ไฟสัญญาณ (อังกฤษ: Navigation light) คือ แหล่งกำเนิดแสงไฟสีติดตั้งอยู่บน เรือ อากาศยาน หรือ ยานอวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงตำแหน่งของยานพาหนะ ทิศทางที่กำลังเคลื่อนที่ไป และ สถานะของยานพาหนะนั้นๆ สำหรับตำแหน่งที่ติดตั้งบนยานพาหนะนั้นถูกกำหนดโดยข้อตกลงระหว่างประเทศ

ภาพแสดงไฟสัญญาณสีแดงบนปีกซ้ายของเครื่องบินสายการบินบริติชแอร์เวย์ โบอิง 757
ภาพแสดงไฟสัญญาณสีแดงบนปีกซ้ายของเครื่องบินสายการบินเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ โบอิง 747

ไฟสัญญาณเดินเรือ

แก้

ประวัติ

แก้

เมื่อปี ค.ศ. 1838 สหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดให้เรือจักรไอน้ำที่เดินเรือ ในช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องติดตั้งและเปิดแสดงไฟสัญญาณหนึ่งดวงหรือมากกว่า โดยที่ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงสีหรือตำแหน่งที่ติดตั้งเอาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1848 สหราชอาณาจักรได้มีการกำหนดให้เรือจักรไอน้ำต้องติดตั้งและแสดงไฟสัญญาณด้านข้างสีแดงและสีเขียว รวมถึงติดตั้งและแสดงไฟสัญญาณสีขาวบนยอดเสาเรือ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1849 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการแสดงไฟสัญญาณให้ครอบคลุมไปจนถึงเรือใบ

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1889 สหรัฐอเมริกาได้มีการจัดการประชุมนานาชาติทางทะเล (อังกฤษ: International Maritime Conference) เพื่อพิจารณากฎการเดินเรือสากลเพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยการชนกันของเรือในทะเล ผลคือ กฎการเดินเรือจากการประชุมวอชิงตัน (อังกฤษ: Washington Naval Conference) ได้ถูกลงมติยอมรับโดยสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1890 และมีผลใช้ในระดับสากลเมื่อปี ค.ศ. 1897[1]

สำหรับกฎการเดินเรือสากลเพื่อป้องกันอุบัติภัยการชนกันในทะเล (อังกฤษ: The International Regulations for Preventing Collisions at Sea) ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 เพื่อบังคับให้มีการติดตั้งและแสดงไฟสัญญาณเดินเรือบนเรือหรือพาหนะทางทะเล

 
ภาพแสดงไฟสัญญาณเดินเรือพื้นฐาน หมายเลข 2 แสดงภาพเมื่อผู้สังเกตหันหน้าเข้าหาหัวเรือ

ไฟสัญญาณเดินเรือพื้นฐาน

แก้

เพื่อป้องกันอุบัติภัยในทะเล เรือหรือพาหนะทางทะเลต้องติดตั้งและแสดงไฟสัญญาณเดินเรือที่แสดงให้ทราบถึงประเภทและทิศทางสัมพันธ์ที่กำลังเดินทางไป เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเดินเรือว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือไม่

เรือหรือยานพาหนะทางทะเลต้องแสดงไฟสัญญาณทางกราบขวาเป็นสีเขียว โดยที่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่หัวเรือไปทางกราบขวาจนถึง 112.5 องศานับจากหัวเรือ และไฟสัญญาณทางกราบซ้ายเป็นสีแดง โดยที่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่หัวเรือไปทางกราบซ้ายจนถึง 112.5 องศานับจากหัวเรือ ไฟสัญญาณหัวเรือ คือไฟสัญญาณสีขาวที่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงมุม 225 องศาโดยมีจุดกึ่งกลางอยู่ในทิศหัวเรือ สำหรับไฟสัญญาณสีขาวท้ายเรือ มีช่วงมุมที่สามารถสังเกตเห็นได้ 135 องศา(ดังรูป)[2]

เรือโฮเวอร์คราฟต์ หรือเร็วเร็วต่างๆที่แล่นใกล้ฝูงชนสามารถติดตั้งไฟกระพริบสีเหลืองเพื่อเพิ่มทัศนะวิสัยทั้งกลางวันและกลางคืนให้สามารถเป็นที่สังเกตได้ง่ายขึ้น

 
1) ไฟสัญญาณอากาศยาน
2) ไฟสัญญาณท้ายเครื่องบิน
3) ไฟสัญญาณป้องกันอุบัติภัย
4) ไฟแสดงสัญลักษณ์ชื่อสายการบิน

ไฟสัญญาณเดินเรือบอกสถานะ

แก้

นอกเหนือจากไฟสัญญาณเดินเรือพื้นฐานดังที่กล่าวข้างต้น การใช้ไฟสัญญาณตามกฎการเดินเรือสากลเพื่อป้องกันอุบัติภัยการชนกันในทะเล (The International Regulations for Preventing Collisions at Sea) สามารถใช้เพื่อบอกสถานะและประเภทของเรือหรือยานพาหนะทางทะเลนั้น ๆ ได้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น

ในช่วงเวลากลางคืนหรือเมื่อทัศนวิสัยจำกัด เรือที่มีความยาวน้อยกว่า 50 เมตร ขณะจอดทอดสมออยู่ต้องแสดงสัญญาณไฟสัญญาณสีขาวที่สามารถมองเห็นได้รอบทิศทางหนึ่งดวง เรือที่มีความยาวตั้งแต่ 50 เมตรขึ้นไป ต้องแสดงไฟสัญญาณสีขาวที่สามารถมองเห็นได้รอบทิศทางหนึ่งดวงบริเวณหัวเรือ และอีกหนึ่งดวงบนเสาที่มีความสูงน้อยกว่าดวงแรกไปทางท้ายเรือ

ไฟสัญญาณอากาศยาน

แก้

สำหรับไฟสัญญาณอากาศยานมีความคล้ายคลึงกันกับไฟสัญญาณเดินเรือ กล่าวคือ ไฟสัญญาณสีแดงบนขอบปีกซ้ายด้านหน้า และไฟสัญญาณสีเขียวบนขอบปีกขวาด้านหน้า โดยที่ทั้งสองไฟสัญญาณมีมุมมองที่สามารถมองเห็นได้ 110 องศานับจากหัวอากาศยานไปทางด้านข้างของแต่ละด้าน ไฟสัญญาณสีขาวท้ายเครื่องบิน 140 องศา และไฟสัญญาณสีขาวทางด้านหลังของปีกทั้งสองข้างและบนหางเครื่องบิน (ดังรูป)[3] โดยที่ไฟสัญญาณเหล่านี้เป็นไฟที่มีกำลังสูงในการส่องสว่างเพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยการชนกันของเครื่องบิน[4]

ไฟสัญญาณยานอวกาศ

แก้

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการใช้ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: en:LED) เพื่อใช้งานสำหรับยานอวกาศ

ยานอวกาศ Cygnus ซึ่งเป็นยานอวกาศแบบไร้คนขับเพื่อใช้ในการขนส่งสิ่งของไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ได้มีการติดตั้งไฟสัญญาณไดโอดเปล่งแสงประสิทธิภาพสูง 5 ดวง อันประกอบด้วย[5] ไฟสัญญาณกระพริบสีแดงทางด้านซ้าย ไฟสัญญาณกระพริบสีเขียวทางด้านขวา ไฟสัญญาณกระพริบสีขาว 2 ดวงบนยอดของตัวยานอวกาศ และ ไฟสัญญาณกระพริบสีเหลืองอีก 1 ดวงทางด้านท้ายของตัวยานอวกาศ

อ้างอิง

แก้
  1. Handbook of the Nautical Rules of the Road Llana and Wisneskey
  2. The International Regulations for the Prevention of Collisions at Sea, Part C, Lights and Shapes | International Regulations for Preventing Collisions at Sea#Part C - Lights and shapes|International Regulations for the Prevention of Collisions at Sea, Part C, Lights and Shapes
  3. "14 CFR 25.1385, "Position light system installation"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากc=ecfr&SID=93d71915d59dec9ae7d43f0255dd12a3&rgn=div8&view=text&node=14:1.0.1.3.11.6.195.29&idno=14 แหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  4. "14 CFR 23.1401, "Anticollision light system"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  5. "ORBITEC Delivers First-Ever LED Lighting System for Orbital Science's Cygnus Module Spacecraft Navigation Lightingcaccessdate=2013-04-13".