperato il 27 novembre 2010 tramite Internet Archive)
- ↑ Mark Kramer, "The Dialectics of Empire: Soviet Leaders and the Challenge of Civil Resistance in East-Central Europe, 1968-91", in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present, Oxford University Press, 2009 pp. 108-9.
- ↑ Sarker, Sunil Kumar (1994). The rise and fall of communism. New Delhi: Atlantic publishers and distributors. p. 94. ISBN 978-8171565153. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2017.
- ↑ "USSR: The food supply situation" (PDF). CIA.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
- ↑ Gupta, R.C. (1997). Collapse of the Soviet Union. India: Krishna Prakashan Media. p. 62. ISBN 978-8185842813. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2017.
- ↑ Ziemele (2005). p. 30.
- ↑ Ziemele (2005). p. 35.
- ↑ Ziemele (2005). pp. 38–40.
- ↑ Маркедонов Сергей Самоопределение по ленинским принципам เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Многоступенчатый запуск нового Союза намечен на 20 августа". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Союз можно было сохранить. Белая книга: Документы и факты о политике М. С. Горбачёва по реформированию и сохранению многонационального государства เก็บถาวร 10 มีนาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. — 2-е изд., перераб. и доп. — М.: АСТ, 2007. — С. 316 — 567 с.
- ↑ "Souz.Info Постановления ГКЧП". souz.info.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "Заключение по материалам расследования роли и участии должностных лиц КГБ СССР в событиях 19-21 августа 1991 года". flb.ru.
- ↑ ""Novaya Gazeta" No. 55 of 6 August 2001 (extracts from the indictment of the conspirators)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2005. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
- ↑ ""Novaya Gazeta" No. 57 of 13 August 2001 (extracts from the indictment of the conspirators)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 "Путч. Хроника тревожных дней". old.russ.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
- ↑ "Izvestia", 18 August 2006 (ในภาษารัสเซีย)[1]
- ↑ "Moskovskie Novosty", 2001, No.33 "Archived copy" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2007.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 23.0 23.1 (ในภาษารัสเซีย) "Novaya Gazeta" No. 51 of 23 July 2001 เก็บถาวร 15 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (extracts from the indictment of the conspirators)
- ↑ (ในภาษารัสเซีย) another "Kommersant" article เก็บถาวร 2008-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 August 2006
- ↑ 25.0 25.1 Kommersant เก็บถาวร 2008-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 August 2006 (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ (ในภาษารัสเซีย) "Nezavisimoe Voiennoye Obozrenie", 18 August 2006
- ↑ 27.0 27.1 (ในภาษารัสเซีย) Timeline of the events เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Artem Krechnikov, Moscow BBC correspondent
- ↑ "Argumenty i Facty"[ลิงก์เสีย], 15 August 2001
- ↑ "Calls for recognition of 1991 Soviet coup martyrs on 20th anniversary". The Guardian Online. 16 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
- ↑ "Усов Владимир Александрович". warheroes.ru.
- ↑ A Russian site on Ilya Krichevsky "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์). Accessed 15 August 2009. Archived 17 August 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
- ข่าวของสถานีโทรทัศน์ในสหภาพโซเวียต19-25สิงหาคม 2534