รอเยาะ
รอเยาะ หรือ เต้าขั้ว ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า โรจัก (มลายู: rojak) อินโดนีเซียเรียกว่า รูจัก (อินโดนีเซีย: rujak) เป็นยำประเภทหนึ่งในอาหารมลายูและอินโดนีเซีย น้ำยำทำจากกะปิเคี่ยวกับน้ำตาลโตนด น้ำมะขามเปียก พริก มีรสหวาน โรยถั่วลิสงคั่ว ในปีนังจะเพิ่มน้ำผึ้ง นิยมกินกับผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วงดิบ ฝรั่ง มันแกว สับปะรด ผักลวกเช่น ถั่วงอก ผักบุ้ง มันเทศต้ม เต้าหู้ทอด
รอเยาะมามะก์ในมาเลเซีย | |
ชื่ออื่น | เต้าขั้ว โรจัก รูจัก |
---|---|
ประเภท | สลัด |
แหล่งกำเนิด | อินโดนีเซีย[1] |
ภูมิภาค | เกาะชวา |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | สดในอุณหภูมิห้อง |
ส่วนผสมหลัก | ผลไม้, ผัก, น้ำตาลปี๊บ, ถั่วลิสง และน้ำสลัดพริก |
ในพิธีครรภ์เจ็ดเดือนในเกาะชวา จะมีรอเยาะเป็นอาหารสำคัญในพิธีและใช้เสี่ยงทายเพศทารก ถ้าหญิงมีครรภ์ชอบรอเยาะหวาน ทารกจะเป็นผู้หญิง ถ้าชอบรสเผ็ดจะเป็นผู้ชาย
ในภาคใต้ของประเทศไทยมีอาหารชนิดเช่นกัน ในจังหวัดปัตตานีเรียกว่า รอเยาะ, สงขลาเรียกว่า เต้าขั้ว[2] หรือ สลัดทะเลสาบ, สุราษฎร์ธานีเรียกว่า ผักบุ้งไต่ราว, ภูเก็ตเรียกว่า อูแช่, และสตูลเรียกว่า ปัสมอส[3]
ความสำคัญทางวัฒนธรรม
แก้ในมาเลเซียและสิงคโปร์ คำว่าโรจักใช้สื่อถึงการผสม เช่นสังคมพหุวัฒนธรรมในมาเลเซียและสิงคโปร์ ในอินโดนีเซีย ในหมุ่ชาวชวา รูจักเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองก่อนเด็กเกิด ที่เรียกตูยุห์ บูลานัน (ตรงตัว “เจ็ดเดือน”) รูจักผลไม้จะทำขึ้นพิเศษให้หญิงตั้งครรภ์และแขกที่มาในงาน โดยเชื่อว่ารสหวาน เผ็ดและเปรี้ยวของรูจักดีสำหรับหญิงตั้งครรภ์ รูจักในงานนี้จะคล้ายรูจักแบบมาตรฐานในอินโดนีเซีย เพียงแต่จะหั่นหยาบมากกว่าจะเฉือนเป็นชิ้นบางๆ และส้มโอกับเกรปฟรุตสีชมพูถือเป็นเครื่องปรุงสำคัญ เชื่อกันว่าถ้ารูจักรสหวานนำจะได้ล๔กสาว ถ้ารสเผ็ดนำจะได้ลูกชาย
การทำรูจักเป็นสิ่งพิเศษสำหรับชาวบาตักมันไดลิงในตาปานูลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยทั้งหมู่บ้านจะมาร่วมกันทำและกินด้วยกัน
โรจักในมาเลเซียและสิงคโปร์
แก้โรจักแบบมามักหรือแบบอินเดีย
แก้หรือปาเซิมบูร์ ส่วนผสมหลักเป็นแป้งทอดกรอบ เต้าหู้ มันฝรั่งต้ม กุ้งทอด ไข่ต้ม ถั่วงอก ปลาดุก และแตงกวาผสมกับซอสถั่วลิสงรสเผ็ดและข้น ชาวทมิฬมุสลิมหรือมามักนิยมดัดแปลงรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ขายโรจัก ปาเซิมบูร์ในสิงคโปร์ใส่มันฝรั่ง ไข่ เต้าหู้ และกุ้งทอด กินกับซอสพริกรสหวานและเผ็ด ในปีนัง เรียกอาหารชนิดนี้ว่าปาเซิมบอร์ ส่วนในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์เรียกโรจัก
โรจักผลไม้
แก้ส่วนผสมพื้นฐานได้แก่เต้าหู้ทอด ฟริตเตอร์แบบจีน มะม่วงดิบ และแอปเปิลเขียว น้ำราดทำจากน้ำ กะปิ น้ำตาล พริก และน้ำมะนาว บางที่จะใส่กะปิกุ้ง มะขามหรือถั่วดำบดด้วย ส่วนผสมหั่นเป็นชิ้นพอคำ คลุกกับน้ำราดในชาม โรยด้วยถั่วลิสงและขิง
โรจักปีนัง
แก้เป็นโรจักอีกแบบหนึ่ง พบในปีนัง ประเทศมาเลเซีย คล้ายกับโรจักผลไม้ แต่ใส่ชมพู่ ฝรั่ง หมึกทอด และน้ำผึ้ง แทนที่จะใช้มะม่วงดิบและแอปเปิลเขียว ไม่ใส่ถั่วงอกและเต้าหู้ทอด น้ำราดข้นเหนียว
รูจักในอินโดนีเซีย
แก้รูจักผลไม้ในอินโดนีเซีย
แก้รูจักผลไม้ประกอบด้วยผลไม้เมืองร้อนหั่นเป็นชิ้น เช่น ชมพู่ สับปะรด มะม่วงดิบ มันแกว แตงกวา มะกอกฝรั่ง และมันเทศดิบ ในมาลังจะใส่แอปเปิลเขียว ส้มโอ และตะลิงปลิง ซอสรสหวานและเผ็ดทำจากน้ำ น้ำตาลมะพร้าว มะขาม ถั่วลิสงบด กะปิ เกลือ พริก หั่นผลไม้ให้เป็นชิ้นพอคำ ใส่ลงในจาน แล้วราดซอสลงไป ผงซัมบังฆารัมจะวางข้างๆ สำหรับผู้ชอบรสเค็ม
รูจัก ตุมบุก
แก้เป็นรูจักผลไม้อีกแบบของอินโดนีเซีย ส่วนผสมคล้ายรูจักผลไม้ เพียงแต่นำส่วนผสมมาตำในครกไม้ ใส่ซอสลงไปผสมให้เข้ากัน
รูจัก เซอรุต
แก้เป็นรูจักผลไม้อีกแบบของอินโดนีเซีย แต่ไม่หั่นผลไม้เป็นชิ้นพอคำ ใช้การขูดแทน
รูจัก อูโกรเอะห์
แก้เป็นรูจักแบบาเจะห์ ใส่มะพร้าวอ่อน มะละกอดิบ พริก น้ำตาล น้ำแข็ง เกลือ และมะนาว นิยมกินขณะเย็น
รูจัก เปองันติน
แก้เป็นอาหารอินโดนีเซียในยุคอาณานิคม ประกอบด้วยไข่ต้มหั่น มันฝรั่ง เต้าหู้ทอด สับปะรด แครอท ถั่วงอก ผักดอง พริก ผักกาดดอง กะหล่ำปลี แตงกวา ข้าวเกรียบ ถั่วลิสงอบ ซอสถั่วลิสงที่ผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย มีลักษณะคล้ายกาโด-กาโดในชวากลาง
รูจัก กูอะห์ ปินดัง
แก้เป็นอาหารว่างแบบบาหลี โดยนำผลไม้ไปคลุกกับซอสที่ทำจากกะปิกุ้ง เกลือ พริก และน้ำปลา
รูจัก จิงอูร์
แก้เป็นโรจักแบบสุราบายา ใส่ปากวัวหรือควาย มะม่วงดิบ สับปะรด แตงกวา ผักบุ้ง ลนตง เต้าหู้ เทมเป้ และมันแกว ราดด้วยซอสทำจากกะปิ และถั่วลิสงบด โรยกระเทียมเจียวและกรูปุก
รูจัก เปอติส
แก้เป็นรูจักอีกแบบหนึ่งของสุราบายา ใส่ผักบุ้ง มะม่วงดิบ แตงกวา มันแกว เต้าหู้ ถั่วเหลืองงอก มะกอกฝรั่ง ราดด้วยซอสทำจากกะปิ หอมเจียว เกลือ น้ำตาลมะพร้าว กล้วยดิบ และถั่วลิสงดิบ
รูจักโตเลต
แก้ลักษณะคล้ายรูจักผลไม้ มาจากสุราบายา เครื่องปรุงประกอบด้วยเต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว และเอ็นวัว ซอสประกอบด้วยน้ำตาลมะพร้าว พริก และซีอิ๊วหวาน
รูจัก ยูฮี
แก้ในภาษาอินโดนีเซีย ยูฮีหมายถึงปลาดุก รูจักประเภทนี้ใส่เต้าหู้ทอด มันฝรั่ง ปลาดุกเค็มทอด แตงกวา เส้นหมี่ ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ซอสถั่วลิสง น้ำส้มสายชู พริก และกระเทียมเจียว อาหารนี้กำเนิดจากกลุ่มชาวจีนในจาการ์ตา และปัจจุบันจัดเป็นอาหารเบอตาวีชนิดหนึ่ง
รูจักเซี่ยงไฮ้
แก้เป็นอาหารของชาวจีนในอินโดนีเซีย ใส่อาหารทะเล เช่น หมึกต้ม ปลิงทะเล ใส่ผักบุ้ง ราดด้วยซอสข้นสีแดง ใส่น้ำสับปะรด และถั่วลิสงบด กินกับซอสพริกและมันแกว
รูจัก โซโต
แก้เป็นอาหารที่พบในชวาตะวันออก เป็นส่วนผสมระหว่างโซโตเนื้อ และรูจัก จินฆูร์ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518
อ้างอิง
แก้- ↑ "Menguak Fakta Menu Lalapan Sunda Lewat Prasasti Taji". beritasatu.com (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-20. สืบค้นเมื่อ 23 December 2017.
- ↑ ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สถาพรบุ๊คส์, 2554, หน้า 266-268
- ↑ "เต้าคั่ว-รอเยาะ อาหารคู่แฝด". เส้นทางเศรษฐี. 22 มีนาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-09. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- นันทนา ปรมานุศิษฏ์. โอชาอาเซียน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 261.