กลยุทธ์ทุกข์กาย

กลยุทธ์ทุกข์กาย หรือ ขู่โร่วจี้ (อังกฤษ: Inflict injury on one's self to win the enemy's trust; จีนตัวย่อ: 苦肉计; จีนตัวเต็ม: 苦肉計; พินอิน: Kǔ ròu jì) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงโดยสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไป ย่อมไม่มีผู้ใดอยากทำร้ายตนเอง หากบาดเจ็บก็เชื่อว่าคงเกิดจากการถูกทำร้าย ถ้าหากแม้นสามารถทำเท็จให้กลายเป็นจริง หลอกให้ศัตรูหลงเชื่อโดยไม่ติดใจสงสัย กลอุบายย่อมจะสัมฤทธิ์ผล การแสร้งทำให้ศัตรูหลงเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต" โดยคำว่า "ปิด" หมายความถึงการอาศัยความไร้เดียงสาของทารก หลอกล่อโดยโอนอ่อนผ่อนตามไป ก็จักลวงให้ศัตรูหลงเชื่อและบรรลุตามความประสงค์ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ทุกข์กายไปใช้ได้แก่อุยกายที่ยอมเสียสละร่างกายให้จิวยี่โบยหนึ่งร้อยที และแสร้งทำเป็นยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเพื่อให้จิวยี่และขงเบ้งใช้ไฟทำลายกองทัพเรือของโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ขู่โร่วจี้ กลยุทธ์ทุกข์กาย, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 248, ISBN 978-974-690-595-4