ไฟโตเอสโตรเจน

สารประกอบจากพืชซึ่งสามารถออกฤทธิ์เลียนแบบเอสโตรเจนจากต่อมบ่งเพศ

ไฟโตเอสโตรเจน (อังกฤษ: phytoestrogen) เป็นเอสโตรเจนชนิดหนึ่งที่พบในพืช ไฟโตเอสโตรเจนเป็นเซโนเอสโตรเจนที่ไม่ได้สร้างจากระบบต่อมไร้ท่อ แต่ได้รับจากการทานพืชและอาหารแปรรูป[1] ไฟโตเอสโตรเจนมีโครงสร้างคล้ายเอสตราไดออล ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนเพศหญิงหลัก จึงสามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจนและออกฤทธิ์เลียนแบบและบางครั้งเป็นตัวยับยั้งเอสโตรเจน[2] ไฟโตเอสโตรเจนไม่ใช่สารอาหารจำเป็นเนื่องจากไม่เกิดโรคหากขาด และไม่พบว่ามีส่วนในการทำงานปกติของร่างกาย[2]

โครงสร้างทางเคมีของไฟโตเอสโตรเจนที่พบทั่วไปในพืช (บนและกลาง) เทียบกับเอสโตรเจน (ล่าง) ที่พบในสัตว์

ไฟโตเอสโตรเจนเป็นกลุ่มสารประกอบพืชที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มฟีนอลที่พบในธรรมชาติ เช่น คูเมสแทน พรีนิลฟลาโวนอยด์และไอโซฟลาโวน นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ ที่เป็นไฟโตเอสโตรเจนแต่ไม่จัดอยู่ในสามกลุ่มนี้ เช่น ลิกแนน[3] สติลบีนอยด์[4] และไมโคเอสโตรเจน (เอสโตรเจนจากเห็ดรา)[5]

ไฟโตเอสโตรเจนพบทั่วไปในโปรตีนถั่วเหลือง ถั่ว ข้าว ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ กาแฟ แอปเปิลและแคร์รอต คำว่าไฟโตเอสโตรเจนมาจากการรวมคำภาษากรีก 2 คำคือ φυτόν (phutón) แปลว่าพืช กับ estrogen ซึ่งมาจาก οἶστρος (oîstros) แปลว่าความต้องการทางเพศ[6] มีสมมติฐานว่าพืชใช้ไฟโตเอสโตรเจนในการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ของสัตว์กินพืชเพศเมีย เพื่อป้องกันประชากรมากเกินไป[7][8]

นักวิทยาศาสตร์สังเกตไฟโตเอสโตรเจนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1926[2][9] แต่ยังไม่ทราบว่าส่งผลอย่างไรต่อเมแทบอลิซึมในมนุษย์และสัตว์ จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1940–1950 มีการพบว่าไฟโตเอสโตรเจนส่งผลต่อความสามารถมีลูกของแกะที่กินพืชจำพวกโคลเวอร์ (สกุล Trifolium) ซึ่งอุดมไปด้วยสารชนิดนี้[2][10][11][12]

อ้างอิง แก้

  1. "Isoflavones". Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University, Corvallis. October 2016. สืบค้นเมื่อ 6 August 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Yildiz F (2005). Phytoestrogens in Functional Foods. Taylor & Francis Ltd. pp. 3–5, 210–211. ISBN 978-1-57444-508-4.
  3. "Lignans". Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University. 2010. สืบค้นเมื่อ 31 July 2017.
  4. Bor-Chun Weng, Brian; Lin, Wen-Shin (October 27, 2016). "The phytogestrogenic stilbenes, arachidin-1 and resveratrol, modulate regulatory T cell functions responsible for successful aging in aged ICR mice". International Journal of Molecular Medicine. 38 (6): 1895–1904. doi:10.3892/ijmm.2016.2792. สืบค้นเมื่อ October 18, 2023.
  5. Rivera-Núñez Z, Barrett ES, Szamreta EA, Shapses SA, Qin B, Lin Y, Zarbl H, Buckley B, Bandera EV (March 2019). "Urinary mycoestrogens and age and height at menarche in New Jersey girls". Environmental Health. 18 (1): 24. doi:10.1186/s12940-019-0464-8. PMC 6431018. PMID 30902092.
  6. "Phytoestrogen - Definition & Meaning". Merriam-Webster. September 25, 2023. สืบค้นเมื่อ October 18, 2023.
  7. Hughes CL (Jun 1988). "Phytochemical mimicry of reproductive hormones and modulation of herbivore fertility by phytoestrogens". Environmental Health Perspectives. 78: 171–4. doi:10.1289/ehp.8878171. PMC 1474615. PMID 3203635.
  8. Bentley GR, Mascie-Taylor CG (2000). Infertility in the modern world: present and future prospects. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 99–100. ISBN 978-0-521-64387-0.
  9. Varner JE, Bonner J (1966). Plant Biochemistry. Academic Press. ISBN 978-0-12-114856-0.
  10. Bennetts HW, Underwood EJ, Shier FL (1946). "A specific breeding problem of sheep on subterranean clover pastures in Western Australia". Australian Veterinary Journal. 22 (1): 2–12. doi:10.1111/j.1751-0813.1946.tb15473.x. PMID 21028682.
  11. Cunningham IJ, Hogan KG (1954). "Oestrogens in New Zealand pasture plants". N. Z. Vet. J. 2 (4): 128–134. doi:10.1080/00480169.1954.33166.
  12. Johnston I (2003). Phytochem Functional Foods. CRC Press Inc. pp. 66–68. ISBN 978-0-8493-1754-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้