มาลัง
มาลัง (อินโดนีเซีย: Malang; ชวา: ꦩꦭꦁ, อักษรโรมัน: Malang) เป็นนครในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย มีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนกลับไปถึงสมัยอาณาจักรสิงหะส่าหรี เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในจังหวัด โดยมีประชากร 820,043 คนตามสำมะโน ค.ศ. 2010 และ 843,810 คนตามสำมะโนปี 2020[3] หากรวมเขตมหานครมาลังจะมีประชากรอยูที่ 3,663,691 คนตามสำมะโน ค.ศ. 2010 เขตมหานครดังกล่าวรวมพื้นที่ของเมืองบาตูและตำบล 22 ตำบล (21 ตำบลในอำเภอมาลัง และ 1 ตำบลในอำเภอปาซูรูวัน)[4] มาลังเป็นเมืองที่มีจีดีพีสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของชวาตะวันออก รองจากซูราบายาและเกอดีรี ด้วยจีดีพี ค.ศ. 2016 อยู่ที่ 44.30 ล้านล้านรูปียะฮ์[5]
มาลัง | |
---|---|
นครมาลัง Kota Malang | |
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: ศาลาว่าการนครมาลัง, วัดบาดุต, สนามกีฬากาจายานา, สถานีมาลัง และเขื่อนการังกาเต็ซ | |
คำขวัญ: | |
ที่ตั้งในจังหวัดชวาตะวันออก | |
พิกัด: 7°58′48″S 112°37′12″E / 7.98000°S 112.62000°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
จังหวัด | ชวาตะวันออก |
ตั้งรกราก | ค.ศ. 760 |
เป็นนคร | 1 เมษายน ค.ศ. 1914 |
การปกครอง | |
พื้นที่ | |
• นคร | 110.06 ตร.กม. (42.49 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 1,132.7 ตร.กม. (437.3 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,156.6 ตร.กม. (832.7 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 506 เมตร (1,660 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2020[1]) | |
• นคร | 843,810 คน |
• ความหนาแน่น | 7,700 คน/ตร.กม. (20,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 2,795,209 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 2,500 คน/ตร.กม. (6,400 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,663,691 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,700 คน/ตร.กม. (4,400 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | มาลางัน (Malangan), อาเรมา (Arema)[2] |
เขตเวลา | UTC+7 (IWST) |
รหัสไปรษณีย์ | 6511x–6514x |
รหัสโทรศัพท์ | (+62) 341 |
ทะเบียนพาหนะ | N |
เอชดีไอ | 0.828 (สูงมาก) |
เว็บไซต์ | malangkota |
มาลังเป็นที่รู้จักจากสภาพภูมิอากาศที่อ่อนโยน ตั้งแต่สมัยอาณานิคมดัตช์จนถึงปัจจุบัน ในสมัยที่เป็นอาณานิคมดัตช์ มาลังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้มีถิ่นพำนักชาวยุโรป แม้กระทั่งในปัจจุบัน เมืองนี้ก็ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ[6] มาลังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานตั้งแต่สมัยอาณาจักรกันจูรูฮันจนถึงสมัยอาณานิคมดัตช์[7] โบราณสถานสำคัญสมัยอาณานิคมดัตช์ เช่น โบสถ์กายูตางัน อาสนวิหารอีเจ็นซึ่งสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมกอธิก มาลังยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบราวีจายาและมหาวิทยาลัยรัฐมาลัง[8]
ชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในมาลังเป็นชาวชวา รองลงมาคือชาวมาดูราและชาวจีนหรือที่เรียกว่า เปอรานากัน[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "BPS Provinsi Jawa Timur". jatim.bps.go.id (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
- ↑ "Arti kata Arema – Kamus Besar Bahasa Indonesia (KBBI) Online". artikata.simomot.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
- ↑ Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
- ↑ "Indonesia: Java (Regencies, Cities and Districts) – Population Statistics in Maps and Charts". www.citypopulation.de.
- ↑ Badan Pusat Statistik (2017). Produk Domestik Regional Bruto Kabupaten/Kota di Indonesia 2012–2016. Jakarta: Badan Pusat Statistik.
- ↑ Planet, Lonely. "Malang – Lonely Planet". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ "Historical Buildings | OIA" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2019.
- ↑ Burhanudin, Tony (25 September 2016). "Kota Malang Singkirkan Yogyakarta Sebagai Kota Pendidikan". Portal Lengkap Dunia Marketing (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2016. สืบค้นเมื่อ 18 February 2019.
- ↑ Ishaq, Hasan (25 January 2017). "Sejarah Kawasan Pecinan Di Kota Malang". Ngalam.co (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2019.