ศูนย์อวกาศสตีษ ธวัน

(เปลี่ยนทางจาก Satish Dhawan Space Centre)

ศูนย์อวกาศสตีษ ธวัน (อังกฤษ: Satish Dhawan Space Centre; SDSC) หรือชื่อเดิม ศรีหริโกฏเรนจ์ (อังกฤษ: Sriharikota Range; SHAR)[1] เป็นท่าอวกาศหลักขององค์การค้นคว้าอวกาศอินเดีย (ISRO) ตั้งอยู่ในศรีหริโกฏ รัฐอานธรประเทศ ศูนย์เปลี่ยนชื่อในปี 2002 เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตประธาน ISRO สตีษ ธวัน

ศูนย์อวกาศสตีษ ธวัน (SDSC)
LVM3 M3 บน SLP พร้อมทั้งดาวเทียมวันเว็บ 36 ตัว (2023)
Locationศรีหริโกฏ อำเภอติรุปตี รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย
Coordinates13°43′N 80°14′E / 13.72°N 80.23°E / 13.72; 80.23
Time zoneUTC+05:30 (IST)
Short nameSDSC
OperatorISRO
Total launches91
Launch pad(s)ใช้งาน: 2
เลิกใช้งาน: 1

ปัจจุบันศูนย์มีแท่นยิงจรวดสองแท่นที่ใช้งานอยู่ มีไว้สำหรับการปล่อยจรวดซาวดิง, ดาวเทียมโพลาร์ และ ดาวเทียมจีโอซิงโครนัส โพรบสำรวจดวงจันทร์ของอินเดีย ทั้งจันทรยาน-1, จันทรยาน-2, จันทรยาน-3, ภารกิจโคจรรอบดาวศุกร์ และภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ อาทิตยะ-แอล1 ล้วนปล่อยจากแท่นยิงจรวดที่นี่

เกาะศรีหริโกฏถูกเลือกเป็นสถานีปล่อยดาวเทียมในปี 1969 เกาะนี้ตั้งอยู่ห่างไปทางเหนือ 80 กิโลเมตรจากเจนไน ศูนย์เริ่มใช้งานในปี 1971 ที่ซึ่งมีการปล่อยจรวดแรก คือ RH-125 ซึ่งเป็นจรวดซาวดิง[2] ที่ตั้งของศรีหริโกฏถูกเลือกเนื่องมาจากลักษณะภูมิศาสตร์และที่ตั้งของเกาะที่มีระเบียงอาซีมัธเหมาะสมต่อภารกิจต่าง ๆ, ระยะทางที่ใกล้กันกับเส้นศูนย์สูตร และความที่บริเวณนั้นไม่มีผู้อยู่อาศัยมากนัก[3]

SHAR มีพื้นที่รวม 145 km2 (56 sq mi) บนชายฝั่งยาว 27 km (17 mi) ก่อนที่รัฐบาลอินเดียจะเข้าซื้อเกาะ ที่ดินตรงนี้เดิมใช้งานเป็นสวนปลูกต้นยูคาลิปตัสและคาซูอารินา (Casuarina) เพื่อใช้ทำถ่านฟืน แม้ที่ตั้งของเกาะจะต้องเผชิญกับทั้งมรสุมทางใต้และทางเหนือ แต่ฝนถล่มหนักบนเกาะก็มีเพียงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนเท่านั้น จึงยังคงมีวันอีกมากที่อากาศดีและฟ้าเปิดเหมาะสมกับปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ ของศูนย์[4]

SHAR เชื่อมต่อโดยถนนเข้ากับสุลลุรูเปฏผ่านทะเลสาบปูลิคัฏ และสุลลุรเปฏเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟอินเดียและทางหลวงสาย 16 ที่เชื่อมต่อไปยังโกลกาตาและเจนไน[3]

อ้างอิง แก้

  1. Rao, P. V. Manoranjan; B. N. Suresh; V. P. Balagangadharan, บ.ก. (2015). "4.1 The Spaceport of ISRO – K. Narayana". From Fishing Hamlet to Red Planet: India's Space Journey (ภาษาอังกฤษ). India: Harper Collins. p. 328. ISBN 9789351776901. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2023-09-03. This centre was originally named SHAR (an acronym for Sriharikota Range – mistakenly referred to as Sriharikota High Altitude Range by some people) by Sarabhai. SHAR in Sanskrit also means arrow, symbolic of the nature of activity and that seems to be the significance of the acronym.
  2. "RH-125". Encyclopedia Astronautica.
  3. 3.0 3.1 "About SDSC SHAR". ISRO. สืบค้นเมื่อ May 7, 2023.
  4. [1] เก็บถาวร 6 กันยายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sriharikota Launching Range-Source Bharatrakshak.com