แอนน์ แฮททาเวย์
แอนน์ แจ็กเกอลีน แฮททาเวย์ (อังกฤษ: Anne Jacqueline Hathaway; เกิด 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลออสการ์, รางวัลแบฟตา, รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลไพรม์ไทม์เอมมี เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่มีรายได้สูงที่สุดในโลกใน ค.ศ. 2015 ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้กว่า 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และยังปรากฏอยู่ในรายชื่อคนดัง 100 คนของฟอบส์ ใน ค.ศ. 2009 ด้วย
แอนน์ แฮททาเวย์ | |
---|---|
แฮททาเวย์ใน ค.ศ. 2023 | |
เกิด | แอนน์ แจ็กเกอลีน แฮททาเวย์ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยวาซซาร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1997–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | แอดัม ชูลแมน (สมรส 2012) |
บุตร | 2 คน |
รางวัล | รายการทั้งหมด |
แฮททาเวย์จบการศึกษาจากโรงเรียนมิลล์เบิร์นไฮสกูลในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่ซึ่งทำให้เธอได้แสดงในละครเวทีหลายเรื่อง ในช่วงวัยรุ่น เธอได้แสดงละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เก็ตเรียล (1999–2000) และได้รับความก้าวหน้าทางอาชีพจากบทตัวเอกในภาพยนตร์ตลกของดิสนีย์เรื่อง บันทึกรักเจ้าหญิงมือใหม่ (2001) ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ หลังจากแสดงนำในภาพยนตร์ครอบครัวที่ไม่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง แฮททาเวย์ได้เปลี่ยนไปสู่บทบาทผู้ใหญ่อย่างภาพยนตร์เมื่อ ค.ศ. 2005 เรื่อง วัยร้าย วัยร้อน และ หุบเขาเร้นรัก ภาพยนตร์แนวตลก-ดราม่าเรื่อง นางมารสวมปราด้า (2006) ซึ่งเธอรับบทเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่น เป็นความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเธอ ณ จุดนั้น เธอยังรับบทเป็นผู้ติดยาเสพติดที่กำลังฟื้นตัวจากอาการป่วยทางจิตในภาพยนตร์เรื่อง วันวิวาห์สมานดวงใจ ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
แฮททาเวย์ยังคงแสดงในภาพยนตร์รักที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์อย่าง สงครามงานแต่ง...แข่งกันเป็นเจ้าสาว (2009), วาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก (2010) และ ยาวิเศษที่ไม่อาจรักษารัก (2010) และภาพยนตร์แฟนตาซีเรื่อง อลิซในแดนมหัศจรรย์ (2010) ใน ค.ศ. 2012 เธอแสดงเป็นเซลีนา ไคล์ / แคตวูแมน ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของเธอ แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายในภาพยนตร์ไตรภาค แบทแมน ในปีเดียวกัน เธอยังแสดงเป็นฟองตีน โสเภณีที่เสียชีวิตด้วยวัณโรค ในภาพยนตร์เพลงแนวรัก-ดราม่าเรื่อง เล มิเซราบล์ ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากนั้นเธอแสดงเป็นนักวิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์เรื่อง อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก (2014), เจ้าของเว็บไซต์แฟชั่นออนไลน์ในภาพยนตร์ตลกเรื่อง ดิ อินเทิร์น โก๋เก๋ากับบอสเก๋ไก๋ (2015), นักแสดงหญิงผู้หยิ่งผยองในภาพยนตร์โจรกรรมเรื่อง โอเชียน 8 (2018), นักต้มตุ๋นในภาพยนตร์ตลกเรื่อง โกงตัวแม่ (2019) และรีเบกาห์ นอยมันน์ในซีรีส์ขนาดสั้นเรื่อง วีแครช (2022)
นอกเหนือจากบทบาทในภาพยนตร์ แฮททาเวย์ยังได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสำหรับบทพากย์เสียงในการ์ตูนซิตคอมเรื่อง เดอะซิมป์สันส์, ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์, ปรากฏอยู่บนละครเวที และเป็นเจ้าภาพจัดงานต่าง ๆ เธอร่วมสนับสนุนองค์กรการกุศลหลายครั้ง เธอเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโลลีป็อปเธียเตอร์เน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นองค์กรที่นำภาพยนตร์มาสู่เด็กในโรงพยาบาล และสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในฐานะทูตสันถวไมตรีขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ
ชีวิตช่วงแรกและภูมิหลัง
แก้แอนน์ แจ็กเกอลีน "แอนนี"[1] แฮททาเวย์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ในบรุกลิน เขตการปกครองของนครนิวยอร์ก พ่อของเธอชื่อ เจอรัลด์ เป็นทนายความแรงงาน แม่ของเธอ เคต (สกุลเดิม แม็กคอลลีย์) เป็นอดีตนักแสดง[2][3] ตาของแฮททาเวย์ โจ แม็กคอลลีย์ เป็นนักจัดรายการวิทยุดับเบิลยูไอพี (เอเอ็ม) ในฟิลาเดลเฟีย[4] แม่ของเธอมีเชื้อสายไอริชและพ่อของเธอมีเชื้อสายไอริช ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน โดยชื่อ "แฮททาเวย์" ตั้งตามชื่อภรรยาของเชกสเปียร์[5] เธอมีพี่ชายชื่อ ไมเคิล และน้องชายชื่อ ทอมัส[6] เมื่อแฮททาเวย์อายุหกขวบ ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่มิลล์เบิร์น รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งเธอก็เติบโตอยู่ที่นั่น[7]
เมื่ออายุแปดปี[3] แฮททาเวย์ได้ดูแม่ของเธอขึ้นแสดงในทัวร์ระดับชาติครั้งแรกของ เลมีเซราบล์ ในบทฟองตีน เธอรู้สึกตรึงตาตรึงใจกับละครเวทีอย่างมาก แต่พ่อแม่ของเธอไม่อนุญาตให้ประกอบอาชีพเป็นนักแสดง จากนั้นเคตก็เลิกแสดงเพื่อกลับไปเลี้ยงดูแฮททาเวย์และพี่น้องของเธอดังเดิม[8]
ผลงานการแสดง
แก้† | หมายถึง ผลงานที่ยังไม่ออกฉาย |
ภาพยนตร์
แก้ปี | เรื่อง | บทบาท | รายละเอียดเพิ่มเติม |
---|---|---|---|
2001 | บันทึกรักเจ้าหญิงมือใหม่ | มีอา เธอร์โมโพลิส | |
2001 | ใต้เงาแห่งฝัน | จีน ซาบิน | |
2002 | เจ้าแมวยอดนักสืบ | ฮารุ | พากย์เสียง |
2002 | นิโคลาส ทายาทหัวใจเพชร | แมดเดอลีน เบรย์ | |
2004 | เจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์ | เอลล่า แห่งเฟรลล์ | |
2004 | บันทึกรักเจ้าหญิงวุ่นลุ้นวิวาห์ | มีอา เธอร์โมโพลิส | |
2005 | วัยร้ายวัยร้อน | อลิสัน แลง | |
2005 | เรื่องจริงของหนูน้อยหมวกแดง | เร้ด พัคเก็ต | พากย์เสียง |
2005 | หุบเขาเร้นรัก | ลูรีน นิวซัม ทวิสต์ | |
2006 | นางมารสวมปราด้า | แอนเดรีย แซคส์ | |
2007 | รักที่ปรารถนา | เจน ออสติน | |
2008 | เก็ท สมาร์ท พยัคย์ฉลาด เก๊กไม่เลิก | สายลับหมายเลข 99 | |
2008 | วันวิวาห์สมานดวงใจ | คิม | |
2008 | แพสเซนเจอร์ส สัมผัสเฉียดนรก | แคลร์ ซัมเมอส์ | |
2009 | สงครามงานแต่ง...แข่งกันเป็นเจ้าสาว | เอ็มม่า อัลลัน | |
2010 | อลิซในแดนมหัศจรรย์ | ราชินีขาว | |
2010 | หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก | ลิซ เคอร์แร | |
2010 | ยาวิเศษที่ไม่อาจรักษารัก | แม็กกี้ เมอร์ | |
2011 | ริโอ เดอะมูฟวี่ เจ้านกฟ้าจอมมึน | จูล | พากย์เสียง |
2011 | วันเดียว วันนั้น วันของเรา | เอ็มมา มอร์ลีย์ | |
2012 | แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด | เซลิน่า ไคล์ | |
2012 | เล มิเซราบล์ | ฟ็องทีน | |
2013 | รักติดเรท | เอมิลี่ ลอม | |
2014 | เพลงหนึ่ง คิดถึงเธอ | แฟรนนี | เป็นผู้ผลิต |
2014 | ริโอ เจ้านกฟ้าจอมมึน 2 | จูล | พากย์เสียง |
2014 | Don Peyote | ตัวแทนของทรูธ | รับเชิญ |
2014 | อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก | อมิเลีย แบรนด์ | |
2015 | ดิ อินเทิร์น โก๋เก๋ากับบอสเก๋ไก๋ | จูลส์ | |
2016 | อลิซ ผจญภัยมหัศจรรย์เมืองกระจก | ราชินีขาว | |
2017 | คอลอสซาน ทั้งจักรวาลเป็นของเธอ | กลอเรีย | |
2018 | โอเชียน 8 | แดพนี คลูเกอร์ | |
2019 | Serenity | คาเรน ซาเรียกัส | |
โกงตัวแม่ | โจเซฟีน เชสเตอร์ฟีลด์ | ||
พลิกน้ำเน่าคดีฉาวโลก | ซาราห์ บีลอตต์ | ||
2020 | คำสั่งตาย | เอเลนา แม็กแมน | |
แม่มด | แม่มดผู้สูงส่ง | ||
2021 | ล็อกดาวน์ | ลินดา | |
2022 | Armageddon Time | เอสเธอร์ กราฟฟ์ | |
2023 | Eileen | รีเบกกา เซนต์จอห์น | |
She Came to Me | Patricia Jessup-Lauddem | Also producer | |
2024 | Mothers' Instinct | เซลีน | Also producer |
The Idea of You | Solène Marchand | Also producer | |
2025 | Flowervale Street | TBA | Filming |
TBA | Mother Mary | TBA | Post-production |
ละครเวที
แก้ปี | ชื่อ | บทบาท | สถานที่ |
---|---|---|---|
2002 | Carnival! | ลิลี | New York City Center |
2003 | The Woman in White | ลอรา แฟร์ลี | Sydmonton Workshop |
2005 | Children and Art | ผู้แสดง | New Amsterdam Theatre |
2009 | ราตรีที่สิบสอง | วิโอลา | Delacorte Theater |
2015 | Grounded | นักบินที่ไม่ระบุชื่อ | The Public Theater |
2017 | The Children's Monologues | ผู้หญิงกับคนรักที่นอกใจ | Carnegie Hall |
โทรทัศน์
แก้ปี | ชื่อ | บทบาท | รายละเอียดเพิ่มเติม |
---|---|---|---|
1999–2000 | เก็ตเรียล | เมแกน กรีน | 22 ตอน |
2007 | Elmo's Christmas Countdown | ตนเอง | รายการพิเศษทางโทรทัศน์ |
2008 | แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ | พิธีกร | ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/เดอะคิลเลอส์" |
2009 | เดอะซิมป์สันส์ | เจนนี่ (เสียงพากย์) | ตอน: "The Good, the Sad and the Drugly" |
2010 | เดอะซิมป์สันส์ | เจ้าหญิงเพเนโลพี (เสียงพากย์) | ตอน: "Once Upon a Time in Springfield" |
แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ | พิธีกร | ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/ฟลอเรนซ์แอนด์เดอะแมชชีน" | |
แฟมีลีกาย | คุณแม่แม็กกี (เสียงพากย์) | ตอน: "Go, Stewie, Go!" | |
แฟมีลีกาย | ตนเอง (เสียงพากย์) | ตอน: "April in Quahog" | |
2011 | งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83 | พิธีกร | รายการพิเศษทางโทรทัศน์; พิธีกรร่วมกับเจมส์ แฟรนโก |
แฟมีลีกาย | ผู้หญิงผมบลอนด์สุดฮอต (เสียงพากย์) | ตอน: "It's a Trap!" | |
2012 | แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ | พิธีกร | ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/รีแอนนา" |
เดอะซิมป์สันส์ | เจนนี่ (เสียงพากย์) | ตอน: "Moonshine River" | |
2015 | HitRecord on TV | วิวิกา ไวรัส | ตอน: "Re: The Number Two" |
Lip Sync Battle | ตนเอง | ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์ vs. เอมิลี บลันต์" | |
2016 | Documentary Now! | ตนเอง | ตอน: "Mr. Runner Up: My Life as an Oscar Bridesmaid, Part 2" |
2019 | Modern Love | เลซี | 2 ตนเอง |
2020 | Sesame Street: Elmo's Playdate | ตนเอง | รายการพิเศษทางโทรทัศน์ |
2021 | RuPaul's Drag Race | ตนเอง | ตอน: "Social Media: The Unverified Rusical" |
โซโลส์ | ลีอาห์ | ตอน: "LEAH" | |
2022 | วีแครช | รีเบกาห์ นอยมันน์ | ซีรีส์ขนาดสั้น; 8 ตอน |
ผลงานเพลง
แก้เพลงติดชาร์ต
สำหรับเพลงของเธอในเจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์, ดูที่: เจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์ (ซาวด์แทร็ก)
ชื่อ | ปี | ตำแหน่งสูงสุดบนชาร์ต | อัลบัม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แคนาดา [9] |
สเปน [10] |
ไอร์แลนด์ [11] |
อังกฤษ [12] |
สหรัฐ [13] | |||
"I Dreamed a Dream" | 2012 | 77 | 21 | 26 | 22 | 69 | Les Misérables: Highlights from the Motion Picture Soundtrack |
แขกรับเชิญ
เพลง | ปี | ศิลปิน | อัลบัม |
---|---|---|---|
"Don't Go Breaking My Heart" | 2004 | Jesse McCartney and Anne Hathaway | Ella Enchanted (soundtrack) |
"You Make Me Feel Like Dancing (Remix)" | Anne Hathaway | ||
"Somebody to Love" | Anne Hathaway | ||
"Great Big World" | 2005 | Anne Hathaway | Hoodwinked (Original Motion Picture Soundtrack) |
"Take, O Take Those Lips Away" | 2009 | Anne Hathaway and Illyrian Marching Band | Twelfth Night |
"Full Phathom Five" | Anne Hathaway, Hem, and Audra McDonald | ||
"Come Away Death" | Anne Hathaway, David Pittu, Raúl Esparza, and Illyrian Marching Band | ||
"Real in Rio" | 2011 | Anne Hathaway, Jesse Eisenberg, Jamie Foxx, George Lopez, will.i.am, and The Rio Singers with Hollywood | Rio |
"Hot Wings (I Wanna Party)" | Anne Hathaway, will.i.am, and Jamie Foxx | ||
"At the End of the Day"[14] | 2012 | Hugh Jackman, Anne Hathaway, Foreman, Factory Girls, and Cast | Les Misérables: Highlights from the Motion Picture Soundtrack |
"I Dreamed a Dream"[14] | Anne Hathaway | ||
"Epilogue"[14] | Amanda Seyfried, Anne Hathaway, Colm Wilkinson, Eddie Redmayne, and Hugh Jackman | ||
"What is Love" | 2014 | Janelle Monáe, Jamie Foxx, Anne Hathaway, and Jesse Eisenberg | Rio 2 |
"Don't Go Away" | Anne Hathaway and Flavia Maia | ||
"At the Ballet" (from A Chorus Line) | 2016 | Barbra Streisand, Daisy Ridley, and Anne Hathaway | Encore: Movie Partners Sing Broadway |
รางวัล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Bowenbank, Starr (January 14, 2021). "Anne Hathaway Says We've Been Calling Her The Wrong Name This Whole Time". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2021. สืบค้นเมื่อ January 14, 2021.
- ↑ "Anne Hathaway". Biography.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2017. สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
- ↑ 3.0 3.1 "Anne Hathaway's Mom: Actress Thanks Kate Hathaway". HuffPost. January 13, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2017. สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
- ↑ "The Broadcast Pioneers of Philadelphia". Broadcast Pioneers of Philadelphia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2016. สืบค้นเมื่อ January 15, 2018.
- ↑ Elsworth, Catherine (July 19, 2008). "Anne Hathaway: in pique condition". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2018. สืบค้นเมื่อ January 1, 2018.
- ↑ Krupnick, Ellie (November 26, 2012). "Anne Hathaway: 'I Looked Like My Gay Brother' With My Short Haircut (Photos)". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2018.
- ↑ "Anne Hathaway learns from a legend in 'Prada'". Today. June 21, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2017. สืบค้นเมื่อ June 29, 2006.
- ↑ Kaufman, Amy (December 27, 2012). "Anne Hathaway seeks royal status". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2013. สืบค้นเมื่อ January 1, 2018.
- ↑ "Week of 12, January 2013: Biggest Jumps". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
- ↑ "Anne Hathaway - "I Dreamed a Dream"". PROMUSICAE/spanishcharts.com. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
- ↑ "GFK Chart Track". Irish Recorded Music Association. January 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2013. สืบค้นเมื่อ January 19, 2013.
- ↑ "2013 Top 40 Official UK Singles Archive". Official Charts Company. January 26, 2013. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
- ↑ "Weekly Chart Notes: Anne Hathaway, Anna Kendrick get in the act of charting". Billboard. January 4, 2013. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "Les Misérables: Highlights from the Motion Picture Soundtrack". Amazon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.