สะพานวิทยาสาครเสตุ

(เปลี่ยนทางจาก Vidyasagar Setu)

วิทยาสาครเสตุ (อังกฤษ: Vidyasagar Setu) หรือ สะพานเซกเกินด์หูคลี (อังกฤษ: Second Hooghly Bridge) เป็นสะพานเก็บค่าผ่านทาง (toll bridge) เหนือแม่น้ำหูคลี (Hooghly River) ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เชื่อมเมืองโกลกาตา (หรือกัลกัตตา) กับหาวรา (Howrah) เข้าด้วยกัน

วิทยาสาครเสตุ
Vidyasagar Setu
พิกัด22°33′25″N 88°19′40″E / 22.55694°N 88.32778°E / 22.55694; 88.32778
เส้นทาง2 ทิศเดินรถ และเลนชนิด general-purpose 3 เลนในแต่ละทิศเดินรถ
ข้ามแม่น้ำหูคลี (Hooghly River)
ที่ตั้งโกลกาตา และ หาวรา (Howrah) รัฐเบงกอลตะวันตก
ชื่อทางการวิทยาสาครเสตุ
ชื่ออื่นสะพานเซกเกินด์หูคลี (Second Hooghly Bridge)
ผู้ดูแลคณะกรรมการสะพานหูคลี
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานขึง
ความยาว822.96 เมตร (2,700 ฟุต)
ความกว้าง35 เมตร (115 ฟุต)
ช่วงยาวที่สุด457.2 เมตร (1,500 ฟุต)
เคลียร์ตอนล่าง26 เมตร (85 ฟุต)
ประวัติ
ผู้สร้างบริษัทก่อสร้าง Braithwaite Burn and Jessop จำกัด
วันเปิด10 ตุลาคม1992
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ย45,000 - 61,000 คัน(กุมภาพันธ์ 2008)
ค่าผ่านใช่ เป็นสะพานเก็บค่าขึ้น
ที่ตั้ง
แผนที่
แผนที่
ที่ตั้งของสะพานวิทยาสาครเสตุ

วิทยาสาครเสตุมีความยาว 823 เมตร และเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตามผู้คนมักสับสนว่าสะพานนรรมทาสาม (3rd Narmada Bridge) ในรัฐคุชราตเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุด[1] แต่ในความเป็นจริงสะพานนรรมทาสามเป็นสะพานแบบกึ่งแขวน (extradosed bridge) ไม่ใช่สะพานแขวนโดยตรง สะพานวิทยาสาครเสตุเป็นสะพานแห่งที่สองที่สร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำหูคลี ถัดจากสะพานแรก คือสะพานหาวรา (Howrah Bridge) หรือสะพานรพินทรเสตุ (Rabindra Setu) ซึ่งอยู่ห่างไป 3.7 กิโลเมตร (2.3 ไมล์) ทางเหนือ ชื่อของสะพานตั้งชื่อตามนักปฏิรูปการศึกษา บัณฑิตอิศวร จันทระ วิทยาสาคร (Ishwar Chandra Vidyasagar) และใช้ทุนก่อสร้ารวม 3.88 พันล้านรูปีอินเดีย ภายใต้การร่วมทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน[2]

ตามสถิติที่บันทึก มียานพาหนะขับบนสะพานนี้ต่ำสุดที่ 28,000 คัน และสูงสุดที่ 39,000 คันต่อวัน อย่างไรก็ตามหลังการส่งมอบอำนาจในการเก็บค่าขึ้นสะพาน (toll) จากดั้งเดิมเป็นของราชการไปให้กับหน่วยงานของเอกชนในปี 2000 จำนวนยานพาหนะได้ลดลงเหลือเพียงสูงสุดที่ 30,000 คันต่อวันในเดือนธันวาคม 2002 ต่อมาในต้นปี 2008 จำนวนยานพาหนะได้เพิ่มขึ้นเป็นขั้นต่ำ 45,000 คันถึงสูงสุด 61,000 คันต่อวัน อย่างไรก็ตาม สะพานนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับยานพาหนะอยู่ที่ 85,000 คันต่อวัน การบริหารรายได้จากค่าผ่านทางนั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่ามีการโกงกินภายในและสูญเสียรายได้มหาศาล[3]

อ้างอิง แก้

  1. Mishra, Sohit (2017-03-07). "India's longest cable-bridge in Bharuch inaugurated by PM Modi; all you need to know about the 1.4 km bridge". India.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
  2. "History". Kolkata Port Trust: Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011.
  3. "Toll". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2017. สืบค้นเมื่อ 20 December 2014.