โบสถ์โถง

(เปลี่ยนทางจาก Hall church)

วัดโถง (อังกฤษ: Hall church) คือคริสต์ศาสนสถานที่เพดานของทางเดินกลางและทางเดินข้างมีความสูงเท่าๆ กัน ที่มีหลังคาร่วมกันเป็นหลังคาใหญ่หลังคาเดียว คำว่า “Hall church” ใช้เป็นครั้งแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์เยอรมันวิลเฮล์ม ลืบค์ (Wilhelm Lübke) [1]

ประวัติ แก้

วัดโถงตรงกันกันข้ามกับลักษณะโดยทั่วไปของคริสต์ศาสนสถานอื่นที่เพดานของทางเดินข้างจะต่ำกว่าเพดานของทางเดินกลาง ซึ่งทำให้สามารถสร้างกำแพงที่สูงกว่าเหนือทางเดินข้าง ที่เปิดเป็นหน้าต่างชั้นบนให้แสงส่องลงมายังทางเดินกลางได้ แสงที่เข้ามาในวัดโถงมาจากหน้าต่างด้านข้างที่มักจะสูงพอๆ กับกำแพง

การสร้างวัดทรงนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่นที่วัดเซนต์บาโทโลมิวที่พาเดอร์บอร์น (Paderborn) ที่สร้างโดยสังฆราชไมน์เวิร์ค ที่ได้รับการสถาปนาราว ค.ศ. 1017) แต่ลักษณะการก่อสร้างวัดโถงมารุ่งเรืองที่สุดในปลายสมัยกอธิคโดยเฉพาะในสถาปัตยกรรมกอธิคพิเศษ (Sondergotik) ในเยอรมนีโดยเฉพาะในบริเวณเวสต์ฟาเลีย และในบริเวดินแดนอองชูทางตะวันตกของฝรั่งเศส เช่นที่สร้างที่มหาวิหารปัวตีเย การใช้ทรงนี้ที่อื่นก็มีที่สร้างในวัดที่มีขนาดย่อมกว่าเช่นในการสร้างชาเปล หรือการสร้างส่วนหลังของวัด (retrochoir) เช่นที่มหาวิหารซอลสบรีในอังกฤษเป็นต้น

 
วัดเซนต์บาโทโลมิว
พาเดอร์บอร์น
หลังคาเดียวที่คลุมทั้งทางเดินกลางและทางเดินข้าง
 
ภายในที่เป็นโถงของ
วัดเซนต์บาโทโลมิว

คริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคบางแห่งก็ใช้ผังแบบวัดโถงในการสร้าง โดยเฉพาะในการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมเยอรมัน ตัวอย่างของคริสต์ศาสนสถานที่ใช้ทรงนี้ก็ได้แก่การสร้างวัดเซนต์ฟรานซิสเดอซาลส์ที่มิสซูรีโดยวิคเตอร์ คลูธโนที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1908

คำว่า “วัดโถง” ที่มามีความหมายต่างไปจากเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือในการใช้ในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีประโยชน์ใช้สอยหลายอย่าง (multi-purpose building) ที่สามารถย้ายเก้าอี้ออกได้แทนที่จะเป็นม้านั่งที่สร้างอย่างถาวร และบริเวณสงฆ์ที่สามารถกันออกไปได้ด้วยฉาก เพื่อใช้ในการเป็นบริเวณในการทำกิจกรรมของชุมนุมชนได้ระหว่างวันทำงาน ลักษณะนี้เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในอังกฤษในวัดในเมืองใหญ่ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา

“วัดโถง” ต่างจาก "โถงวัด" (Church hall) ซึ่งหมายถึงห้องโถงที่อยู่ภายในวัดที่ใช้ในการทำกิจกรรมของชุมนุมชน[2].

อ้างอิง แก้

  1. Wilhelm Lübke Die mittelalterliche Kunst in Westfalen (1853)
  2. Use of Church Halls for Village Hall and Other Charitable Purposes, Charity Commission, United Kingdom, July 2001.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัดโถง

ระเบียงภาพ แก้