กระดูกท้ายทอย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กระดูกท้ายทอย (อังกฤษ: Occipital bone) เป็นกระดูกรูปจานรองแก้วที่อยู่ด้านหลังและด้านล่างของกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและโค้ง มีช่องขนาดใหญ่รูปวงรีเรียกว่า ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโพรงกะโหลก (cranial cavity) และคลองกระดูกสันหลัง (vertebral canal) แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
- ส่วนแผ่นโค้งด้านหลังฟอราเมน แมกนัม เรียกว่า สความา ออกซิปิตาลิส (squama occipitalis)
- ส่วนหนา รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหน้าฟอราเมน แมกนัม เรียกว่า ส่วนเบซิลาร์ของกระดูกท้ายทอย (basilar part of occipital bone)
- ด้านข้างทั้งสองข้างของฟอราเมน แมกนัม เรียกว่า ส่วนข้างของกระดูกท้ายทอย (lateral parts of occipital bone)
กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) | |
---|---|
กะโหลกศีรษะการตัดแบ่งซ้ายขวา (กระดูกท้ายทอยแสดงด้วยสีฟ้า อยู่ทางขวาของภาพ) | |
ฐานของกะโหลกศีรษะ พื้นผิวด้านบน (กระดูกท้ายทอยแสดงด้วยสีฟ้า อยู่ด้านล่างของภาพ) | |
รายละเอียด | |
ข้อต่อ | กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, กระดูกขมับ 2 ชิ้น, กระดูกสฟีนอยด์, และกระดูกคอชิ้นที่หนึ่ง |
ตัวระบุ | |
MeSH | D009777 |
TA98 | A02.1.04.001 |
TA2 | 552 |
FMA | 52735 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
ฟอราเมน แมกนัม
แก้ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) เป็นช่องเปิดรูปไข่ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว (แกนเอก) ในแนวหน้าหลัง ทางด้านหน้าจะแคบกว่าทางด้านหลังเพราะมีปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyle) อยู่
ช่องนี้เป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (medulla oblongata) และเยื่อหุ้ม, เส้นประสาทแอคเซสซอรี (accessory nerves) , หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (vertebral arteries) , หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (anterior spinal arteries) และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (posterior spinal arteries) , เยื่อคลุม (membrana tectoria) , และเอ็นเอลาร์ (alar ligaments)
มุมกระดูก
แก้- มุมด้านบน (superior angle) ของกระดูกท้ายทอยเกิดข้อต่อกับมุมด้านท้ายทอยของกระดูกข้างขม่อม (parietal bones) ซึ่งในระยะทารกในครรภ์สัมพันธ์กับตำแหน่งของกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle)
- มุมด้านล่าง (inferior angle) รวมเข้ากับตัวกระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid)
- มุมด้านข้าง (lateral angles) ตั้งอยู่ที่ส่วนปลายของร่องกระดูกสำหรับโพรงหลอดเลือดดำตามขวาง (transverse sinuses) ซึ่งจรดกับช่องว่างระหว่างมุมกกหูของกระดูกข้างขม่อม (mastoid angle of the parietal) กับส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid part of the temporal)
ขอบกระดูก
แก้- ขอบด้านบน (superior borders) เชื่อมจากมุมด้านบนและมุมด้านข้าง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อยที่ลึกซึ่งเกิดข้อต่อกับขอบด้านท้ายทอยของกระดูกข้างขม่อม เกิดเป็นรอยประสานท้ายทอย (lambdoid suture)
- ขอบด้านล่าง (inferior borders) เชื่อมจากมุมด้านข้างและมุมด้านล่าง ส่วนบนของขอบกระดูกด้านนี้ต่อกับส่วนกกหูของกระดูกขมับ และส่วนล่างต่อกับส่วนพีทรัสของกระดูกขมับ (petrous part of the temporal) ทั้งสองส่วนของขอบด้านล่างนี้แบ่งแยกออกจากกันด้วยส่วนยื่นเรียกจูกูลาร์ โพรเซส (jugular process) รอยเว้าบนพื้นผิวด้านหน้าของส่วนยื่นนี้เป็นส่วนหลังของจูกูลาร์ ฟอราเมน (jugular foramen)
โครงสร้าง
แก้กระดูกท้ายทอยก็เช่นเดียวกับกระดูกหุ้มสมองชิ้นอื่นๆ ซึ่งตรงกลางจะเป็นกระดูกเนื้อโปร่ง (cancellous) ส่วนของสัน โหนก ปุ่มกระดูก และส่วนหน้าของส่วนเบซิลาร์จะมีลักษณะหนา แต่แอ่งด้านในจะบาง โปร่งแสง
ภาพอื่นๆ
แก้-
กระดูกหุ้มสมอง
-
มุมมองด้านล่างของฐานกะโหลกศีรษะ
-
แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย
-
ภาพตัดแบ่งซ้ายขวาผ่านกระดูกท้ายทอยและกระดูกสันหลังส่วนคอสามชิ้นแรก
-
กล้ามเนื้อต่างๆ ที่เชื่อมรยางค์บนและกระดูกสันหลัง
-
ส่วนบนของ medulla spinalis และสมองส่วนกลางและส่วนหลัง มองทางด้านหลัง
-
กล้ามเนื้อของคอหอย และหลอดเลือดกับเส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง มุมมองจากด้านหลัง