ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง

(เปลี่ยนทางจาก Cerebral venous sinus thrombosis)

ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง (อังกฤษ: cerebral venous sinus thrombosis (CVST), cerebral venous and sinus thrombosis, cerebral venous thrombosis (CVT)) คือการเกิดลิ่มเลือดขึ้นในโพรงเลือดดำ (venous sinus) ของเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (dural venous sinus) หรือในหลอดเลือดดำสมอง หรือทั้งสองที่ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว และอาการอื่นๆ เหมือนที่พบในโรคหลอดเลือดสมอง เช่น แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาการชัก เป็นต้น

ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง
(Cerebral venous sinus thrombosis)
ชื่ออื่นCerebral venous and sinus thrombosis, (superior) sagittal sinus thrombosis, dural sinus thrombosis, intracranial venous thrombosis, cerebral thrombophlebitis
ระบบเลือดดำของเยื่อหุ้มสมอง
สาขาวิชาNeurology
การรักษาLow molecular weight heparin[1]

การวินิจฉัยทำได้โดยการถ่ายภาพรังสีของสมอง อาจเป็นการทำซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอ เพื่อแสดงให้เห็นการอุดตันในโพรงเลือดดำของสมอง เมื่อวินิจฉัยภาวะนี้ได้แล้วอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด ในกรณีที่ไม่ได้ปรากฎชัดอยู่ก่อน

การรักษาส่วนใหญ่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพารินชนิดมวลโมเลกุลต่ำ บางครั้งอาจต้องใช้ยาสลายลิ่มเลือด โรคนี้อาจทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะขึ้นสูงได้ หากมีภาวะนี้บางครั้งอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การวางสายระบาย เป็นต้น

ประวัติ แก้

วัคซีนโควิด-19 แก้

ในช่วงที่มีการระบาดทั่วของโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ถูกพัฒนาขึ้นมาและใช้กันแพร่หลาย European Medicines Agency (EMA) ได้ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ว่า จากการติดตามผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าทั่วโลก 20 ล้านคน พบว่าอัตราการเกิดลิ่มเลือดไม่ต่างจากคนที่ไม่ได้รับวัคซีน แต่พบผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย 7 คน และลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง 18 คน[2] แม้จะยังไม่พบหลักฐานที่บ่งบอกว่าการได้วัคซีนดังกล่าวเป็นสาเหตุของภาวะเหล่านี้ แต่ EMA ก็ตัดสินใจที่จะเก็บข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้นี้เพิ่มเติม และแจ้งผู้รับวัคซีนให้ทราบถึงความเสี่ยงที่น้อยมากนี้[2] EMA ยังยืนยันอีกว่าผลดีที่ได้จากการรับวัคซีนมีน้ำหนักเหนือกว่าความเสี่ยงอย่างมาก[2] และได้ปรับปรุงข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำนี้[3][4][5]

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Al2018
  2. 2.0 2.1 2.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: benefits still outweigh the risks despite possible link to rare blood clots with low blood platelets". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 18 March 2021. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.
  3. "COVID-19 Vaccine AstraZeneca – Update on ongoing evaluation of blood clot cases". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  4. "Annex 1: Summary of Product Characteristics" (PDF). European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 29 March 2021.
  5. "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: Risk of thrombocytopenia and coagulation disorders". European Medicines Agency (EMA). 24 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก