ไฮเทรา

ผู้ผลิตวิทยุของจีนซึ่งมีชื่อแบรนด์เดิมคือ เอชวายที

ไฮเทรา (อังกฤษ: Hytera; จีน: 海能达; พินอิน: Hǎinéngdá; ก่อนหน้านี้ชื่อ เฮชวายที (HYT); SZSE: 002583) เป็นผู้ผลิตเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุและระบบวิทยุที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และมีรัฐเป็นเจ้าของบางส่วน ก่อตั้งขึ้นในเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งในปี พ.ศ. 2536 ไฮเทราจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น และบางส่วนเป็นเจ้าของโดย เซินเจิ้น อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลเทศบาลเมืองเซินเจิ้น[2] ไฮเทราเป็นผู้มีส่วนสำคัญในมาตรฐานพีดีที ซึ่งออกแบบมาสำหรับองค์กรด้านความปลอดภัยสาธารณะในประเทศจีน[3] บริษัทนี้เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ให้กับกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ[4]

ไฮเทรา
ชื่อท้องถิ่น
海能达
ประเภทมหาชน; รัฐวิสาหกิจ (บางส่วน)
การซื้อขาย
SZSE: 002583
ISINCNE1000013B1 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ก่อตั้งพ.ศ. 2536
สำนักงานใหญ่เชินเจิ้น, กวางตุ้ง, จีน
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
เฉิน ชิงโจว (ประธาน)
ผลิตภัณฑ์วิทยุสองทาง
ระบบเครือข่าย
พนักงาน
7,000 คน (2561)[1]
บริษัทแม่เชินเจิ้น อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้งส์
บริษัทในเครือนอร์สัต, เทคโนโลยีซินแคลร์
เว็บไซต์www.hytera.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ประวัติ

แก้

สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ในเมืองเชินเจิ้น ประเทศจีน ผลิตภัณฑ์ของไฮเทราได้รับการพัฒนาที่ศูนย์พัฒนาทั้งหมดสามแห่ง[1] หนึ่งในสถานที่พัฒนาตั้งอยู่ในเมืองบาด มุนเด ประเทศเยอรมนี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ไฮเทราได้เข้าซื้อกิจการบริษัท โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส โปรเฟสชันแนล โมบายเรดิโอ เกเอ็มเบฮา (Rohde & Schwarz Professional Mobile Radio GmbH) ของเยอรมนี จากกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเยอรมนี โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส (Rohde & Schwarz) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อ ไฮเทรา โมบิลฟังค์ (Hytera Mobilfunk) นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสาขาของไฮเทรา ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และสเปน

สหรัฐ

แก้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ไฮเทราได้เข้าซื้อกิจการ มาร์เก็ตโทรนิคส์ คอร์ปอเรชั่น (Marketronics Corporation) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ไฮเทรา อเมริกา อิงค์ (Hytera America, Inc.) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมิรามาร์ รัฐฟลอริดา ในปี พ.ศ. 2562 ไฮเทรา และบริษัทอื่น ๆ ในจีนหลายแห่ง รวมถึง หัวเว่ย ถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อต้องห้ามของบัญญัติการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 (National Defense Authorization Act: NDAA)[5] ที่ห้ามทำธุรกิจใด ๆ กับสหรัฐ หน่วยงานรัฐบาลกลางเนื่องจากปัญหาความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชน[6][7][8]

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ไฮเทรา อเมริกา และ ไฮเทรา อเมริกา (ตะวันตก) ได้ยื่นฟ้องล้มละลายตามมาตรา 11 โดยอ้างถึงคดีฟ้องร้องที่ดำเนินอยู่กับ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ (Motorola Solutions) และผลกระทบของการระบาดทั่วของโควิด-19[9]

ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 ไฮเทรา อเมริกา อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยแห่งใหม่ของไฮเทราในสหรัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามขั้นตอนของศาล ได้เริ่มดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการ[10]

การห้ามของรัฐบาลกลาง

แก้

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) ประกาศว่าบริการและอุปกรณ์กล้องวงจรปิดและโทรคมนาคมของไฮเทรา "ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐ"[11] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารห้ามการขายหรือนำเข้าอุปกรณ์ที่ผลิตโดยไฮเทราด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของชาติ[12]

การดำเนินคดีกับโมโตโรล่า

แก้

บริษัทเป็นจำเลยและโจทก์ในการดำเนินคดีด้านทรัพย์สินทางปัญญากับ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ที่กำลังดำเนินอยู่[13][14][15] ไฮเทรายังเป็นโจทก์ในคดีต่อต้านการผูกขาดต่อ โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อีกด้วย[10] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ไฮเทราถูกฟ้องร้องทางอาญาในศาลแขวงสหรัฐประจำเขตทางตอนเหนือของรัฐอิลลินอยส์ ในข้อหาขโมยเทคโนโลยี[16][17] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ศาลมีคำสั่งให้บริษัทหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วโลกทันที[18] ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ไฮเทราจำหน่ายต่อ[19]

เยอรมนี

แก้

บริษัทสัญชาติเยอรมัน บิก โมบิลฟังก์ เกเอ็มเบฮา (BICK Mobilfunk GmbH) ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทด้านวิศวกรรมในปี พ.ศ. 2523 และถูกครอบงำโดย โรเด้อร์ แอนด์ ชวาร์ส ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2531[20] บริษัทได้เริ่มให้บริการระบบ TETRA ระบบแรกในเยอรมนี[21] องค์กรส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้งานระบบวิทยุทรังก์ตามมาตรฐาน TETRA ในปี พ.ศ. 2554 แผนก TETRA ถูกขายให้กับ บริษัท ไฮเทรา คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด[20]

 
สำนักงานของไฮเทรา ในประเทศเยอรมนี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Hytera - About Hytera". Hytera.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  2. "Canada police suspends contract with China-linked company". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-12-09.
  3. "Professional Digital Trunking System Industry Association". Pdt.org.cn. 2010-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  4. John Manthorpe (5 January 2019). Claws of the Panda. Cormorant Books. p. 217. ISBN 978-1-77086-539-6.
  5. Thornberry, Mac (2018-08-13). "Text - H.R.5515 - 115th Congress (2017-2018) : John S. McCain National Defense Authorization Act for Fiscal Year 2019". www.congress.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  6. Xu Klein, Jodi (2019-08-08). "US agencies banned from doing business with Huawei and other Chinese firms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  7. Swanson, Ana; Mozur, Paul (2019-10-07). "U.S. Blacklists 28 Chinese Entities Over Abuses in Xinjiang". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  8. "US ban on Chinese police radio equipment supplier may help Motorola". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  9. "Hytera America Files for Chapter 11 Bankruptcy". RadioResource Media Group (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-29.
  10. 10.0 10.1 "Hytera sues Motorola for alleged two-way radio monopolisation". globalcompetitionreview.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  11. Shepardson, David (2021-03-13). "Five Chinese companies pose threat to U.S. national security: FCC". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
  12. Bartz, Diane; Alper, Alexandra (2022-11-25). "U.S. bans Huawei, ZTE equipment sales citing national security risk". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
  13. "Motorola Gets $346M Asset Freeze Against Hytera In UK". Law360 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  14. "Misappropriators Beware: Motorola Court Embraces Extraterritorial Application Of The Defend Trade Secrets Act". The National Law Review (ภาษาอังกฤษ). March 10, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  15. "Motorola wins US$765 million from Chinese rival over theft of trade secrets". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  16. Lynch, Sarah N. (2022-02-07). "U.S. charges China's Hytera with conspiring with ex-Motorola staff to steal technology". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
  17. Vanderford, Richard (2022-04-28). "U.S. Court Names Hytera Employees Charged in Alleged Motorola Trade-Secret Theft". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  18. "Chinese walkie-talkie maker Hytera to appeal against US global sales ban". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-10. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  19. "Hytera Global Sales Ban Stayed By US Appeals Court". IPVM (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-17. สืบค้นเมื่อ 2024-04-19.
  20. 20.0 20.1 "Rohde & Schwarz TETRA division take over". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-13.
  21. Rohde & Schwarz#Product timeline

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้