ตุ่นจมูกดาว

(เปลี่ยนทางจาก Condylura)
ตุ่นจมูกดาว
ส่วนใบหน้าของตุ่นจมูกดาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Soricomorpha
วงศ์: Talpidae
วงศ์ย่อย: Scalopinae
เผ่า: Condylurini
Gill, 1875
สกุล: Condylura
Illiger, 1811
สปีชีส์: C.  cristata
ชื่อทวินาม
Condylura cristata
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย
  • C. c. cristata (Linnaeus, 1758)
  • C. c. nigra Smith, 1940
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของตุ่นจมูกดาว

ตุ่นจมูกดาว (อังกฤษ: Star-nosed mole, ชื่อวิทยาศาสตร์: Condylura cristata) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Condylura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[2]

ตุ่นจมูกดาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตุ่นชนิดอื่น ๆ แต่มีส่วนหางยาว โดยลักษณะเฉพาะตัวที่ดูโดดเด่น คือ เส้นขนที่จมูกที่บานออกเป็นแฉก ๆ คล้ายดาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นประสาทสัมผัส 22 เส้นอยู่รอบรูจมูก โดยมีปลายสัมผัสที่เส้นขนเหล่านี้มากมายราวถึงหนึ่งแสนจุด

ตุ่นจมูกดาว อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มชื้นแฉะ ในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือระหว่างแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยพบไปถึงชายฝั่งทะเลในรัฐจอร์เจีย

โตเต็มวัยจะมีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 55 กรัม มีฟัน 44 ซี่ หากินด้วยการใช้กรงเล็บอันแข็งแรงขุดคุ้ยดินในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือตะกอนลำธาร โดยใช้หนวดรอบจมูกคอยสอดส่องหา อันได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลงน้ำและตัวอ่อนชนิดต่าง ๆ, สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึก เป็นต้น

ซึ่งประสาทสัมผัสรอบจมูกนี้มีความว่องไวมาก ทำให้ตุ่นจมูกดาวสามารถจับเหยื่อเพื่อกินได้ในเวลาเพียง 120 มิลลิวินาทีเท่านั้น

นอกจากนี้แล้ว ตุ่นจมูกดาวยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สามารถดมกลิ่นใต้น้ำได้อีกด้วย โดยจะใช้หนวดสำรวจหาเหยื่อตามก้นแหล่งน้ำ โดยจะพ่นฟองอากาศออกมาจากรูจมูกหลายครั้ง เพื่อให้โมเลกุลกลิ่นในน้ำผสมกับอากาศ จากนั้นก็ทำการสูดหายใจเอาฟองอากาศกลับเข้าไปอย่างรวดเร็วด้วยความถี่ประมาณ 10 ครั้งต่อวินาทีเพื่อตรวจหากลิ่นของเหยื่อในน้ำ อีกทั้งยังเป็นตุ่นที่มีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตและหากินบนพื้นดินมากกว่าจะขุดโพรงอยู่ใต้ดินเหมือนเช่นตุ่นชนิดอื่น ๆ อีกด้วย[3][4] [5]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. Hutterer, Rainer (16 November 2005). Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M.. ed. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 300–301. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494. http://www.bucknell.edu/msw3.
  4. Gould, Edwin; McShea, William; Grand, Theodore (1993). "Function of the Star in the Star-Nosed Mole, Condylura cristata". Journal of Mammalogy (American Society of Mammalogists) 74 (1): 108–116. doi:10.2307/1381909. JSTOR 1381909.
  5. หน้า 37, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Condylura cristata ที่วิกิสปีชีส์