โลกของผู้หลงใหล

วัฒนธรรมย่อยที่ประกอบด้วยผู้คน ที่มีความสนใจร่วมกัน

โลกของผู้หลงใหล[1] (อังกฤษ: fandom) เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมย่อยที่ประกอบด้วยผู้หลงใหลที่มีความร่วมรู้สึกและความเป็นมิตรสหายกับผู้หลงใหลคนอื่น ๆ ซึ่งมีความสนใจร่วมกัน โดยทั่วไปแล้ว บรรดาผู้หลงใหลจะสนใจแม้กระทั่งรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสิ่งที่เป็นศูนย์กลางของโลกของกลุ่มตน และใช้เวลาและพลังงานในระดับนัยสำคัญไปกับความสนใจของพวกเขาซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสังคมที่มีการปฏิบัติเฉพาะ (โลกของผู้หลงใหล) นี่คือสิ่งที่แยกผู้นิยมชมชอบอย่างหลงใหลออกจากผู้นิยมชมชอบที่มีความสนใจแบบผิวเผิน

ผู้แต่งคอสเพลย์เป็นแคตนิส เอฟเวอร์ดีน ในงานมอนทรีออลคอมิกคอน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015

โลกของผู้หลงใหลสามารถเติบโตขึ้นได้จากด้านใด ๆ ก็ตามของความสนใจหรือกิจกรรมของมนุษย์ หัวข้อความสนใจของผู้หลงใหลอาจจำกัดอยู่ในวงแคบโดยมุ่งเน้นไปที่บางสิ่งบางอย่าง (เช่น ผู้มีชื่อเสียงแต่ละคน) หรือขยายออกไปในวงกว้างโดยครอบคลุมงานอดิเรก ประเภทดนตรี/ภาพยนตร์/วรรณกรรม และแฟชั่นทั้งหมดเป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบันเราจะใช้ศัพท์นี้กับกลุ่มบุคคลที่หลงใหลในหัวเรื่องใด ๆ ก็ตาม แต่ศัพท์นี้ก็มีรากมาจากกลุ่มผู้คลั่งไคล้กีฬาต่าง ๆ พจนานุกรมของเมร์เรียม-เว็บสเตอร์สืบร่องรอยการใช้ศัพท์นี้ย้อนไปได้ถึง ค.ศ. 1903[2]

โลกของผู้หลงใหล ในฐานะที่เป็นศัพท์ศัพท์หนึ่งอาจใช้ในความหมายอย่างกว้างเพื่อกล่าวถึงเครือข่ายสังคมของโลกของผู้หลงใหลแต่ละโลกที่เชื่อมต่อระหว่างกัน[คลุมเครือ] ซึ่งหลายโลกซ้อนเหลื่อมกัน มีงานชุมนุมขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของโลกของผู้หลงใหลในความหมายอย่างกว้างนี้ โดยรองรับความสนใจภาพยนตร์ การ์ตูน รายการโทรทัศน์ คอสเพลย์ และโอกาสในการซื้อขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง งานชุมนุมประจำปีอย่างคอมิก-คอนอินเตอร์แนชนัล, วันเดอร์คอน, แดรกันคอน และนิวยอร์กคอมิกคอนเป็นตัวอย่างของงานชุมนุมที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากซึ่งรองรับโลกของผู้หลงใหลที่ซ้อนเหลื่อมกัน

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2563, หน้า 46.
  2. "Fandom - Definition of fandom by Merriam-Webster". merriam-webster.com.