เดดิคูรัส

(เปลี่ยนทางจาก Doedicurus)
เดดิคูรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน-สมัยโฮโลซีน (Uquian-Lujanian)[1]
2–0.007Ma
เดดิคูรัส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับใหญ่: Xenarthra
อันดับ: Cingulata
วงศ์: Glyptodontidae
สกุล: Doedicurus
Burmeister 1874
สปีชีส์: D.  clavicaudatus
ชื่อทวินาม
†Doedicurus clavicaudatus
Owen 1847
ชื่อพ้อง[2]
รายการ
    • Glyptodon clavicaudatus
      Owen, 1847
    • Hoplophorus clavicaudatus
      Nodot, 1857
    • Glyptodon giganteus
      Serres, 1866
    • Panochthus giganteus
      Burmeister, 1874
    • Doedicurus giganteus
      Burmeister, 1874
    • Doedicurus uruguayanesis
      Gervais and Ameghino, 1847
    • Doedicurus gigas
      Ameghino, 1847

เดดิคูรัส เป็นสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประเภท Glyptodont มีชีวิตอยู่ระหว่างสมัยไพลสโตซีนจนกระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 11,000 ปีก่อน เป็น Glyptodontid ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก มีความสูง 1.5 เมตร ยาว 3.6 เมตร มีกระดองรูปโดมขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจาก Scute จำนวนมากติดกันอย่างแน่นหนา ค่อนข้างคล้ายกับ Armadillo ในปัจจุบัน หางห่อหุ้มด้วยแผ่นกระดูกที่ยืดหยุ่น มีเดือยแหลมหรือปุ่มยาวอยู่ที่ปลายหาง ซึ่งจะพบได้ในตัวผู้ทุกตัว

Doedicurus clavicaudatus อาศัยอยู่ในป่าและทุ่งหญ้า กินพืชเป็นอาหาร สันนิษฐานว่าน่าจะใช้หางในการต่อสู้กันเองและใช้ป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า และการใช้งานร่างกายส่วนหลังอาจทำได้ยากเนื่องจากสัตว์ชนิดนี้มีระยะการมองเห็นที่จำกัด ดังนั้นมันจึงมองไม่เห็นปลายหางที่ถูกเหวี่ยงเข้าใส่คู่ต่อสู้ นอกจากนี้ กระดองที่ถูกพบยังแสดงให้เห็นรอยแตกที่เกิดจากแรงกระแทกที่มากเท่าๆกับแรงที่เกิดจากกล้ามเนื้อหาง

กระดองยึดติดอย่างแน่นหนากับเชิงกราน แต่จะหลวมที่บริเวณไหล่ ที่ลำตัวส่วนหน้าจะมีกระดองขนาดเล็กกว่าอีกอันหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดช่องว่างที่เต็มไปด้วยไขมัน เช่นเดียวกับโหนกของอูฐ ที่ใช้เก็บพลังงานสำหรับใช้ในฤดูแล้ง และยังช่วยบรรเทาแรงกระแทกจากหางของคู่ต่อสู้

ฟอสซิลของ Doedicurus clavicaudatus ถูกพบในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ Ensenada Formation ในอาร์เจนตินา เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้สูญพันธุ์ไปเมื่อไม่นานมานี้ จึงสันนิษฐานว่าอาจถูกล่าโดยมนุษย์กลุ่มแรกที่ตั้งรกรากอเมริกาใต้ ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้คือ 2/5 สัตว์ที่อุ้มบุญน่าจะเป็นอมาดิลโล แต่ความเหมาะสมมีเพียง 1/5 เพราะอมาดิลโลยักษ์ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาอมาดิลโลชนิดเดียวกัน ยังมีน้ำหนักแค่ 30 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับไซส์รถเต่าแล้ว ถือว่ายังห่างกันไกล

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fossilworks
  2. Lydekker, R. (1887). Catalogue of the Fossil Mammalia in the British Museum, (Natural History): The group Tillodontia, the orders Sirenia, Cetacea, Edentata, Marsupialia, Monotremata, and Supplement. Natural History Museum, London. pp. 122–123.