โลลิตา (อังกฤษ: Lolita) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยวลาดีมีร์ นาโบคอฟที่เขียนครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 ในกรุงปารีส และต่อมาในปี ค.ศ. 1958 ในนครนิวยอร์ก “โลลิตา” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทันทีที่พิมพ์เพราะความแปลกใหม่ของลักษณะการเขียน และมีชื่อเสียงเพราะมีเนื้อหาที่เป็นที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม เพราะ ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ต ชายวัยกลางคน ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องและเป็นผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable narrator) ตกหลุมรักอย่างหัวปักหัวปำซึ่ง และมีความสัมพันธ์ทางเพศกับ เดอลอร์ส เฮซ เด็กสาวอายุ 12 ปี บุตรบุญธรรมของตน

โลลิตา
(Lolita)
ผู้ประพันธ์วลาดีมีร์ นาโบคอฟ
ภาษาอังกฤษ, รัสเซีย
ประเภทนวนิยาย, โศกนาฏกรรม
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์โอลิมเปีย และอื่นๆ
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1955
ชนิดสื่อการพิมพ์: (หนังสือปกแข็ง และ หนังสือปกอ่อน)
หน้า368หน้า (ฉบับล่าสุด)
ISBNISBN 1-85715-133-X (recent paperback edition) ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBNT}}: invalid character
OCLC28928382

หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว “โลลิตา” ก็ถือว่าเป็นงานคลาสสิกและกลายมาเป็นงานชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและมีปัญหาที่สุดของวรรณกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า “โลลิตา” กลายมาเป็นคำที่ปรากฏใน วัฒนธรรมสมัยนิยมที่หมายถึงเด็กสาวผู้มีความเจริญทางด้านเพศสัมพันธ์เกินวัยที่มีอายุระหว่างเก้าถึงสิบสี่ปี แล้วทำให้ชื่อของโลลิต้า กลายเป็นชื่อที่ผู้คนแทบจะเลิกนำมาตั้งให้ลูกสาวไปเลย ซึ่งนาโบคอฟดูเหมือนจะภูมิใจกับเรื่องนี้ด้วย

โลลิตา” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่สี่ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20[1]

โลลิตา” ได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 กำกับโดย สแตนลีย์ คูบริก และนาโบคอฟก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมด้วย หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1997 เรื่อง “โลลิตา” ได้ถูกนำกลับมาทำซ้ำในชื่อเดียวกัน แต่เวอร์ชันใหม่ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับฉบับคลาสสิกของคูบริกเท่าไรนัก

อ้างอิง

แก้
  1. "100 Best Novels". Random House. 1999. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23. This ranking was by the Modern Library Editorial Board เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of authors and critics.

ดูเพิ่ม

แก้