บุลินกราวนด์

(เปลี่ยนทางจาก Boleyn Ground)

บุลินกราวนด์[2] (อังกฤษ: Boleyn Ground) หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า อัปตันพาร์ก (Upton Park) เพราะสนามนี้ตั้งอยู่ที่ย่านอัปตันในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นอดีตสนามฟุตบอลเหย้าของเวสต์แฮมยูไนเต็ด

บุลินกราวนด์
อัปตันพาร์ก

อัลพารีสแตนด์จากกรีนสตรีต
แผนที่
ที่ตั้งกรีนสตรีตอัปตันพาร์ก, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร E13 9AZ
พิกัด51°31′55″N 0°2′22″E / 51.53194°N 0.03944°E / 51.53194; 0.03944
เจ้าของสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด
ผู้ดำเนินการสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด
ความจุ35,016 ที่นั่ง[2]
ขนาดสนาม110 x 70 หลา[2]
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามค.ศ. 1904
งบประมาณในการก่อสร้าง16 ล้านปอนด์[1]
สถาปนิกเฮนรี ฟิลิป ตีเต พาร์กเกอร์
การใช้งาน
เวสต์แฮมยูไนเต็ด (1904–2016)
ชาร์ลตันแอทเลติก (1991–1992)

ประวัติ

แก้

เวสต์แฮมยูไนเต็ดได้เช่าพื้นที่ติดกับกรีนสตรีต โดยบริเวณนั้นอยู่ในการปกครองของเทศบาลเมืองอีสต์แฮม รวมไปถึงโบสถ์ของชาวโรมันคาทอลิกด้วย ในปี ค.ศ. 1912[3] โดยบ้านในแถบกรีนสตรีตนั้น จะถูกเก็บค่าเช่าและภาษีโดยแอนน์ บุลิน โดยบริเวณนั้นมีข่าวลือว่าถูกหลอกหลอนโดยเธอ ซึ่งเสียชีวิตจากการประหารด้วยการบั่นศีรษะ ซึ่งในแถบนั้นก็มีปราสาทบุลินอยู่ด้วย อันเป็นที่มาชื่อสนามแห่งนี้[4] แต่ชื่อสนามที่ผู้คนทั่วไปพูดถึง ก็คือ "อัปตันพาร์ก" เพราะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ตามชื่อของย่านอัปตันในกรุงลอนดอน

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 เครื่องบินทิ้งระเบิด วี-1 ฟลายอิง ได้ลงจอดในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสนาม ซึ่งเหมือนเป็นการกดดันไม่ให้เล่นในบ้าน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเวสต์แฮมยูไนเต็ดสามารถชนะได้ถึง 9 นัดติดต่อกัน ต่อมาในเดือนธันวาคม เวสต์แฮมยูไนเต็ดได้กลับมาเล่นในบ้านอีกครั้ง และได้แพ้ต่อทอตนัมฮอตสเปอร์ ไป 1–0 ในวันที่ ซึ่งในนัดนั้นก็เป็นสถิติของสนามอีกด้วย เนื่องจากได้จุผู้ชมถึง 42,322 คน ในฟุตบอลดิวิชัน 1 ของอังกฤษ ถัดมาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2002 ในนัดที่พบกับแมนเชสเตอร์ซิตีในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ก็ได้มีการทำสถิติของสนามอีกครั้ง โดยมียอดผู้ชม 35,550 คน โดยในขณะนั้นสนามบุลินกราวนด์ได้เป็นสนามที่ติดเก้าอี้ทั้งหมดแล้ว

 
รูปปั้นที่ด้านถนนบาร์กกิง

โดยปัจจุบันความจุของสนามอยู่ที่ 35,016 ที่นั่ง[2] โดยทางสนามได้ปรับปรุงมาตั้งแต่ยุคสมัยปี ค.ศ. 1990 ดังนี้

  • ค.ศ. 1993 : อัฒจันทร์ทิศใต้ ติดที่นั่งทั้งหมด 9,000 ที่นั่ง และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "บ็อบบี มัวร์สแตนด์" ซึ่งเคยเป็นกัปตันทีมเวสต์แฮมยูไนเต็ด และเขาก็ได้เสียชีวิตในปีเดียวกัน โดยอัฒจันทร์ด้านนี้มีห้องวีไอพีและนาฬิกาดิจิทัลด้วย
  • ค.ศ. 1995 : อัฒจันทร์ทิศเหนือ ติดที่นั่งทั้งหมด 6,000 ที่นั่ง และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เซ็นเทนารีสแตนด์" โดยปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เซอร์ เทรเวอร์ บรุกกิง สแตนด์"
  • ค.ศ. 2001 : อัฒจันทร์ทิศตะวันตก ติดที่นั่งทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นด็อกเตอร์มาร์เต็นส์สแตนด์ โดยอัฒจันทร์ด้านนี้มีห้องวีไอพีที่ชั้นสองและโรงแรมเวสต์แฮมยูไนเต็ด
ภาพมุมกว้างจากอัฒจันทร์ด้านตะวันออกของบุลินกราวนด์

นัดสุดท้าย

แก้

เวสต์แฮมยูไนเต็ด ลงแข่งในบุลินกราวนด์เป็นครั้งสุดท้ายในนัดที่ 37 ของพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2015–16 ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 โดยเป็นฝ่ายเอาชนะ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ไปได้ 3-2 ทั้งที่เป็นฝ่ายถูกยิงตามหลังถึง 2 ครั้ง โดยแมนออฟเดอะแมตช์ของนัดนี้คือ ดีมีทรี ปาแย็ต[5] ก่อนที่ฤดูกาลหน้าจะย้ายไปสนามแห่งใหม่ คือ โอลิมปิกสเตเดียม ด้วยสัญญาเช่านาน 99 ปี เนื่องจากทางสโมสรได้ขายสนามและพื้นที่แห่งนี้ให้กลับกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไปตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2014 โดยผู้เล่นทั้งหมดรวมถึงกลุ่มผู้ฝึกสอนได้ถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่สนามแห่งนี้เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2015 รวมระยะเวลาที่ใช้สนามนี้ 111 ปี[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Top 10 London Football Grounds". clondoncity.co.uk. 21 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 10 January 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Stadium information | West Ham United | Tickets | Stadium Information". Whufc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-06. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.
  3. "'East Ham: Manors and estates', A History of the County of Essex: Volume 6 (1973), pp. 8–14". British-history.ac.uk. 22 June 2003. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.
  4. "ทำไมต้องโบลีนกราวน์สารซ่อนเร้นจากเวสต์แฮม". คมชัดลึก. 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 10 January 2016.
  5. ""มาร์กซิอาล" เบิ้ลก็ไร้ค่า ผีส่อวืด ชปล. พ่ายค้อน 2-3". ผู้จัดการออนไลน์. 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.[ลิงก์เสีย]
  6. "ภาพประวัติศาสตร์! 'ขุนค้อน'ถ่ายรูปหมู่อำลา 'โบลีน กราวน์'". ไทยรัฐ. 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้