กระจกตา
กระจกตา (อังกฤษ: cornea) เป็นส่วนโปร่งใสด้านหน้าของตาซึ่งคลุมอยู่หน้าม่านตา, รูม่านตา, และห้องหน้า (anterior chamber) กระจกตาทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตา (lens) และช่วยในการโฟกัสภาพ โดยกระจกตามีส่วนเกี่ยวกับกำลังการรวมแสง (optical power) ของตาถึง 80%[1][2] ในมนุษย์ กำลังการรวมแสงของกระจกตาคิดเป็นประมาณ 43 ไดออปเตอร์[3] แม้กระจกตามีส่วนอย่างมากในกำลังการโฟกัสภาพ แต่การโฟกัสนั้นค่อนข้างคงที่ ความโค้งของเลนส์จะช่วยปรับโฟกัสตามระยะห่างของวัตถุ
กระจกตา (Cornea) | |
---|---|
แผนภาพแสดงตาของมนุษย์ (กระจกตาอยู่ด้านบนตรงกลางของภาพ) | |
ภาพตัดแนวตั้งและขยายขนาดของกระจกตามนุษย์บริเวณใกล้กับขอบกระจกตา 1. เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) 2. Anterior elastic lamina. 3. substantia propria. 4. Posterior elastic lamina. 5. Endothelium of the anterior chamber. a. เส้นใยเฉียงในชั้นหน้าของ substantia propria. b. ชั้นของเส้นใยซึ่งถูกตัดขวาง ปรากฏลักษณะเป็นจุดๆ c. Corneal corpuscles มีลักษณะในภาพตัดเป็นกระสวย d. ชั้นของเส้นใยซึ่งถูกตัดตามแนวยาว e. บริเวณที่เปลี่ยนไปเป็นเปลือกลูกตา ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยฝอยและมีเนื้อเยื่อบุผิวปกคลุมมากกว่า f. หลอดเลือดเล็กๆ ถูกตัดขวางใกล้ๆ กับขอบของกระจกตา | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D003315 |
TA98 | A15.2.02.012 |
TA2 | 6744 |
FMA | 58238 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
โครงสร้าง
แก้กระจกตามีปลายเส้นประสาทชนิดไม่มีเยื่อไมอีลินที่รับสัมผัส, อุณหภูมิ, และสารเคมี การสัมผัสหรือแตะที่กระจกตาสามารถทำให้เกิดรีเฟล็กซ์ของการปิดหนังตา เนื่องจากกระจกตาต้องมีความใสเพื่อช่วยในการรับแสง จึงไม่มีหลอดเลือด แต่กระจกตาจะได้รับสารอาหารผ่านทางการแพร่ จากน้ำตาที่หล่อภายนอกและในสารน้ำในลูกตา (aqueous humour) และจากนิวโรโทรฟิน (neurotrophins) ซึ่งมาจากใยประสาทที่มาเลี้ยงในบริเวณนี้ ในมนุษย์กระจกตามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.5 มม. และหนาประมาณ 0.5-0.6 มม. ที่ศูนย์กลางและ 0.6-0.8 มม. ที่บริเวณขอบๆ กระจกตาเป็นบริเวณพิเศษที่มีความโปร่งใส, ไม่มีหลอดเลือด, และเป็นบริเวณอภิสิทธิ์ทางภูมิคุ้มกัน (immunologic privilege) ทำให้กระจกตาเป็นเนื้อเยื่อที่มีความพิเศษ กระจกตาเป็นส่วนเดียวในร่างกายที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยง และได้รับออกซิเจนโดยตรงผ่านทางอากาศ
บริเวณขอบของกระจกตาเชื่อมกับเปลือกลูกตา (sclera) เรียกว่า คอร์เนียล ลิมบัส (corneal limbus)
อ้างอิง
แก้- ↑ Cassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology. Gainsville, Florida: Triad Publishing Company, 1990.
- ↑ Goldstein, E. Bruce. Sensation & Perception. 7th Edition. Canada: Thompson Wadsworth, 2007.
- ↑ Najjar, Dany "Clinical optics and refraction เก็บถาวร 2008-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- Daxer A, Misof K, Grabner B, Ettl A, Fratzl P. "Collagen fibrils in the human corneal stroma: structure and aging." Invest Ophthalmol Vis Sci. 1998 Mar;39 (3) :644-8. PMID 9501878.
- Daxer A, Fratzl P. "Collagen fibril orientation in the human corneal stroma and its implication in keratoconus." Invest Ophthalmol Vis Sci. 1997 Jan;38 (1) :121-9. PMID 9008637.
- Fratzl P, Daxer A. "Structural transformation of collagen fibrils in corneal stroma during drying. An x-ray scattering study." Biophys J. 1993 Apr;64 (4) :1210-4. PMID 8494978.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Atlas of anatomy at UMich eye_1 เก็บถาวร 2007-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - "Sagittal Section Through the Eyeball"
- Facts About The Cornea and Corneal Disease National Eye Institute (NEI)
- Keratoconus (Irregular Astigmatism) , Patient Support