เจมส์ แฟรนโก
เจมส์ เอ็ดเวิร์ด แฟรนโก (อังกฤษ: James Edward Franco) เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1978 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ และ ศิลปิน เขาเริ่มแสดงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ปรากฏในซีรีส์เรื่อง Freaks and Geeks และ แสดงนำในภาพยนตร์วัยรุ่นอีกหลายเรื่อง และในปี 2001 ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงยอดเยี่ยมจากซีรีส์เรื่อง James Dean
เจมส์ แฟรนโก | |
---|---|
แฟรนโกในงานจารึกฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2013 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | เจมส์ เอ็ดเวิร์ด แฟรนโก | 19 เมษายน ค.ศ. 1978
อาชีพ | นักแสดง, ผู้กำกับ ,นักเขียนบทภาพยนตร์ ,โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ และ ศิลปิน |
ลูกโลกทองคำ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์ 2002 James Dean |
จนเป็นที่รู้จักในต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 บทบาทแฮร์รี ออสบอร์น ในภาพยนตร์เรื่องสไปเดอร์แมน ในปี 2005 เขาแสดงในภาพยนตร์สงครามเรื่อง The Great Raid ในบทโรเบิร์ต พรินซ์ ในปี 2006 แฟรนโกได้แสดงนำในภาพยนตร์ฮอลลีวูด 3 เรื่อง คือ Tristan & Isolde , Annapolis และ Flyboys ในปี 2008 แฟรนโกนักแสดงในหนังตลกเรื่อง Pineapple Express ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์เพลงหรือภาพยนตร์ตลก เขายังรับบทเด่นในภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก
ชีวิตช่วงแรก
แก้แฟรนโกเกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1978 ในพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรชายของเบตซี (นามสกุลเดิม เวิร์น) กวี นักประพันธ์ บรรณาธิการ กับดั๊ก แฟรนโก[1] คุณยาย มิตซี เลวีน เวิร์น ได้เปิดแกเลอรีศิลปะที่ชื่อ เวิร์นอาร์ตแกเลอรี ในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ[2] พ่อของแฟรนโกมีเชื้อสายโปรตุเกสและสวีเดน[3] ส่วนแม่ของแฟรนโกเป็นคนยิว[4][5] ที่ลี้ภัยมาจากรัสเซีย[1] แฟรนโกโตที่แคลิฟอร์เนียกับน้องชายอีกสองคน ชื่อทอมและเดฟ[1][6] เขาจบระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมพาโลอัลโต ในปี 1996 เขาได้รับเลือกเป็นนักเรียนที่ยิ้มมากที่สุด[1] จากนั้นเขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) เอกภาษาอังกฤษ[7] แต่เขาก็หยุดจากการเรียนตั้งแต่ชั้นปี 1 และเลือกที่ก้าวสู่การแสดงอาชีพในฐานะนักแสดง โดยเรียนการแสดงกับโรเบิร์ต คาร์นีกี ที่เพลย์เฮาส์เวสต์[1]
อาชีพ
แก้งานช่วงแรก
แก้หลังจากการฝึกหัดนานกว่า 15 เดือน เขาเริ่มจะไปออดิชันในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้ร่วมแสดงในบทนำในซีรีส์ทางโทรทัศน์ ที่ออกฉายอยู่ไม่กี่ตอนแต่ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี ในซีรีส์เรื่อง Freaks and Geeks[8] แฟรนโกอธิบายเกี่ยวกับซีรีส์นี้ว่า "เป็นอะไรที่สนุกที่สุดเรื่องหนึ่ง" ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่เขาได้รับ[9] ในอีกบทสัมภาษณ์หนึ่ง แฟรนโกพูดว่า "เมื่อตอนที่เราทำ Freaks and Geeks ผมไม่เข้าใจเลยว่าหนังหรือทีวี เขาทำกันอย่างไร และผมก็แสดงออกมาแม้ว่าจะไม่มีกล้องจับที่ผม...ผมก็เริ่มแสดงสด แต่ก็ไม่ได้ดีอะไรมากมาย" [10]
บทหลักของเขาเรื่องแรกในภาพยนตร์ คือหนังโรแมนติกคอเมดี้ เรื่อง Whatever It Takes (2000) ที่เขาแสดงร่วมกับอดีตแฟนเก่า มาร์ลา โซโคลอฟฟ์[11][12] ต่อมาเขาได้แสดงในบทเจมส์ ดีน ภาพยนตร์โทรทัศน์แนวชีวประวัติ กำกับโดยมาร์ก ไรเดลล์ ในปี 2001[13][14] เคน ทักเกอร์แห่งหนังสือ เอนเทอร์เทนเมนต์วีกลี เขียนไว้ว่า "แฟรนโกสอบผ่านสบาย ๆ กับบทของดีน แต่แทนที่จะถูกควบคุมที่ดูไม่น่าเชื่อถือ เขากลับเป็นชายหนุ่มที่ไร้รากนั้น"[15] เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ[16] และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมีและรางวัลแซกอวอร์ด อีกด้วย[17][18]
ไอ้แมงมุม และงานหลังจากนั้น
แก้ในปี 2002 เขาได้แสดงในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร เรื่อง ไอ้แมงมุม ที่ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพของเขา โดยแฟรนโกรับบทเป็นแฮร์รี ออสบอร์น บุตรชายของตัวร้าย กรีน ก็อบลิน (วิลเลม เดโฟ) และเพื่อนรักที่เป็นไอ้แมงมุม (โทบีย์ แม็คไกวร์)[19] เดิมทีแฟรนโกได้ถูกพิจารณาไว้ในบทนำ ไอ้แมงมุม/ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ ในภาพยนตร์[20] แต่บทก็ตกไปอยุ่ที่โทบีย์ แม็คไกวร์ ด้านคำวิจารณ์ ท็อดด์ แม็กคาร์ธี แห่ง วาไรตี้ เขียนไว้ว่า "มีส่วนที่ดีที่สุด ที่เกิดขึ้นระหว่างแม็คไกวร์กับแฟรนโก ในหนังเรื่องนี้"[21] ไอ้แมงมุม ประสบความสำเร็จด้านรายได้และคำวิจารณ์เป็นอย่างดี[22] ภาพยนตร์ทำรายได้ 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์เปิดตัวในอเมริกาเหนือ และทำรายได้รวมที่ 822 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[23] ในปีเดียวกัน แฟรนโกแสดงในหนังดราม่า เรื่อง City by the Sea (2002)[1][24] ปีถัดมาเขาแสดงร่วมในภาพยนตร์ของโรเบิร์ต อัลต์แมน ร่วมกับเนฟ แคมป์เบลล์ เรื่อง The Company (2003)[25]
จากการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ ไอ้แมงมุม ทำให้เขาได้แสดงบทบาทต่อในภาคต่อ ไอ้แมงมุม 2[26] ในปี 2004 ภาพยนตร์ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์[27] และเป็นข้อพิสูจน์ในด้านความสำเร็จอย่างมาก โดยทำสถิติใหม่ของหนังเปิดตัวสุดสัปดาห์ในบ็อกซ์ออฟฟิสในอเมริกาเหนือ[28] ด้วยยอด 783 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก กลายเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในปี 2004[23] ปีถัดมาเขาแสดงในภาพยนตร์สงครามเรื่อง The Great Raid รับบทเป็นร้อยเอกโรเบิร์ต พรินซ์ ของกองทัพอเมริกันในกองบัญชาการกองทัพที่ 6 ที่ได้วางแผนช่วยผู้ที่ถูกคุมขังในค่ายกักกันในคาบานาทวน ประเทศฟิลิปปินส์ ออกมา[29][30]
ในปี 2006 แฟรนโกแสดงร่วมกับไทรีส กิบสัน ใน Annapolis[31] ผู้กล้าในตำนาน ทริสตัน ใน Tristan & Isolde เป็นเรื่องราวความรักของ ทริสตันและอิโซต์ นำแสดงร่วมกับนักแสดงหญิงชาวอังกฤษ โซเฟีย ไมลส์[32] จากนั้นเขาได้ร่วมฝึกกับทีมสตันต์ที่ชื่อ "เดอะบลูแอนเจิลส์" และได้รับใบอนุญาตบิน สำหรับการเตรียมตัวในบทบาทเรื่อง Flyboys[33] ที่ออกฉายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ต่อมาในเดือนเดียวกันเขาปรากฏในภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่อง The Wicker Man นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ กำกับโดยซันนี[34] และเช่นเดียวกันในปี 2006 เขาปรากฏตัวในบทเล็ก ๆ ในภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอเมดี้เรื่อง The Holiday[14][35]
ในปี 2007 เขากลับมารับบทแฮร์รี ออสบอร์น อีกครั้งใน ไอ้แมงมุม 3[36] บทวิจารณ์ของภาคนี้ตรงกันข้ามกับในสองภาคแรกที่ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี[22][27] ไอ้แมงมุม 3 ได้รับเสียงวิจารณ์บวกลบปนกัน[37] ถึงกระนั้นภาพยนตร์ก็ทำรายได้ทั่วโลกได้ 891 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถือเป็นภาพยนตร์หนึ่งในซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด และถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดของแฟรนโก จากข้อมูลปลายปี 2008[23] ในปีเดียวกันแฟรนโก แสดงในบทเล็ก ๆ ในภาพยนตร์ตลกเรื่อง Knocked Up[38]
เขาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Pineapple Express หนังตลกที่แสดงร่วมและร่วมเขียนบทกับเซธ โรเกน และผลิตโดยจัดด์ อแพโทว์ ทั้งคู่เคยร่วมงานกับแฟรนโกในภาพยนตร์ Freaks and Geeks[9][39] นักวิจารณ์ นิวยอร์กไทมส์ มาโนห์ลา ดาร์จิส เขียนไว้ว่า "เขาดูความสุขในบท ซอล ที่ดูสบาย ๆ น่าขัน และยังไม่สามารถระงับความเซ็กซี่ ทั้ง ๆ ที่มีม่านผมที่มันกับที่พักพุ ๆ พัง ๆ ที่มีค่าศูนย์ เกินกว่าผู้หญิงจะยอมรับได้ เป็นการแสดงที่ไม่น่าประทับใจที่ดูเกินพอ อีกทั้งทำให้หนังดูเป็นผู้เป็นคนเกินไป ทำเสียงฉุนเฉียวซึ่งกลายเป็นการสร่างเมาที่น่าผิดหวังและดูเครียด"[40] การแสดงจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงชายยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก[16] ในปี 2008 เขามีผลงานในภาพยนตร์ของศิลปินที่ชื่อคาร์เตอร์ จัดการแสดงที่แกลเลอรี Yvon Lambert ในปารีส[41] และเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2008 เขาเป็นพิธีกรรายการ แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์[42]
แฟรนโกแสดงร่วมกับ ฌอน เพนน์ จอช โบรลิน และเอไมล์ เฮิร์ช ในภาพยนตร์ชีวประวัติในปี 2008 ของฮาร์วีย์ มิลก์ เรื่อง Milk กำกับโดย กัส แวน แซงต์[43] เขารับบทเป็นสกอตต์ สมิธ คนรักของฮาร์วีย์ มิลก์ (เพนน์) คำวิจารณ์การแสดงเรื่องนี้ เคนเนธ ทูแรนแห่ง ลอสแอนเจลิสไทมส์ เขียนไว้ว่า "แฟรนโกดูเหมาะสมกับเขา (เพนน์) ในฐานะคนรักที่สุดท้ายก็มีชีวิตด้านการเมือง"[44] สำหรับการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ แฟรนโกได้รับรางวัลหนังอินดี้ยอดเยี่ยมแห่งสหรัฐอเมริกา ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[45]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ในปี ค.ศ. 2008 แฟรนโกศึกษาจบปริญญาตรีภาษาอังกฤษจากยูซีแอลเอ[46] เขาทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของนักประพันธ์ โมนา ซิมป์สัน[47] ต่อจากนั้นแฟรนโกย้ายมาที่นิวยอร์กเพื่อศึกษาปริญญาโทด้านการเขียนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และโรงเรียนศิลปะทิชของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่ที่เขาศึกษาด้านการทำภาพยนตร์ที่นี่[48][49][50][51]
ในด้านศิลปะแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตรกรรม แฟรนโกมีความสามารถตั้งแต่ศึกษาระดับไฮสคูล ขณะที่เขาเรียนอย่างเข้มงวดที่โรงเรียนศิลปะแคลิฟอร์เนียสเตดซัมเมอร์ (California State Summer School for the Arts)[1] แฟรนโกเคยพูดว่า งานด้านจิตรกรรมเป็นหนทางในการ "ปลดปล่อย" ที่เขาต้องการในช่วงเรียนไฮสคูล และแท้จริงแล้วเขาวาดภาพยาวนานกว่าการแสดงเสียอีก[52] งานเขียนของเขาแสดงครั้งแรกสู่สาธารณชนที่ กลูแกเลอรี ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ 7 มกราคม ค.ศ. 2006 ถึง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006[1][53] นอกจากนั้นในภาพยนตร์ ไอ้แมงมุม 3 ยังมีฉากที่เขาวาดรูปอยู่ในเรื่องด้วย[54]
ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2006 แฟรนโกมีความสัมพันธ์กับนักแสดงสาว อาห์นา โอ'ไรลี[55][56]ในปี ค.ศ. 2008 แฟรนโกถูกขนานนามว่าเป็นหน้าใหม่ของน้ำหอมผู้ชายกุชชี[48][57]
เขาถูกเลือกให้เป็นผู้พูดในวันสำเร็จการศึกษาที่อายุน้อยที่สุด ที่เรียนเก่าของเขา ยูซีแอลเอ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009 แต่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สื่อประกาศออกมาว่าแฟรนโกยกเลิกการพูดนี้เนื่องจากตารางเวลาขัดกัน[58] ซึ่งต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 แฟรนโกออกวิดีโอเสียดสีในเว็บไซต์ตลก "ฟันนี่ออร์ดาย" ล้อเลียนเรื่องเกี่ยวกับนาทีสุดท้ายที่เขายกเลิกครั้งนี้[59]
ผลงานแสดง
แก้ปี ค.ศ. | ภาพยนตร์ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1999 | Never Been Kissed (ชื่อไทย: จูบแรกเมื่อไหร่จะมา) |
เจสัน เวย์ | |
Freaks and Geeks | เดเนียล ดีเซริโอ | นักแสดงซีรีส์ | |
2000 | Whatever It Takes | คริส แคมป์เบล | |
2001 | James Dean | เจมส์ ดีน | ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี ค.ศ. 1991 ในสาขานักแสดงชายยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสาขานักแสดงนำชายโดดเด่น ประเภทมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์ ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซกอวอร์ด สำหรับการแสดงอันโดดเด่นประเภทนักแสดงชายในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ |
2002 | Sonny | ซันนี ฟิลิปส์ | ฉายจำนวนจำกัด |
City By The Sea (ชื่อไทย: ล้างบัญชีฆ่า) |
โจอี้ | ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลโครทรูดิสปี 2003 ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | |
Spider-Man (ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม) |
แฮร์รี ออสบอร์น | ||
Deuces Wild | ทิโน | ||
2003 | The Company (ชื่อไทย: เดอะคอมพานี) |
จอช | |
2004 | Spider-Man 2 (ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม 2) |
แฮร์รี ออสบอร์น | |
2005 | The Ape | แฮร์รี วอล์กเกอร์ | หนังประเภทไดเรกต์ทูวิดีโอ |
The Great Raid (ชื่อไทย: 121 ตะลุยนรกมฤตยู) |
กัปตันพรินซ์ | ||
Fool's Gold | เบรนต์ | ผู้กำกับ นักเขียน | |
2006 | Tristan & Isolde (ชื่อไทย: สงครามรัก สองแผ่นดิน) |
ทริสตัน | |
Annapolis (ชื่อไทย: เกียรติยศลูกผู้ชาย) |
เจค ฮอด | ||
The Wicker Man (ชื่อไทย: สาปอาถรรพณ์ล่าสุดโลก) |
ผู้ชายในบาร์ | ||
Flyboys (ชื่อไทย: คนบินประจัญบาน) |
เบลน รอว์ลิงส์ | ||
The Holiday (ชื่อไทย: เดอะ ฮอลิเดย์ เซอร์ไพรส์รักวันพักร้อน) |
ตัวเขาเอง | (ไม่มีในเครดิต) | |
The Dead Girl | เดเรก | ||
2007 | Spider-Man 3 (ชื่อไทย: ไอ้แมงมุม 3) |
แฮร์รี ออสบอร์น / ก็อบลินตัวใหม่ | ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซตเทิร์นในสาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม |
Knocked Up | ตัวเขาเอง | (ไม่มีในเครดิต) | |
In the Valley of Elah (ชื่อไทย: กระชากเกียรติ เหยียบอัปยศ) |
นายสิบแดน คาร์เนลลี | ||
Finishing the Game | ดีน ไซโล/"ร็อบ ฟอร์ซ" | ||
An American Crime | แอนดี้ | ||
Camille | ซิเลียส | ||
Good Time Max | แมกซ์ เวอร์บินสกี | ||
2008 | Pineapple Express (ชื่อไทย:วุ่นแล้วตู จู่ๆก็โดนล่า) |
ซอล ซิลเวอร์ | ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประเภท ภาพยนตร์เพลงหรือตลก ได้รับการเสนอชื่อ - เอ็มทีวีมูวี่อวอร์ดสในสาขาแสดงตลกยอดเยี่ยม ได้รับการเสนอชื่อ - เอ็มทีวีมูวี่อวอร์ดสในสาขาต่อสู้ยอดเยี่ยม |
Nights in Rodanthe (ชื่อไทย: โรดันเต้รำลึก) |
มาร์ก แฟลนเนอร์ | (ไม่มีในเครดิต) | |
Milk (ชื่อไทย: ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก) |
สก็อต สมิธ | ได้รับรางวัลอินดีเพนเดนต์สปริตปี 2008 ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี 2008 ในสาขาตัวแสดงยอดเยี่ยม ได้รับการเสนอชื่อ - ได้รับรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออกอากาศปี 2008 ในสาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม ได้รับการเสนอชื่อ - รางวัลแซกอวอร์ดในสาขาการแสดงโดดเด่นประเภทภาพยนตร์ | |
2009-2012 | General Hospital | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 - 13 มกราคม ค.ศ. 2012 | |
2010 | Howl | อัลเลน กินสเบิร์ก | |
Date Night | เชส ไมเยอร์ส | ||
Your Highness | เดนี โลเวิร์ต | ||
Eat, Pray, Love | เดวิด | ||
2011 |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "James Franco Biography". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ "Case Western Reserve University". Admission Case. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ "LatinoReview.com". Franco Talks Annapolis!. สืบค้นเมื่อ May 9, 2006.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dateformat=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "the Jewish News Weekly of Northern California". Celebrity Jews. สืบค้นเมื่อ May 9, 2006.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dateformat=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "James Franco News". The Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Van Sant, Gus. "James Franco". Interview. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2009-03-02.
- ↑ Posner, Michael (2008-08-05). "Top of the food chain". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ "Shout! Factory - Freaks And Geeks". Shout Factory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ 9.0 9.1 "United Press International". Franco to reunite with Freaks pals. United Press International. สืบค้นเมื่อ 2006-09-23.
- ↑ Van Sant, Gus. "James Franco". Interview. p. 4. สืบค้นเมื่อ 2009-03-03.
- ↑ Gleiberman, Owen (2000-03-31). "What It Takes Review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Scott, A.O. (2000-03-24). "Whatever It Takes Review". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Carter, Kelly (2001-07-27). "James Franco: The next James Dean". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ 14.0 14.1 Lee, Chris (2008-08-06). "James Franco plays against type in 'Pineapple Express'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Tucker, Ken (2001-08-03). "James Dean TV Review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
- ↑ 16.0 16.1 "HFPA - Awards Search". Golden Globes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-27. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ "8th Annual SAG Awards Nominee - Screen Actors Guild Awards". Screen Actors Guild Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ "2002 Emmys". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Travers, Peter (May 23, 2002). "Spider-Man Review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ August 4, 2008.
- ↑ "Mike Clark review". USA Today. 2002-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-23.
- ↑ McCarthy, Todd (2002-04-19). "Spider-Man Review". Variety. สืบค้นเมื่อ 2009-03-02.
- ↑ 22.0 22.1 "Spider-Man (2002): Reviews". Metacritic. May 3, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ March 2, 2009.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "James Franco Movie Box Office Results". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 2, 2009.
- ↑ Winfield, Monica (2003-01-10). "BBC Films - City by the Sea Review". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Mitchell, Elvis (2003-12-25). "The Company Review". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-08-08.
- ↑ Turan, Kenneth (June 29, 2004). "Turan reviews Spider-Man 2". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 29, 2007.
- ↑ 27.0 27.1 "Spider-Man 2 (2004): Reviews". Metacritic. June 30, 2004. สืบค้นเมื่อ December 9, 2008.
- ↑ "Spider-Man 2 (2004)". Box Office Mojo. June 30, 2004. สืบค้นเมื่อ December 9, 2008.
- ↑ Ebert, Roger (August 12, 2005). "The Great Raid Review". Chicago Sun-Times. Roger Ebert.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
- ↑ Otto, Jeff (August 11, 2005). "IGN: The Great Raid Review". IGN. สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
- ↑ Ebert, Roger (January 27, 2006). "Annapolis Review". Chicago Sun-Times. Roger Ebert.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ Leydon, Joe (January 12, 2006). "Tristan and Isolde Review". Variety. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ "ContactMusic". Franco takes off with Stunt Squad. สืบค้นเมื่อ September 23, 2006.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dateformat=
ถูกละเว้น (help) - ↑ The Wicker Man (DVD). Warner Bros. 2006.
- ↑ "Lohan's Rehab Blamed on Her Obsession With Little-Known Spider-Man Actor". Us Magazine. January 19, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-21. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ Travers, Peter (May 3, 2007). "Spider-Man 3 Review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ August 4, 2008.
- ↑ "Spider-Man 3 (2007): Reviews". Metacritic. May 4, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-28. สืบค้นเมื่อ December 11, 2008.
- ↑ "James Franco". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
- ↑ Travers, Peter (August 7, 2008). "Pineapple Express Review". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ Dargis, Manohla (August 6, 2008). "'Pineapple Express' - Stoners Who Put the Bud in Buddies". New York Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2008.
- ↑ Freydkin, Donna (April 7, 2009). "Franco takes 'Erased James Franco' to art". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
- ↑ Boedeker, Hal (September 21, 2008). ""Saturday Night Live" with James Franco improves in week two, but still far from its peak". The Orlando Sentinel. blogs.orlandosentinel.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-23. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
- ↑ Freydkin, Donna (August 3, 2008). "'Pineaple' star Franco digs deep, plays stoner and serious". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ Turan, Kenneth (November 26, 2008). "Review: 'Milk'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 23, 2009.
- ↑ Smith, Neil (February 22, 2009). "Rourke steals Spirit award show". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ February 23, 2009.
นักแสดงคนอื่นที่ได้รับรางวัลอย่างมาลิซซา ลีโอและเพเพนโลเป ครูซ ทั้งคู่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ เช่นเดียวกับเจมส์ แฟรนโกในสาขาสมทบชายเรื่อง Milk
- ↑ Black, Rosemary (August 27, 2008). "Brad Pitt explores other options". Daily News (New York). p. 2. สืบค้นเมื่อ March 3, 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Schmelzer, Randi. "The Smart Set". 20 (2). UCLA Magazine: 57.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help);|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ 48.0 48.1 Kamp, David (December 2008). "Franco cum Laude". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ December 2, 2008.
- ↑ Evans, Sean (August 6, 2008). "Side Dish: Write on, James Franco". New York Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-26. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Froelich, Paula (September 10, 2008). "No Ogling!". New York Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Academia: James Franco To Sexify Morningside Heights". Gawker.com. สืบค้นเมื่อ September 21, 2008.
- ↑ "Lindzi.com Your Connection to the Stars". James Franco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ February 1, 2007.
- ↑ Oldenburg, Ann (August 14, 2002). "Celebrities pour passion into artwork". USA Today. สืบค้นเมื่อ August 8, 2008.
- ↑ Spider-Man 3 (DVD). Sony Pictures. 2007.
- ↑ Dinh, Mai. "James Franco Biography". People. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Freydkin, Donna (August 3, 2008). "'Pineapple' star Franco digs deep, plays stoner and serious". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 22, 2009.
- ↑ Pearlman, Cindy (November 30, 2008). "James Franco a big man in 'Milk' -- and on campus". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-02. สืบค้นเมื่อ December 2, 2008.
- ↑ Schaefer, Samantha (June 3, 2009). "Franco cancels as commencement keynote". Daily Bruin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ June 4, 2009.
- ↑ "James-Franco's-Rejected-UCLA-Commencement-Speech". Funny or Die. July 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.