รถสายพานลำเลียงพลบรองโก

(เปลี่ยนทางจาก Bronco ATTC)

รถสายพานลำเลียงพลบรองโก (อังกฤษ: Bronco All Terrain Tracked Carrier (ATTC)) เป็นรถสายพานลำเลียงพลอเนกประสงค์ตัวถังคู่ที่พัฒนาร่วมกันโดยเอสที ไคเนติกส์ และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (DSTA) สำหรับกองทัพบกสิงคโปร์ ส่วนรุ่นที่ใช้กับกองทัพสหราชอาณาจักรเป็นที่รู้จักในนามวอร์ตฮอก

รถสายพานลำเลียงพลบรองโก
บรองโก เอทีทีซี
ชนิดรถหุ้มเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก
แหล่งกำเนิดสิงคโปร์
บทบาท
ผู้ใช้งานดูประจำการ
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบเอสที ไคเนติกส์
บริษัทผู้ผลิตเอสที ไคเนติกส์, โอโทคาร์ (ภายใต้ใบอนุญาต)[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล15 ตัน (33,100 ปอนด์)
ความยาว8.6 เมตร (28 ฟุต 3 นิ้ว)
ความกว้าง2.2 เมตร (7 ฟุต 2.6 นิ้ว)
ความสูง2.3 เมตร (7 ฟุต 6.6 นิ้ว)
ลูกเรือ16 นาย (หน้า 6 นาย + หลัง 10 นาย)

เกราะเหล็กกล้า, ระบบป้องกันเชิงรุกเอเอ็มเอพี-เอดีเอส
อาวุธหลัก
ปืนกลเอนกประสงค์เอฟเอ็น มาค 7.62 มม. (เอทีทีซี); หรือ
ปืนกลเบาอัลติแมกซ์ 100 5.56 มม.[2]
อาวุธรอง
เครื่องยิงลูกระเบิดควัน
เครื่องยนต์แคทเทอร์พิลลาร์ 3126บี
350 แรงม้าเบรก (261 กิโลวัตต์) ที่ 2,400 รอบต่อนาที
ความเร็วถนนปูลาด: 60 กม./ชม. (37.3 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ทางขรุขระ: 25 กม./ชม. (15.5 ไมล์ต่อชั่วโมง)
การว่ายน้ำ: 4.5 กม./ชม. (2.80 ไมล์ต่อชั่วโมง)

การออกแบบ แก้

ออกแบบมาเพื่อสำรวจภูมิประเทศที่มีอุปสรรค บรองโกมีแรงดันดินที่ 60 กิโลปาสกาลและพอดีกับสายพานยางไร้รอยต่อหนักแบบทนทาน รวมทั้งระบบเกียร์ทำงานสำหรับสภาพพื้นดินที่อ่อนนุ่มและความมั่นคงในทิศทาง ส่วนปฏิบัติการว่ายน้ำจำเป็นต้องเตรียมการเล็กน้อย และสามารถบรรลุความเร็วในการว่ายน้ำได้ 5 กม./ชม. บรองโกมีสี่เฟืองขับ, การเลี้ยวโดยการหักลำตัวอย่างเต็มที่ด้วยระบบล็อกเฟืองท้าย ที่ช่วยในรัศมีวงเลี้ยวขนาดเล็กและเพิ่มประสิทธิภาพ

บรองโกมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ถึง 5 ตัน และสามารถทำความเร็วสูงสุดบนท้องถนนได้ 60 กม./ชม. (37 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอย่างน้อย 25 กม./ชม. (16 ไมล์ต่อชั่วโมง) บนภูมิประเทศทางขรุขระ ข้อได้เปรียบที่มาตรฐานบรองโกมีเหนือรถลำเลียงพลหุ้มเกราะอื่น ๆ คือ ภายในที่ค่อนข้างใหญ่ มีที่นั่งสำหรับ 16 คน รวมทั้งคนขับ

ในงานดีเอสอีไอ 2017 เอสที ไคเนติกส์ ประกาศว่าบรองโก 3 ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และมีโมเดลแบบคงที่[3]

การเคลื่อนกำลังพล แก้

บรองโกปฏิบัติงานอย่างเต็มรูปแบบกับกองทัพสิงคโปร์มานานหลายปี พร้อมส่งมอบมากกว่า 600 คัน[4]

ประจำการสหราชอาณาจักร แก้

 
วอร์ตฮอกของสหราชอาณาจักรในการทดลองที่ค่ายโบวิงตัน

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 เอสที ไคเนติกส์ ได้รับสัญญามูลค่า 150 ล้านปอนด์จากกระทรวงกลาโหมอังกฤษสำหรับรถสายพานลำเลียงพลบรองโกกว่า 100 คันเพื่อใช้ในประเทศอัฟกานิสถานภายใต้ความต้องการปฏิบัติการเร่งด่วน (UOR)[5] ยานพาหนะที่ขนานนามว่าวอร์ตฮอกในประจำการสหราชอาณาจักร ได้เสริมปฏิบัติการไวกิงทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานโดยกองทัพสหราชอาณาจักร[6] และได้รับการจัดหาโดยเป็นส่วนหนึ่งของรายการเหมาความต้องการปฏิบัติการเร่งด่วน (UOR) มูลค่า 700 ล้านปอนด์ ที่ประกาศโดยรัฐมนตรีกลาโหมจอห์น ฮัตตัน โดยการส่งมอบเริ่มในไตรมาสที่สามของ ค.ศ. 2009 และเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 2010[7][8]

วอร์ตฮอกสี่รุ่นได้รับการสร้างขึ้นภายใต้สัญญา ได้แก่ แบบลำเลียงพล, รถพยาบาล, บัญชาการ ตลอดจนรุ่นซ่อมแซมและกู้คืน ซึ่งรุ่นรถพยาบาลสามารถบรรทุกผู้บาดเจ็บ, เวชภัณฑ์ และชุดอุปกรณ์ได้ ส่วนรุ่นซ่อมแซมและกู้คืนของวอร์ตฮอกได้ติดตั้งเครนและเครื่องกว้าน รวมถึงมีความสามารถในการลากรถวอร์ตฮอก 18 ตันอีกคันกลับจากแนวหน้า[9]

เมื่อส่งมอบไปยังสหราชอาณาจักรแล้ว ผู้รับเหมาบริษัทตาเลซได้ติดตั้งยานพาหนะตามข้อกำหนดของม็อดด้วยระบบสื่อสาร, อุปกรณ์ตรวจวัดสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และเกราะป้องกันพิเศษที่โรงงานของพวกเขาในคลังเก็บม็อดเดิมที่ลานเกนเนค ใกล้ลาเนลี เซาท์เวลส์[10] ซึ่งรถยนต์คันแรกมาถึงประเทศอัฟกานิสถานในกลาง ค.ศ. 2010

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 ทหารกองทัพบกสหราชอาณาจักร – สิบตรี วิลเลียม รีกส์ – รอดชีวิตจากการโจมตีด้วยระเบิดแสวงเครื่องหลังจากที่เขาเดินทางไปพร้อมกับวอร์ตฮอก โดยเชื่อว่าระเบิดแสวงเครื่องมีน้ำหนัก 50 กก. (110 ปอนด์) ครอบครัวของเขาเชื่อว่าเกราะที่แข็งแรงกว่าของวอร์ตฮอก ซึ่งแทนที่ยานเกราะไวกิงที่มีความแข็งแกร่งน้อยกว่าก่อนที่จะมีการอัปเกรดการป้องกัน ได้ช่วยชีวิตลูกชายของพวกเขา[11][12]

วอร์ตฮอกยังคงประจำการสหราชอาณาจักรในจังหวัดเฮลเมินด์จนกระทั่งยุติแคมป์บาสชันใน ค.ศ. 2015 ซึ่งได้รับการควบคุมตลอดการใช้งานในอัฟกานิสถานโดยทหารจากเหล่ายานเกราะสหราชอาณาจักรเท่านั้น กองวอร์ตฮอกสุดท้ายมาจากกองทหาร (ดยุกแห่งเอดินบะระ) ซี กรมทหารม้าฮาซาร์แห่งราชินี

คู่มือการทหารของเจนได้รายงานว่ายานพาหนะวอร์ตฮอกของสหราชอาณาจักรจะได้รับการเปลี่ยนเพื่อใช้เป็นยานลำเลียงสำหรับอากาศยานไร้คนขับธาเลสวอตช์คีปเปอร์ ซึ่งประจำการโดยกรมทหารปินใหญ่ที่ 32 แห่งสหราชอาณาจักร และกรมทหารปินใหญ่ที่ 47 แห่งสหราชอาณาจักร ภายใต้แนวคิดกองทัพบก 2020[13] อนึ่ง รายงานของเจนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 ระบุว่ากองทัพบกสหราชอาณาจักรได้เข้ามาแทนที่วอร์ตฮอกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 เนื่องจากมันถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการในอัฟกานิสถานโดยเฉพาะ[14]

รุ่น แก้

 
เหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 ซึ่งนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังสำรวจพื้นที่น้ำท่วมร่วมกับคณะ บนยอดบรองโกลำเลียงพลของกองทัพบกไทย

สิงคโปร์ได้ทำการปรับใช้บรองโกหลายรุ่น รวมถึงรถพยาบาล, ทหารช่าง, ซ่อมแซมและกู้คืน, บรรทุกสัมภาระ, ลำเลียงพล และยานพาหนะเติมเชื้อเพลิง

ปืนครกอัตตาจรสายพาน แก้

ปืนครกอัตตาจรสายพาน (MTC) ซึ่งเป็นรุ่นของรถสายพานลำเลียงพลบรองโก ได้รับการพัฒนาโดยกองทัพสิงคโปร์, สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม และเอสที ไคเนติกส์ ใช้งานโดยลูกเรือ 4 นาย อาวุธหลักของปืนครกอัตตาจรสายพานคือเอสที ไคเนติกส์ 120 มม. ซูเปอร์แรพพิดแอดวานซ์มอร์ตาร์ซิสเต็ม (SRAMS) โดยเป็นปืนครกแรงสะท้อนถอยหลังตัวแรกของโลกที่รวมตัวกระจายการระเบิด[15] ซึ่งลดผลกระทบแรงดันเกินจากการระเบิดอย่างมากจากปืนครก จึงช่วยให้ยิงได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ทำให้ลูกเรือได้รับบาดเจ็บ ปืนครกอัตตาจรสายพานมีระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติ (AFCS) ในตัว ประกอบด้วยหน่วยควบคุมการยิงและระบบนำทางเฉื่อย ซึ่งอำนวยให้ดำเนินการปรับใช้ทันทีโดยไม่มีวิธีการสำรวจตามแบบแผน ส่วนระบบการหดตัวด้วยไฮโดร-นิวเมติกส์ ช่วยลดแรงสะท้อนกลับโดยรวม ซึ่งช่วยเสริมแรงสะท้อนน้อยที่สุดของโครงสร้างตัวถังเดิม รวมถึงเวลาทรงตัวหลังการยิง โดยสิ่งนี้จะเพิ่มอัตราการยิงด้วยความแม่นยำที่ดีขึ้น

ระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติยังติดตั้งระบบการจัดการหมวดทหารปืนครก (MPMS) ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านระบบการจัดการสนามรบ (BMS)

ประจำการ แก้

 
แผนที่ของบรองโกประจำการเป็นสีน้ำเงิน

ประจำการปัจจุบัน แก้

อดีตประจำการ แก้

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 2019-06-24.
  2. Christopher F Foss (20 มิถุนายน 2000). "New All Terrain Vehicle Makes Tracks For Eurosatory". Jane's Daily (subscription required to access). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2009. สืบค้นเมื่อ 26 September 2009.
  3. Judson, Jen (2017-09-14). "ST Kinetics unveils Bronco tracked vehicle for expanded missions". Defense News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-16.
  4. "Bronco seeks first export orders". Jane's Defence Industry. 3 July 2006.
  5. "ST Engineering's Land Systems Arm Awarded £150m Contract By UK MoD For Bronco All Terrain Tracked Carriers". ST Kinetics. 18 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2008.
  6. "Singapore to Supply Armored Vehicles to U.K."[ลิงก์เสีย], Defence News, 4 December 2008
  7. "The Warthog is on its way" เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ministry of Defence, 19 December 2008
  8. Singaporean Carriers for the Royal Marines[ลิงก์เสีย]
  9. "Get Ready for the Beast". Defense Aerospace. 18 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
  10. "New base to equip Afghan vehicles". BBC News. 19 November 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  11. Paul, Christian (17 January 2011). "Welwyn Hatfield-born soldier survives Afghanistan bomb blast". Welwyn Hatfield Times. Welwyn Hatfield: Archant Regional Ltd. สืบค้นเมื่อ 8 February 2011.[ลิงก์เสีย]
  12. Paul, Christian (4 February 2011). "Welwyn Hatfield soldier's survival tale makes a splash in Singapore". Welwyn Hatfield Times. Welwyn Hatfield: Archant Regional Ltd. สืบค้นเมื่อ 8 February 2011.[ลิงก์เสีย]
  13. "Warthog heads for UK UAV support role - IHS Jane's 360". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  14. "British Army ditches Warthog armoured vehicle | IHS Jane's 360". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 March 2016.
  15. "Lethality on the Modern Battlefield" เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, RUSI Defence Systems, 2004
  16. de Larrinaga, Nicholas (10 March 2016). "British Army ditches Warthog armoured vehicle". IHS Jane's 360 (ภาษาอังกฤษ). London: IHS Jane's. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้