คาเนยามะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)
คาเนยามะ (ญี่ปุ่น: 金山町; โรมาจิ: Kaneyama-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอโอนูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ 293.92 ตารางกิโลเมตร (113.48 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 1,684 คน มีความหนาแน่นของประชากร 5.73 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2] เมืองคาเนยามะขึ้นชื่อในเรื่องทัศนียภาพที่สวยงาม
คาเนยามะ 金山町 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แม่น้ำทาดามิ และย่านโอชิ | |||||||||||||
ที่ตั้งของคาเนยามะ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดฟูกูชิมะ | |||||||||||||
พิกัด: 37°27′13.3″N 139°32′28.7″E / 37.453694°N 139.541306°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||||
จังหวัด | ฟูกูชิมะ | ||||||||||||
อำเภอ | โอนูมะ | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | เทศบาลเมือง | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 293.92 ตร.กม. (113.48 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[1] | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 1,684 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 5.73 คน/ตร.กม. (14.8 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 07445-4 | ||||||||||||
โทรศัพท์ | 0241-45-2211 | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 393 ยาจิ คาวางูจิ เมืองคาเนยามะ อำเภอโอนูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ 968-0011 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
ภูมิศาสตร์
แก้เมืองคาเนยามะตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคไอซุในจังหวัดฟูกูชิมะ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับจังหวัดนีงาตะ เมืองคาเนยามะไม่มีศูนย์กลางเมือง แต่เป็นเทศบาลที่ตั้งขึ้นโดยประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ริมแม่น้ำทาดามิ และในเมืองคาเนยามะมีบ่อน้ำพุร้อนหลายแห่ง
- ภูเขา: เขามิกางูระ (1386.5 เมตร), เขาทากาโมริ
- แม่น้ำ: แม่น้ำทาดามิ
- ทะเลสาบ: ทะเลสาบนูมาซาวะ
ภูมิอากาศ
แก้คาเนยามะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Dfa) มีลักษณะเด่นคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่หนาวเย็น มีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในคาเนยามะอยู่ที่ 9.1 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1615 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 23.5 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ −2.6 °C[3]
ข้อมูลภูมิอากาศของคาเนยามะ จังหวัดฟูกูชิมะ (2008−2020 ค่าปกติ, ค่าสุดขีด 2008−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.7 (54.9) |
15.1 (59.2) |
19.4 (66.9) |
27.6 (81.7) |
32.5 (90.5) |
33.8 (92.8) |
35.1 (95.2) |
35.5 (95.9) |
34.4 (93.9) |
29.5 (85.1) |
22.2 (72) |
15.6 (60.1) |
35.5 (95.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 2.0 (35.6) |
3.1 (37.6) |
7.4 (45.3) |
14.4 (57.9) |
21.8 (71.2) |
24.8 (76.6) |
28.0 (82.4) |
29.5 (85.1) |
24.8 (76.6) |
18.3 (64.9) |
11.3 (52.3) |
4.7 (40.5) |
15.84 (60.52) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -1.0 (30.2) |
-0.8 (30.6) |
2.1 (35.8) |
7.3 (45.1) |
14.3 (57.7) |
18.5 (65.3) |
22.6 (72.7) |
23.6 (74.5) |
19.2 (66.6) |
12.9 (55.2) |
6.5 (43.7) |
1.3 (34.3) |
10.54 (50.98) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.4 (25.9) |
-3.8 (25.2) |
-1.6 (29.1) |
1.8 (35.2) |
8.0 (46.4) |
13.6 (56.5) |
18.9 (66) |
19.8 (67.6) |
15.7 (60.3) |
9.5 (49.1) |
3.4 (38.1) |
-1.0 (30.2) |
6.74 (44.14) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -12.2 (10) |
-11.9 (10.6) |
-9.7 (14.5) |
-4.1 (24.6) |
-0.2 (31.6) |
5.6 (42.1) |
10.9 (51.6) |
12.7 (54.9) |
8.2 (46.8) |
2.3 (36.1) |
-2.6 (27.3) |
-10.5 (13.1) |
−12.2 (10) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 224.9 (8.854) |
137.1 (5.398) |
116.1 (4.571) |
98.0 (3.858) |
77.2 (3.039) |
127.4 (5.016) |
294.1 (11.579) |
182.7 (7.193) |
150.8 (5.937) |
142.0 (5.591) |
171.6 (6.756) |
248.5 (9.783) |
1,983.2 (78.079) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 324 (127.6) |
242 (95.3) |
155 (61) |
48 (18.9) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
7 (2.8) |
203 (79.9) |
975 (383.9) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 23.6 | 17.4 | 17.0 | 12.8 | 10.3 | 11.8 | 15.9 | 13.1 | 11.8 | 13.2 | 17.4 | 21.9 | 186.2 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm) | 24.6 | 20.0 | 16.9 | 7.7 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.6 | 12.8 | 82.6 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 39.3 | 64.5 | 117.8 | 162.5 | 201.6 | 160.3 | 129.8 | 168.8 | 131.0 | 110.0 | 83.5 | 52.8 | 1,422.1 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[4][5] |
เทศบาลข้างเคียง
แก้- จังหวัดฟูกูชิมะ
- จังหวัดนีงาตะ
สถิติประชากร
แก้ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[6] จำนวนประชากรของเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีจำนวนลดลงประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนเมื่อหนึ่งศตวรรษก่อน
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 6,817 | — |
1930 | 7,293 | +7.0% |
1940 | 7,945 | +8.9% |
1950 | 9,157 | +15.3% |
1960 | 10,119 | +10.5% |
1970 | 6,511 | −35.7% |
1980 | 4,790 | −26.4% |
1990 | 3,549 | −25.9% |
2000 | 3,204 | −9.7% |
2010 | 2,462 | −23.2% |
2020 | 1,862 | −24.4% |
ประวัติศาสตร์
แก้พื้นที่บริเวณคาเนยามะในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ และเป็นส่วนหนึ่งของการถือครองของแคว้นศักดินาไอซุในยุคเอโดะ หลังจากการปฏิรูปเมจิ ได้จัดพื้นที่ดังกล่าวให้อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอโอนูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 หมู่บ้านโยโกตะ คาวางูจิ นูมาซาวะ และฮนนะ ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้น หมู่บ้านเหล่านี้ยุบรวมกันเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1955 เพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านคาเนยามะ และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเมืองคาเนยามะเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1958
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองที่ชื่อมิฟูเกะ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทาดามิ ถูกทิ้งร้างหลังจากเกิดดินถล่มในเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 และปัจจุบันกลายเป็นหมู่บ้านร้างที่นักท่องเที่ยวและอดีตผู้อยู่อาศัยมาเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราวเท่านั้น ผู้อยู่อาศัยได้ย้ายถิ่นฐานไปที่หมู่บ้านอาเมนูมะซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ[7][8]
เศรษฐกิจ
แก้แหล่งรายได้หลักของเมืองมาจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนจำนวนมากบนแม่น้ำทาดามิ
การศึกษา
แก้เมืองคาเนยามะมีโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง ที่สังกัดเทศบาลเมืองคาเนยามะ และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่ง ที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูชิมะ
- โรงเรียนมัธยมปลายคาวางูจิ จังหวัดฟูกูชิมะ
การขนส่ง
แก้รถไฟ
แก้- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East): สายทาดามิ
- สถานี: ไอซุมิซูนูมะ – ไอซุนากางาวะ – ไอซุคาวางูจิ – ฮนนะ – ไอซุโคซูงาวะ – ไอซุโยโกตะ – ไอซุโอชิโอะ
ทางหลวง
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- ทะเลสาบนูมาซาวะ
- นูมาซาวะอนเซ็ง
- โอชิโอะอนเซ็ง
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "福島県の推計人口(令和5年4月1日現在)" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดฟูกูชิมะ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2023)]. จังหวัดฟูกูชิมะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.
- ↑ สถิติทางการของเมืองคาเนยามะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศคาเนยามะ
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
- ↑ สถิติประชากรคาเนยามะ
- ↑ "Mugenkyo no Watashi". Okuaizu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ "Foggy Fukushima river tour draws influx of visitors". The Japan Times. Fukushima Minpo. 16 กันยายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการของเมืองคาเนยามะ (ในภาษาญี่ปุ่น)