มีนอราอีแกลอน

(เปลี่ยนทางจาก Kalan Minaret)

มีนอราอีแกลอน (อุซเบก: Minorai Kalon/Минораи калон; เปอร์เซีย: مناره کلان/Minâra-i Kalân; แปลว่า หออะษานใหญ่) หรือ หออะษานแกลอน (อังกฤษ: Kalon Minor, Kalon Minaret)[2] เป็นหออะษานในปอยีแกลอน บูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน และเป็นหนึ่งในจุดสนใจสำคัญของเมือง

มีนอราอีแกลอน
มีนอราอีแกลอน
มีนอราอีแกลอนตั้งอยู่ในอุซเบกิสถาน
มีนอราอีแกลอน
ที่ตั้งในอุซเบกิสถาน
ชื่ออื่นหออะษานแกลอน, หออะษานแห่งปอยีแกลอน[1]
ที่ตั้งบูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน
ภูมิภาคบูฆอรอ
พิกัด39°46′33″N 64°24′51″E / 39.77583°N 64.41417°E / 39.77583; 64.41417
ประเภทหออะษาน
ส่วนหนึ่งของปอยีแกลอน
ความกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตรที่ฐาน, 6 เมตรที่ยอด
ความสูง45.6 เมตร, รวมยอด 48 เมตร
ความเป็นมา
ผู้สร้างArslan Khan Muhammad, อาณาจักรข่านคาราคานิด
วัสดุอิฐ
สร้าง1127
สมัยราชวงศ์คาราคานิดตะวันตก
วัฒนธรรมอิสลาม
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนศูนย์กลางประวัติศาสตร์บูฆอรอ
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์(ii), (iv), (vi)
ขึ้นเมื่อ1993 (คณะกรรมการสมัยที่ 29)
เลขอ้างอิง602
รัฐอุซเบกิสถาน
บูฆอรอเอเชียกลางและเหนือ

หอคอยนี้สร้างขึ้นในปี 1127 โดย Mohammad Arslan Khan ผู้ปกครองอาณาจักรข่านคาราคานิด เพื่อใช้งานเป็นหออะษาน หอคอยก่อขึ้นจากอิฐ มีความสูง 45.6 เมตร (48 เมตรหากรวมปลายยอด) และมีขนาดค่อย ๆ เล็กลงจากล่างขึ้นบนด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตรที่ฐาน, 6 เมตรที่ยอด ภายในหอมีบันไดเวียนขึ้นไปสู่ห้องโถงชั้นสูงสุดของหอคอย[3] ในยามศึกสงคราม หอคอยนี้ยังสามารถใช้เป็นหอสังเกตการณ์ข้าศึกได้[4]

เมื่อครั้งเจงกีส ข่าน กรีธาทัพมารบและทำลายล้างสิ่งก่อสร้างทั้งหมดในบูฆอรอจนราบ เจงกีส ข่าน สั่งให้ทหารเหลือหอคอยนี้ไว้ไม่ให้ทำลายเนื่องจากหอคอยนี้สร้างความประทับใจแก่เขาอย่างมาก[5] ในท้องถิ่นเรียกขานหอคอยนี้ว่า "หอคอยแห่งความตาย" เนื่องจากมีการประหารชีวิตนักโทษโดยการโยนจากยอดหอคอยนี้มาจนถึงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ฟิตซ์รอย มาเคลน ผู้เดินทางมายังบูฆอรอในปี 1938 ระบุไว้ในบันทึก Eastern Approaches ว่า "เป็นเวลานับหลายศตวรรษก่อนปี 1870 และอีกครั้งในช่วงปีอันวุ่นวายระหว่างปี 1917–1920 ผู้คนถูกโยนลงจากชั้นบนสุดของหอคอยที่ตกแต่งอย่างประณีตนี้"[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Historic Centre of Bukhara". unesco.org. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  2. "Kalon Minaret". lonelyplanet.com. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  3. www.advantour.com/uzbekistan
  4. Michell, G. 1995. Architecture of the Islamic World. London: Thames and Hudson, 259
  5. Mayhew, Bradley; Clammer, Paul; Kohn, Michael D. Lonely Planet Central Asia. Lonely Planet Publications. ISBN 1-86450-296-7.
  6. Maclean, Fitzroy (1949). "X: Bokhara the Noble". Eastern Approaches. Jonathan Cape. p. 147.