เต่าบึงจุด
ระวังสับสนกับ: เต่าบึงดำ
เต่าบึงจุด | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Testudines |
วงศ์: | Geoemydidae |
วงศ์ย่อย: | Geoemydinae |
สกุล: | Geoclemys Gray, 1856[2] |
สปีชีส์: | G. hamiltonii |
ชื่อทวินาม | |
Geoclemys hamiltonii (Gray, 1831) | |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
เต่าบึงจุด หรือ เต่าบึงดำลายจุด หรือ เต่าดำแฮมิลตัน (อังกฤษ: Black pond turtle, Spotted pond turtle, Indian spotted turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoclemys hamiltonii[4]) เต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae)
จัดเป็นเพียงเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Geoclemys[2] โดยชื่อ แฮมิลตัน ที่เป็นทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวสกอต ฟรานซิส แฮมิลตัน[5]
เต่าบึงจุด เป็นเต่าขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต มีลักษณะเด่น คือ ทั้งตัวและกระดองมีสีคล้ำเช่น สีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม ตามหัวลำตัวและกระดองมีจุดกลมสีเหลืองหรือสีขาวกระจายอยู่ทั่ว ขนาดของเพศผู้โตเต็มที่ไม่เกิน 11–12 นิ้ว และ เพศเมียมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ ขนาด 7–8 นิ้ว มีฤดูผสมพันธุ์ ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม ออกไข่ครั้งละ 6–10 ฟอง ระยะฟักไข่ 60–65 วัน อายุยืนประมาณ 15–20 ปี เป็นเต่าที่พบแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของอนุทวีปอินเดีย เช่น อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน
เต่าบึงจุด เป็นเต่าที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเชื่อว่าทำให้ผู้เลี้ยงได้มีชีวิตที่ยืนยาว มีความอยู่เย็นเป็นสุข ทำให้มีสนนราคาซื้อขายที่แพงมาก โดยเต่าขนาดเล็กมีราคาประมาณ 4,000 บาท และเต่าขนาดใหญ่ถึง 10,000 บาท [6] ซึ่งเต่าดำแฮมิลตัน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่อห้ามซื้อขายในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) แต่ก็เป็นเต่าที่มีลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ คราวละมาก ๆ ในครั้งเดียวโดยเก็บซ่อนไว้ในกระเป๋าเดินทาง และถูกมัดด้วยถุงพลาสติกหรือสก๊อตเทป ทำให้เต่าส่วนมากอ่อนแอ สภาพร่างกายขนาดน้ำและอาหาร และทำให้มีสภาพใกล้ตายได้[7]
ในประเทศไทย มีการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สวนสัตว์ดุสิต โดยลูกเต่าได้ฟักออกจากไข่เป็นตัวเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2018 จำนวนทั้งสิ้น 10 ตัว จากไข่ทั้งหมด 11 ฟอง และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน [8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Geoclemys hamiltonii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. 2000. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "Geoclemys Gray, 1856". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 222. ISSN 18640-5755. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
- ↑ Chelonia.org
- ↑ Beolens B, Watkins M, Grayson M. 2011. The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. (Geoclemys hamiltonii, p. 114).
- ↑ "ศุลกากรสุวรรณภูมิ ตรวจยึด "เต่าดำแฮมมมิลตัล" กว่า 200 ตัว ลักลอบ". เรื่องเล่าเช้านี้. 23 September 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
- ↑ "'เต่า'เหยื่อความเชื่อ ลักลอบค้า...ล่าล้างเผ่าพันธุ์". คมชัดลึก. 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ เทพศรี, ประเสริฐ (2018-07-05). "สวนสัตว์ดุสิต ต้อนรับสมาชิกเกิดใหม่ 'ลูกเต่าบึงจุด'". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Geoclemys hamiltonii ที่วิกิสปีชีส์