กหาปณะ
กหาปณะ (สันสกฤต: กษาปณ) เป็นคำเรียกเงินตราทำด้วยโลหะที่ใช้ในสมัยพุทธกาล เป็นเงินตราโลหะชนิดแรกของอนุทวีปอินเดีย เทียบคำว่า กษาปณ์ ในปัจจุบัน
เงินกหาปณะ หรือเงินตอกตราโบราณสมัยราชวงศ์โมริยะของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพัฒนามาจากรูปแบบของเงินกหาปณะในสมัยพุทธกาล
กหาปณะ มีอัตราเทียบเท่ากับ 20 มาสก หรือ 1 ตำลึง หรือ 4 บาทไทย
กหาปณะ มีปรากฏอยู่ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ คือภิกษุจงใจลักทรัพย์ที่มีราคา 5 มาสก หรือ 1 บาทขึ้นไปต้องอาบัติสูงสุดคือปาราชิกหากมีราคาต่ำกว่านั้นก็มีความผิดลดหลั่นลงมาตามราคาทรัพย์
อ้างอิงแก้ไข
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา |