ปรัชญาจิตวิทยา กล่าวถึงประเด็นจำนวนมากที่เกี่ยวกับรากฐานของทฤษฎีจิตวิทยาสมัยใหม่

ภาพรวม แก้

ปรัชญาจิตวิทยาศึกษาในประเด็นญาณวิทยาซึ่ง เกี่ยวข้องกับวิธีวิทยาของการตรวจสอบทางจิตวิทยา ตัวอย่างเช่น:

  • วิธีวิทยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับจิตวิทยาคืออะไร ระหว่าง จิตใจนิยม, พฤติกรรมนิยม หรือ การประนีประนอม?
  • การรายงานผลด้วยตนเองเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือไม่? [1]
  • ข้อสรุปใดที่สามารถดึงออกมาจากการทดสอบสมมติฐานว่าง
  • เราสามารถวัดประสบการณ์ของคนแรก (อารมณ์ ความปรารถนา และความเชื่อ ฯลฯ ) อย่างเป็นกลางได้หรือไม่?

ประเด็นอื่นในปรัชญาจิตวิทยา คือ ปัญหาเชิงปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของจิต สมอง และ การรับรู้ บางทีอาจเป็นความคิดทั่วไปซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์การรับรู้ หรือ ปรัชญาจิต เช่น:

ปรัชญาจิตวิทยายังติดตามผลงานร่วมสมัยที่ดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับประสาทวิทยาการรับรู้ จิตวิทยาวิวัฒนาการ และ ปัญญาประดิษฐ์ เช่น การตั้งคำถามว่าปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาสามารถอธิบายโดยใช้วิธีทางประสาทวิทยา ทฤษฎีวิวัฒนาการ และการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่ [2][3] แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังมีความกังวลบางประการเกี่ยวกับความเหมาะสมของการนำวิธีการทางจิตวิทยามาใช้ ความกังวลดังกล่าว ได้แก่ จิตวิทยาซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาปัจเจกบุคคลในฐานะระบบประมวลผลข้อมูล (ดู Donald Broadbent ) ซึ่งเป็นอิสระจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสมอง (แม้ว่านักจิตวิทยาส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าสมองบางส่วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม (ดู supervenience ) จิตใจจะเป็น "เส้นลวดที่แข็ง" (hard-wired) ซึ่งเพียงพอสำหรับการตรวจสอบเชิงวิวัฒนาการจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ และรูปแบบการคำนวณจะสามารถทำอะไรได้ไปมากกว่าการนำเสนอทฤษฎีการรับรู้ที่เป็นไปได้ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถบอกอะไรเราเกี่ยวกับจิตใจได้หรือไม่ (Fodor & Pylyshyn 1988)

ปรัชญาจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีพื้นที่ค่อนข้างใหม่ เพราะจิตวิทยาที่มี "ความเป็นวิทยาศาสตร์" - เป็นจิตวิทยาที่สนับสนุนวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการครุ่นคิด สิ่งนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาจิตวิทยาในปลายยุคศตวรรษที่ 19 เท่านั้น หนึ่งในปรัชญาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง คือ การประเมินข้อดีของสำนักจิตวิทยาต่าง ๆ ที่มีการนำมาใช้ ตัวอย่างเช่น การใช้จิตวิทยาการรับรู้ ของสภาพจิตใจภายในซึ่งอาจเปรียบเทียบกับสำนักพฤติกรรมนิยม และการพิจารณาเหตุผลสำหรับการปฏิเสธแนวคิดพฤติกรรมนิยมที่แพร่หลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 20

หัวข้อที่อยู่ในปรัชญาจิตกลับไปไกลกว่านี้มาก ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจและคุณภาพของประสบการณ์ รวมไปถึงประเด็นเฉพาะ อย่างเช่น การถกเถียงกันระหว่างทวินิยมและเอกนิยม ซึ่งได้อภิปรายในปรัชญามานานหลายศตวรรษ

สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญาจิตวิทยา คือ การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญาและญาณวิทยาเกี่ยวกับ จิตเวชคลินิกและจิตพยาธิวิทยา ปรัชญาจิตเวชเกี่ยวข้องกับบทบาทของคุณค่าทางจิตเวชเป็นหลัก: ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีคุณค่าทางปรัชญา และ ปรากฏการณ์วิทยา ุคุณค่าที่มีพื้นฐานจากการปฏิบัติมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงและการทำให้เป็นมนุษย์ รวมไปถึงการตัดสินใจทางคลินิกในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนของการดูแลสุขภาพจิต [4] ปรัชญาจิตพยาธิวิทยามักเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนทางญาณวิทยาอันเกี่ยวกับรากฐานทางปรัชญาของการจำแนกทางจิตเวชอย่างเป็นนัยและจิตเวชเชิงหลักฐาน โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อเปิดเผยกิจกรรมที่สร้างคำอธิบายปรากฏการณ์ทางจิต [5]

จากการศึกษาเชิงประจักษ์ในปี ค.ศ.2016 พบว่ากลุ่มบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กันต่างมีแนวคิดเกี่ยวกับตัวเองและโลกโดยมีการเชื่อมโยงภายในผ่านการพึ่งพาโดยตรงและตัวกลางซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของการรับรู้และความเข้าใจของตนเองและโลกในจิตใจของประชากรและมีการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเชิงปรัชญา[6]

ดูเพิ่มเติม แก้

  • ปรัชญาจิตเวช
  • ปรัชญาสังคมศาสตร์
  • จิตวิทยาศีลธรรม

อ้างอิง แก้

  1. R. Stewart Ellis (2010). "Research data gathering techniques". Kettering University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
  2. Coltheart, Max (January 2006). "What has Functional Neuroimaging told us about the Mind (so far)? (Position Paper Presented to the European Cognitive Neuropsychology Workshop, Bressanone, 2005)". Cortex. 42 (3): 323–331. doi:10.1016/S0010-9452(08)70358-7.
  3. Klein, Colin (14 November 2016). "Brain regions as difference-makers". Philosophical Psychology. 30 (1–2): 1–20. doi:10.1080/09515089.2016.1253053.
  4. Fulford KWM, Stanghellini G. (2008). "The Third Revolution: Philosophy into Practice in Twenty-first Century Psychiatry". Dialogues in Philosophy, Mental and Neuro Sciences. 1 (1): 5–14.
  5. Aragona M (2009). Il mito dei fatti. Una introduzione alla Filosofia della Psicopatologia. Crossing Dialogues. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06.
  6. Kuška M, Trnka R, Kuběna AA, Růžička J (2016). "Free Associations Mirroring Self- and World-Related Concepts: Implications for Personal Construct Theory, Psycholinguistics and Philosophical Psychology". Frontiers in Psychology (ภาษาอังกฤษ). 7: 981. doi:10.3389/fpsyg.2016.00981. PMC 4928535. PMID 27445940.

อ่านเพิ่มเติม แก้

คู่มือการศึกษาปรัชญาแห่งลอนดอน เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เสนอคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านซึ่งขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของนักเรียนในเรื่อง: ปรัชญาจิตวิทยา เก็บถาวร 2009-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • J. Stacy Adams. 1976. Advances in Experimental Social Psychology. Academic Press, 1976 ISBN 0120152096, 9780120152094.
  • Leonard Berkowitz. 1972. Social psychology. Scott Foresman & Co, 1972.
  • Ned Block. 1980. Readings in Philosophy of Psychology, Volume 1. Harvard University Press, 1980. ISBN 067474876X, 9780674748767.
  • Stuart C. Brown, Royal Institute of Philosophy. 1974. Macmillan, 1974. Original from the University of Michigan
  • Joseph Margolis. 2008. Philosophy of Psychology. Prentice-Hall foundations of philosophy series. Prentice-Hall, 1984. ISBN 0136643264, 9780136643265.
  • Ken Richardson. 2008. Understanding psychology. Open University Press, 1988. ISBN 0335098428, 9780335098422.
  • George Botterill, Peter Carruthers. 1999. The Philosophy of Psychology. Cambridge University Press. ISBN 0521559154, 9780521559157.
  • Craig Steven Titus. 2009. Philosophical Psychology: Psychology, Emotions, and Freedom. CUA Press. ISBN 0977310361, 9780977310364.
  • Jose Bermudez. 2005. Philosophy of Psychology: A Contemporary Introduction. Routledge. ISBN 9780415368629.
  • Terence Horgan, John Tienson. 1996. Connectionism and the Philosophy of Psychology. MIT Press. ISBN 0262082489, 9780262082488

แหล่งข้อมูลอื่น แก้