ปอยีแกลอน (อุซเบก: Poyi Kalon/Пойи Калон; เปอร์เซีย: پای کلان/Pā-i Kalān; แปลว่า ที่เบื้องบาทผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว) เป็นหมู่สิ่งก่อสร้างในศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่ในบูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน หมู่อาคารประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ คือ มัสยิดแกลอน (Masjidi Kalon), หออะษานแกลอน (Minorai Kalon) และมัดเราะซะฮ์มือร์อารับ (Mir Arab madrasasi) สิ่งก่อสร้างทั้งสามวางตัวเรียงกันล้อมรอบลานกว้างตรงกลาง ซึ่งล้อมรอบด้วยบะซาร์[1] มัสยิดแกลอนซึ่งเป็นมัสยิดวันศุกร์ถือเป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง เป็นรองเพียงมัสยิดบีบี-ฆอนึมซึ่งเป็นมัสยิดที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกันในซามาร์กันต์ และมัสยิดใหญ่เฮราตในอัฟกานิสถาน[1]

ปอยีแกลอน
ลานกว้าง, มัดเราะซะฮ์ และหออะษาน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
เขตบูฆอรอ
จังหวัดบูฆอรอ
สถานะองค์กรหมู่อาคารมัสยิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้งบูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน
ประเทศประเทศอุซเบกิสถาน
ปอยีแกลอนตั้งอยู่ในอุซเบกิสถาน
ปอยีแกลอน
ที่ตั้งในอุซเบกิสถาน
พิกัดภูมิศาสตร์39°46′33″N 64°24′51″E / 39.77583°N 64.41417°E / 39.77583; 64.41417
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด, มัดเราะซะฮ์, ลาน, หออะษาน
รูปแบบอิสลาม
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 12, คริสต์ศตวรรษที่ 16
ลักษณะจำเพาะ
หอคอย1
ความสูงหอคอย45.6 เมตร

มัสยิดและหออะษานสร้างขึ้นโดย Arslan Khan ในปี 1121 โดยที่หออะษานสร้างเสร็จในปี 1127[2] อย่างไรก็ตาม มัสยิดวันศุกร์หลังเดิมถูกเจงกีส ข่าน ทำลายไปในปี 1220 เหลือไว้เพียงหออะษาน มัสยิดหลังใหม่สร้างขึ้นในปี 1515 ตามด้วยมัดเราะซะฮ์ในปี 1535 โดย Ubaydullah Khan[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Gangler, Anette (2004). Bukhara, the Eastern Dome of Islam: Urban Development, Urban Space, Architecture and Population. Stuttgart. pp. 112–152.
  2. Emin, Leon. Muslims in the USSR. Russia, Novosti Press Agency Publishing House, 1989.
  3. Yusupova, Mavlyuda. “Islamic Architecture of Uzbekistan – Development and Features.” Journal of Islamic Thought and Civilization 2 (October 1, 2010).