กลุ่มนาบี

(เปลี่ยนทางจาก Les Nabis)

กลุ่มนาบี (ฝรั่งเศส: Les Nabis) คือกลุ่มศิลปินอาว็อง-การ์ดของอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังผู้วางแนวทางของวิจิตรศิลป์และเลขนศิลป์ในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1890 เดิมเป็นกลุ่มผู้ที่รู้จักกันผู้มีความสนใจในศิลปะและวรรณกรรมร่วมสมัย ที่ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนศิลปะส่วนบุคคลของรอดอล์ฟ ฌูว์ลีย็อง (สถาบันฌูว์ลีย็อง) ในกรุงปารีสในปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 ในปี ค.ศ. 1890 กลุ่มนี้ก็ประสบความสำเร็จในการแสดงงานในการนิทรรศการของสาธารณชน ขณะที่งานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในมือของนักสะสมส่วนบุคคล หรือตัวศิลปินเอง เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1896 กลุ่มก็เริ่มแสดงความแตกแยก ภาพ “เป็นเกียรติแก่เซซาน” (Hommage à Cézanne) เขียนโดยมอริส เดอนี ในปี ค.ศ. 1900 แสดงให้เห็นถึงความหลังตั้งแต่ก่อนที่คำว่า “Nabis” จะเป็นที่ทราบโดยทั่วไป ขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม คือ มอริส เดอนี, ปีแยร์ บอนาร์ และเอดัวร์ วุยยาร์ สามารถยืนบนขาของตนเองได้ในฐานะจิตรกร มีก็แต่ปอล เซรูว์ซีเยเท่านั้นที่ยังคงดิ้นรนอยู่ จนกระทั่งมาเขียนภาพ “The Talisman” ตามคำแนะนำของปอล โกแก็ง ที่กลายมาเป็นแนวทางที่จะดำเนินต่อไป

“The Talisman” โดย ปอล เซรูว์ซีเย

ที่มาของชื่อกลุ่ม แก้

“Nabi” แปลว่า “ศาสดา[1] ในภาษาฮิบรู

“กลุ่มนาบี” เดิมเป็นกลุ่มนักเรียนศิลปะที่มีหัวก้าวหน้าที่รวมตัวกันที่สถาบันฌูว์ลีย็อง ปอล เซรูว์ซีเยเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งกลุ่ม ตั้งชื่อและเผยแพร่งานตัวอย่างของปอล โกแก็งและผู้อื่น ปีแยร์ บอนาร์, เอดัวร์ วุยยาร์ และมอริส เดอนีเป็นจิตรกรที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาสมาชิกของกลุ่ม แต่ก็เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะอยู่นอกวง

คำว่า “กลุ่มนาบี” คิดขึ้นโดยกวีอ็องรี กาซาลี ผู้มองเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มจิตรกรที่พยายามฟื้นฟูจิตรกรรมกับวิธีการของศาสดาโบราณที่รื้อฟื้นอิสราเอล[2] หรืออาจจะเป็นได้ว่า “สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่มีหนวดเครา บางคนก็เป็นชาวยิว และทุกคนต่างก็มีความกระตือรือร้นกันอย่างจริงจัง”[3]

“กลุ่มนาบี” ถือตนเองว่าเป็นผู้ริเริ่มและใช้ศัพท์แสงที่เป็นของตนเอง เช่นเรียกห้องเขียนภาพว่า “ergasterium” และลงท้ายจดหมายด้วยอักษรย่อว่า “E.T.P.M.V. et M.P.” ที่ย่อมาจาก “En ta paume, mon verbe et ma paume” ที่แปลว่า “ในอุ้งมือของเธอ, คำของฉันและอุ้งมือของฉัน”

ศิลปินในกลุ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. The French term nabi (also used in English) refers to a person inspired to speak the word of God is clearly related to the Hebrew term for prophet — נביא (nebia) — and the similar Arabic word نَبِيّ (nábi). The word appears in many languages, including Indonesian.
  2. Oxford English Dictionary, headword nabi
  3. Hanson, L. & Hanson, E., Post-Impressionists xi. page 277

บรรณานุกรม แก้

  • Patricia Eckert Boyer, The Nabis and the Parisian Avant-Garde, Rytgers Univ Press, 1989, ISBN 0-8135-1380-4 & ISBN 978-0-8135-1380-5
  • Charles Chasse, The Nabis and Their Period, London: Lund Humphries, 1969, ASIN B001387EYI
  • Russell T. Clement, Four French Symbolists: A Sourcebook on Pierre Puvis de Chavannes, Gustave Moreau, Odilon Redon, and Maurice Denis, Greenwood Press, 1996, ISBN 0-313-29752-5 & ISBN 978-0-313-29752-6
  • Bernard Dorival, Les Peintres Du Vingtieme Sicle; Nabis, Fauves, Cubistes, Paris: Editions Pierre Tisne, 1957, ASIN B000PT18NY
  • Claire Freches-Thory and Antoine Terrasse, Nabis: Bonnard, Vuillard and Their Circle, London: Flammarion, 2003, ISBN 2-08-011076-4 & ISBN 978-2-08-011076-3
  • Albert Kostenevitch, Bonnard: and the Nabis, London: Parkstone Press, ISBN 1-85995-015-9 & ISBN 978-1859950159

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้