ไทม์สแควร์ (อังกฤษ: Times Square) เป็นจุดตัดสำคัญของถนนใน แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก โดยเป็นจุดตัดของถนนบรอดเวย์ กับ ถนนเซเวนท์ เอเวนิว อีกทั้งยังเป็นจุดที่อยู่ระหว่าง ถนนเวสต์ โฟตี เซเคอนด์ สตรีท กับ ถนนเวสต์ โฟตี เซเวนท์ สตรีท ซึ่งไทม์สแควร์ทอดตัวยาวอยู่บนพื้นที่ในบล็อกระหว่างถนนซิกท์ เอเวนิว กับ ถนนเอกท์ เอเวนิว ในความยาวแนวตะวันออก - ตะวันตก และอยู่บนพื้นที่ระหว่างถนนเวสต์ โฟตีท์ สตรีท กับ ถนนเวสต์ ฟิฟท์ตี เทิร์ด สตรีท ในแนวเหนือ - ใต้ โดยไทมสแควร์เองได้กลายเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งบนฝั่งตะวันตกของย่านธุรกิจการค้าในเขตมิดทาวน์ แมนฮัตตัน

ไทม์สแควร์
โลโกอย่างเป็นทางการของไทม์สแควร์
ทางใต้ (บน) และทางเหนือ (ล่าง)
สมญา: 
The Center of the Universe
The Crossroads of the World
The Great White Way
The Heart of the World
แผนที่
ที่ตั้งในนครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
พิกัด: 40°45′25″N 73°59′10″W / 40.757°N 73.986°W / 40.757; -73.986พิกัดภูมิศาสตร์: 40°45′25″N 73°59′10″W / 40.757°N 73.986°W / 40.757; -73.986
ประเทศสหรัฐ
รัฐ รัฐนิวยอร์ก
นครนิวยอร์ก
โบโรฮ์แมนแฮตตัน
ชุมชนแมนแฮตตัน 5[1]
ศูนย์กลางเศรษฐกิจ และความบันเทิงของโลก

เดิมทีในอดีตไทม์สแควร์มีชื่อว่า ลองแกร์ สแควร์ โดยภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไทม์สแควร์ ภายหลังจากที่ได้มีการก่อสร้างตึกไทม์ (ปัจจุบัน:ตึกวันไทม์สแควร์) แล้วเสร็จ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1904 ไทม์สแควร์ได้กลายสถานะเป็นสถานที่ที่สำคัญของโลกและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผลมาจากที่ไทม์สแควร์เป็นสถานที่ที่ดูทันสมัย ล้ำยุค เพราะมีจอโฆษณาขนาดใหญ่มากมายติดอยู่ตามบริเวณโดยรอบ นอกจากนี้ไทม์สแควร์ ยังเป็นจุดปลายสุดทางฝั่งตะวันออกของ ลินคอล์น ไฮเวย์ หรือ ทางหลวงลินคอล์น อันเป็นทางหลวงสายแรกที่ตัดผ่านสหรัฐอเมริกา

บริเวณโดยรอบ

ประวัติศาสตร์ แก้

ในอดีตทั้งก่อนและหลังการปฏิวัติสหรัฐอเมริกา ที่ดินบริเวณนี้เป็นของ จอห์น โมริน สก็อตต์ นายทหารอาสาทั่วไปของนิวยอร์ก และยังเป็นผู้ให้การรับใช้จอร์จ วอชิงตัน คฤหาสน์ของสก็อตต์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือถนนโฟร์ตี เทิร์ด สตรีท ซึ่งคฟหาสน์ของเขารายล้อมไปด้วยเขตชนบทของนิวยอร์กที่ใช้ในการทำการเกษตรและการเลี้ยงม้า ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มันกลายเป็นกิจการที่สำคัญของสก็อตต์และเหมือนกับว่าเค้าได้รับโชคลาภจากการขายคฤหาสน์ให้กับโรงแรม และจากการที่นครนิวยอร์กในขณะนั้นเจริญเติบโตในทุกๆด้านอย่างรวดเร็ว ทำให้ความเจริญได้เข้ามายังแถบนี้และเริ่มมีประชากรหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ

ในปี ค.ศ. 1904 เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ อดอล์ฟ เอส ออชส์ ได้ย้ายสำนักงานของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ มาอยู่ที่บริเวณแห่งนี้ เขาได้ทำการชักชวนให้ จอร์จ บี แมคเคลนลัน จูเนียร์ นายกเทศมนตรีแห่งนครนิวยอร์ก ทำการก่อสร้างสถานีรถไฟใต้ดินของนครนิวยอร์กตรงบริเวณนี้ และบริเวณนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็น ไทม์สแควร์ ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1904 และแค่สามสัปดาห์หลังจากนั้น สิ่งโฆษณาที่ใช้ไฟฟ้าอันแรกก็ถูกติดตั้งขึ้นตรงธนาคารบริเวณหัวมุมถนนโฟร์ตี ซิกซ์ สตรีท กับ ถนนบรอดเวย์

หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้ขยายสำนักงานจำนวนมากมายออกไปตลอดถนนบรอดเวย์ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งอาคารที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันรู้จักทั่วไปกันในนาม ตึกวันไทม์สแควร์ ที่ซึ่งเป็นที่ที่ "ลูกบอล" ตกลงมาจาก "ดาดฟ้า" ของตึกทุกๆ ปีของเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ในขณะที่มหานครนิวยอร์กยังคงเติบโตไปเรื่อยๆ ไทม์สแควร์เองก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกๆด้านและการเป็นจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมอันหลากหลายและเต็มไปด้วยโรงละคร โรงภาพยนตร์ และสถานที่จัดแสดงดนตรี ดังคำกล่าวของ เจมส์ ทรับ นักเขียนของเดอะไทม์แมกกาซีน ที่ว่า

ไทม์สแควร์ได้กลายเป็นอาโกร่าของนิวยอร์กอย่างรวดเร็ว, สถานที่ที่ซึ่งรวบรวมเอาทั้งการรอคอยเทศกาลอันยิ่งใหญ่และทั้งการเฉลิมฉลองกับมันอย่างยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเวิร์ลซีรีส์หรือการเลือกตั้งว่าที่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

— เจมส์ ทรับ

(อาโกร่า ภาษากรีก: หมายถึงสถานที่ที่มีการชุมนุม การค้าขายและการพบปะขนาดใหญ่ของกรีกโบราณ)

เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ แก้

 
ลูกบอลแอลอีดี

ไทม์สแควร์คือสถานที่จัดงานนับถอยหลังสู่ปีใหม่ที่โด่งดังไปทั่วโลก โดยในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีจะมีลูกบอลหล่นลงมาจากอาคารวันไทม์สแควร์ เทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1907 นับแต่นั้นเป็นต้นมาไทม์สแควร์ได้กลายเป็นสถานที่หลักในการนับถอยหลังสู่ปีใหม่ของนครนิวยอร์ก ซึ่งในคืนนั้นเองผู้คนหลายหมื่นคนจะมารวมตัวกันที่นี่เพื่อชมลูกบอลวอเทอร์ฟอร์ดคริสทัลถูกหย่อนลงมาจากยอดอาคาร (โดยลูกบอลจะถูกหย่อนลงมาช้า ๆ แต่จะไม่ตกถึงพื้นตามที่หลายคนเข้าใจ) ลูกบอลยักษ์นี้มาแทนที่การแสดงพลุดอกไม้ไฟอันฟุ่มเฟือยในคืนก่อนวันปีใหม่ที่เคยถูกจัดในช่วงปี ค.ศ. 1904 - ค.ศ. 1906 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เทศกาลนี้ถูกระงับชั่วคราวและแทนที่ด้วยการสั่นระฆังตามโบสถ์แทน เนื่องจากทางรัฐบาลต้องการให้ทุกหนแห่งในนิวยอร์กดับไฟมืดลงเพื่ออำพรางตัวเมืองให้พ้นจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายเยอรมัน อย่างไรก็ตามหลังจากช่วงสงครามเทศกาลนี้ก็จัดขึ้นตามเดิม ปัจจุบันการนับถอยหลังสู่ปีใหม่และไทม์สแควร์ได้สรรค์สร้างวัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์และดึงดูดสายตาจากคนทั่วโลก ส่วนลูกบอลที่ใช้ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งปัจจุบันกลายเป็นลูกบอลที่ติดด้วยแสงไฟแอลอีดี ลูกบอลแอลอีดีนี้ถูกใช้ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2007 และในปีถัดมาในการขึ้นปีใหม่ ค.ศ. 2009 ลูกบอลแอลอีดีถูกทำให้ใหญ่ขึ้นและใช้รูปแบบนี้ถาวร และยังใช้ในเทศกาลอื่น ๆ เช่นวันวาเลนไทน์หรือวันฮาโลวีน ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสหัสวรรษที่ 20 มีรายงานว่าการนับถอยหลังเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ที่ไทม์สแควร์ทำให้ผู้คนล้นไทม์สแควร์ ประมาณกันว่าน่าจะมีคนมาร่วมงานกันถึง 2 ล้านคน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945

ไทม์สแควร์ในปัจจุบัน แก้

 
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซและพิพิธภัณฑ์ริปลีย์ เชื่อหรือไม่
 

โรงละครบรอดเวย์และป้ายโฆษณาแอนิเมชั่นที่มีแสงไฟนีออนและจอแอลอีดีรายล้อมไทม์สแควร์ เป็นอีกภาพลักษณ์หนึ่งของมหานครนิวยอร์กที่ติดตาผู้คนไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของชีวิตเมืองบนเกาะแมนฮัตตัน และไทม์สแควร์ยังเป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวที่กฎหมายกำหนดว่าเจ้าของตึกบริเวณนั้นจำเป็นต้องติดตั้งป้ายโฆษณาส่องสว่าง ซึ่งจากการติดตั้งป้ายโฆษณาส่องสว่างจำนวนมากมายเหล่านี้ยังเป็นคู่แข่งที่สำคัญของลาสเวกัส และมีการเรียกป้ายนี้อย่างเป็นทางการว่า "สเปคเทคิวลาร์" (อังกฤษ: spectacular ซึ่งแปลว่า "น่าตื่นเต้น") ส่วนป้ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า "จัมโบตรอน" (อังกฤษ: JumboTron) ชิ้นที่มีชื่อเสียงได้แก่ ป้ายของโตชิบา, แถบป้ายตัวอักษร 6 แถบของสถานีโทรทัศน์เอบีซี และป้ายจอภาพขนาด 7 ชั้นของแนสแดก เป็นต้น

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 นายกเทศมนตรีไมเคิล บลูมเบิร์ก ประกาศว่าจะมีการจัดช่องการจราจรใหม่ตลอดแนวถนนบรอดเวย์และแนวถนนโฟร์ตีเซเคินด์สตรีทถึงถนนโฟร์ตีเซเวนสตรีท ซึ่งจะมีการสร้างลานคนเดินอย่างน้อยภายในสิ้นปีเพื่อนเป็นการทดลอง และทำเช่นเดียวกันนี้กับถนนเทอร์ตีทรีถึงถนนเทอร์ตีฟิฟต์เป้าหมายเพื่อลดปัญหาความแออีดของการจราจรที่ติดขัดอย่างรุนแรง นอกจากนี้นายกเทศมนตรีไมเคิลยังกล่าวอีกว่าจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินถนนและช่วยลดมลพิษทางอากาศจากความแออัดของการจราจร

วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ประชาชนในไทม์สแควร์ระหว่างถนนโฟร์ตีทรีสตรีทถึงถนนโฟร์ตีซิกซ์สตรีทถูกสั่งให้อพยพเนื่องจากการค้นพบคาร์บอมบ์ รถคันดังกล่าวเป็นรถยนต์นิสสันรุ่นแพทไฟน์เดอร์สีเข้มและมีควันออกมาจากตัวรถ รถคันดังกล่าวถูกจอดไว้บริเวณระหว่างโฟร์ตีไฟว์เอเวนิวกับเซเวนเอเวนิว หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดของทหารปรากฏตัวขึ้น แต่สำนักความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ไม่ได้พิจารณาเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็นการก่อการร้าย หลังจากนั้นไม่นานเกิดแสงไฟวูบวาบขึ้นและมีระเบิดย่อม ๆ ระเบิดออก ภายหลังจากการสืบสวนตำรวจพบว่าระเบิดทั้งหมดไม่ทำงานแต่ก็ยังไม่สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุครั้งนี้ได้

สมุดภาพ แก้

ภาพมุมกว้าง แก้

 

อ้างอิง แก้

  1. "NYC Planning | Community Profiles". communityprofiles.planning.nyc.gov. New York City Department of City Planning. สืบค้นเมื่อ March 18, 2019.